ธนาคารโลกเสนอแนะอินโดนีเซียเก็บภาษีเพิ่ม เพื่อดึงประชากร 115 ล้านคนยกระดับสู่ชนชั้นกลาง

ธนาคารโลกเสนอแนะอินโดนีเซียเก็บภาษีเพิ่ม เพื่อดึงประชากร 115 ล้านคนยกระดับสู่ชนชั้นกลาง

เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นการเติบโต ท่ามกลางแผนการปฏิรูปภาษีซึ่งจะส่งผลให้รายได้ภาษีลดลง

Rolande Pryce รักษาการผู้อำนวยการ ธนาคารโลก ประจำประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า แผนงานของรัฐบาลที่จะภาษีเงินได้นิติบุคคล จะทำให้รายได้ภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลดลง 0.5% ขณะที่ข้อมูลรายได้ภาษีต่อจีดีพีของอินโดนีเซียอยู่ที่ 10.7% เมื่อปี 2017 ถือว่าต่ำสุดในภูมิภาค

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย ต้องการเงินทุนเพื่อไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงการศึกษา และสร้างความมั่นคงให้กับประชากร 115 ล้านคน เพื่อให้มีโอกาสเข้าสู่การเป็นชนชั้นกลาง

Pryce กล่าวว่า ในรายงานเกี่ยวกับการขยายฐานชนชั้นกลางของอินโดนีเซีย ซึ่งจัดทำโดยธนาคารโลก แนะนำว่า หากไม่มีมาตรการเพิ่มรายได้ที่สมบูรณ์ ก็จะทำให้รัฐบาลมีเงินน้อยลงสำหรับการไปดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและปิดช่องว่างด้านทุนมนุษย์

เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า อินโดนีเซียต้องสร้างความเข้มแข็งด้านรายได้ด้วยการขยายฐานภาษี และปรับปรุงการบริหารภาษี จากปัจจุบันที่ฐานรายได้ภาษีต่อจีดีพีของอินโดนีเซียยังอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลก

ที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนปฏิรูปภาษี เช่น ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ผ่อนคลายภาษีรายได้สำหรับชาวอินโดนีเซยและชาวต่างชาติที่ทำงานในอินโดนีเซีย ยกเว้นภาษีเงินปันผล และการกำหนดภาษีเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่

ในรายงานของธนาคารกลางโลก ยังชี้อีกว่า ประชากรอินโดนีเซีย 115 ล้านคน หรือ 45% ของปรากรทั้งหมด นำตัวเองหลุดพ้นจากความยากจนแล้วแต่ยังไม่บรรลุเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ โดยกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะขยับฐานะขึ้นไปได้ แต่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะไถลกลับลงไปได้

Pryce กล่าวว่า หากรัฐบาลใช้นโยบายที่ถูกต้องก็จะไปช่วยกระตุ้นการพัฒนา และสนับสนุนการยกระดับสู่ชนชั้นกลาง ซึ่งมีเงินใช้จ่าย 532,000 รูเปียห์  – 1.2 ล้านรูเปียห์ ต่อคนต่อเดือนได้