กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

มุมมองต่อประเด็นทางการเมืองต่อระบบเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯ

กองทุนหลักมองว่าโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่โครงสร้างเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากปัจจุบันไปสู่ระบบที่รัฐเข้าดูแลจัดการสวัสดิภาพของพลเมืองทั้งหมดหรือที่เรียกว่า Universal or government run healthcare system หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากจะใช้งบประมาณประเทศที่สูงเกินจะแบกจะรับไหว ข้อเสนอระบบประกันสุขภาพที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการเท่าเทียมกันหรือ Medical for all ของพรรคเดโมแครทนั้น ใช้งบประมาณสูงถึง 30 -50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานรวม 10 ปี ตัวเลขนี้อยู่สูงกว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในตอนนี้ที่คิดเป็นมูลค่า 21 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์อีกอย่างหนึ่งที่ฝั่งนักการเมืองผู้เสนอยังไม่ได้ประเมินคือ มีชาวอเมริกันจำนวน 180 ล้านครัวเรือนที่ใช้บริการประกันสุขภาพภาคเอกชน ผู้ให้บริการประกันสุขภาพภาคเอกชนดังกล่าว เมื่อนับรวมกับความร่วมมือภาครัฐผ่านสวัสดิการโอบามาแคร์แล้ว ก็แทบจะครอบคลุมคนสหรัฐฯ ในกลุ่มอยู่แล้ว หากจะเหลือก็มีเพียงแค่ พลเมืองสหรัฐฯ อีก 10 ล้านคน ซึ่งยังไม่มีหลักประกันสุขภาพค่ารักษาพยาบาล ณ จุดนี้ ทำให้ดูเหมือนว่าการที่รัฐจะเข้ามาดูแลกลุ่มคนเพียง 10 ล้านคน ด้วยการรื้อถอนโครงสร้างระบบประกันสุขภาพของประเทศใหม่หมดไม่เมคเซนซ์เอาเสียเลย ด้วยเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องใช้ ในเชิงยุทธศาสตร์การเมืองการบริหารประเทศ จึงเป็นไปได้ยาก

สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ นางอลิซาเบท วอร์เรน วุฒิสภาพรรคเดโมแครท ที่เคยแจกแจงรายละเอียดข้อเสนอของเธอผ่านสื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ เริ่มจำนนด้วยหลักฐานทางเศรษฐศาสตร์ที่มัดแน่นหนา ทำให้ความนิยมในตัวเธอลดลงถึงครึ่งหนึ่ง แม้แต่ข้อเสนอของนายเบอร์แนน แซนเดอร์ วุฒิสภาจากรัฐเบอมอนต์ ซึ่งมีแนวทางเดียวกันกับเธอ ก็ยังต้องผ่านสภาครองเกรทด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อหาความชอบธรรมผ่านการโหวดที่เรียกว่า Super Majority หรือคนส่วนใหญ่เห็นด้วย

Elizabeth Warren is an American politician and former academic, serving as the senior United States Senator from Massachusetts since 2013. Warren has focused on consumer protection, economic opportunity, and the social safety net while in the Senate. Warren is also a Democratic candidate in the 2020 United States presidential election.

Bernard Sanders is an American politician who has served as the junior United States Senator from Vermont since 2007. The U.S. Representative for the state’s at-large congressional district from 1991 to 2007, he is the longest-serving independent in U.S. congressional history and a member of the Democratic caucus.

สิ่งที่ว่านี้เต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการ และมีความเป็นไปได้น้อยมากๆ ที่ตัวเลขงบประมาณของเขา สูงกว่าค่าใช้จ่ายประจำปีของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงต่อเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่สนใจว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีสมัยหน้า ก็คือ ทั้งฝั่งพรรคเดโมแครทและรีพลับบลีกันมีความเห็นตรงกันต่อการกดดันราคายา โดยได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วก็คือ การคงโครงสร้างยาในตลาด Pre-market ไว้เหมือนเดิม แต่หาช่องทางที่จะให้ยาประเภท Generic drug และ Bio-similar drug เข้าสู่ตลาดได้สะดวกขึ้นและสนับสนุนให้ตลาดใช้ยาซึ่งสิทธิบัตรกำลังจะหมดอายุลง (off-patent Drug)

แนวทางนี้ได้ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านราคายาของสหรัฐฯ ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี กองทุนหลักบริหารพอร์ตโกลบอลเฮลธ์แคร์ โดยหลีกเลี่ยงหุ้นบริษัทยาขนาดใหญ่ บริษัทเหล่านี้พึ่งพิงรายได้จากยาประเภทที่หาซื้อได้ตามทั่วไปเป็นหลัก รวมถึงไม่มีฐานะลงทุนในบริษัทยา ซึ่งถือครองสิทธิบัตรที่กำลังจะหมดอายุในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เนื่องจากธุรกิจเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ ในกลุ่มผู้ผลิตยาได้แสวงหาผลประโยชน์จากสูตรตัวยาตัวที่ถือสิทธิบัตรมาแล้วหลายปี ตัวยาเหล่านี้แม้จะสร้างรายได้มหาศาลให้กับผู้ผลิตยากว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้กำไรเติบโตมหาศาลแต่จะใช้วิธีลงทุนในบริษัทผู้คิดค้นนวัตกรรมวิจัยที่มีความก้าวหน้า ซึ่งให้ผลลัพธ์ในการบำบัดรักษาคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องจ่ายออกไป บริษัทเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการขนาดเล็กแขนงอิมมูโนเทอราพีและยีนเทอราพี

อนึ่ง กองทุนหลักมีฐานะลงทุนในบริษัทผู้ผลิตยาไบโอเทคขนาดใหญ่เฉพาะกลุ่มที่มีแผนซื้อกิจการบริษัทยาขนาดเล็กที่มีการพัฒนาตัวยาเพื่อให้การรักษาได้ผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น การที่กองทุนหลักให้น้ำหนักกับหุ้นเฮลธ์แคร์ที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ มากกว่าในตลาดอื่น ก็เนื่องจากว่านวัตกรรมและวิวัฒนาการด้านเฮลธ์แคร์ระดับโลกอยู่ในสหรัฐฯและมีแนวโน้มต่อไปว่าจะอยู่ในสหรัฐฯมากกว่าภูมิภาคอื่น

Source: Wellington Management, February 2020

บริษัทที่น่าสนใจซึ่งกองทุนหลักถือครอง

บริษัท Anthem (ผู้ให้บริการทางการแพทย์ สัญชาติสหรัฐฯ)

เป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการแพทย์สหรัฐฯ เริ่มมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ ชุดฐานข้อมูลทางการแพทย์ว่าแพทย์แต่ละคนว่ามีแนวทางการรักษาผู้ป่วยอย่างไร ทำให้แวดวงการแพทย์ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สามารถบ่งชี้แนวทางและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างและหลังการเข้ารับการรักษาได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน การนำเทคโนโลยีครั้งนี้มาใช้กับชุดข้อมูล ทำให้บริษัท Anthem มีกำไรขั้นต้นเติบโตสูงขึ้น

บริษัท Forty Seven (ผู้ผลิตยายีนเทอราพี สัญชาติสหรัฐฯ)

เป็นที่น่าทึ่งมากที่บริษัทพัฒนาตัวยาเทอราพีใช้รักษาผู้ป่วยโรคไมลอยด์ ลูคีเมีย (Myeloid Leukemia) เป็นผลสำเร็จ ด้วยอัตรา 92% ของกลุ่มผู้ป่วยอาสาสมัคร หายจากโรคด้วยการทดลองเพียงครั้งเดียว ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 500% บนพื้นฐานของการค้นพบระดับโลก บริษัทได้รับการอนุมัติการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ใช้กับผู้ป่วยได้ กองทุนหลักถือครองหุ้นตัวนี้มานานตั้งแต่สมัยยังเป็น Private Company

ภาพแสดง: เซลล์มะเร็งของผู้ป่วยโรคไมลอยด์ ลูคีเมีย ซึ่งบริษัท Forty Seven ได้พัฒนายาอิมมูโนเทอราพีที่ช่วยระบุ Checkpoint Inhibitor กับโปรตีนซึ่งห้อมล้อมเซลล์ร้ายจนภูมิคุ้มกันร่างการของผู้ป่วยไม่สามารถจัดการได้เป็นผลสำเร็จ

กองทุนหลักมองเหตุการณ์โคโรนาไวรัสอย่างไร

แม้จะมีการให้ข่าวถึงความพร้อมในการเตรียมพัฒนาตัวยาจากบริษัทยาขนาดใหญ่ก็ตาม แต่ ณ ขณะนี้ ทั่วโลกจึงยังไม่มียาที่ผ่านการอนุมัติให้ใช้กับโคโรนาไวรัสได้ หากผู้ถือหน่วยลงทุนอ่านพาดหัวข่าวในสำนักต่างประเทศ อาจพบว่า บริษัทยาสหรัฐฯ ที่ได้ออกตัวในช่วงก่อนหน้านี้ ว่าเตรียมนำยาที่คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาอีก 2-3 เดือน ออกมาใช้กับผู้ป่วยนั้น ยังไม่มีข้อมูลว่าสามารถลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสในห้องแลปได้จริง อาทิ บริษัท Moderna (ตลาดหุ้น NASDAQ: Biotechnology Research and Development) และบริษัท Novavax (ตลาดหุ้น NASDAQ: Biotechnology) ก็ยังไม่เคยทดลองกับสัตว์ตัวอย่าง เช่น หนู

ในแง่ของบริษัทในพอร์ตกองทุนหลัก BCARE / BCARERMF ไม่มีหุ้นถือครองในบริษัทที่ได้ออกสื่อในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากบริษัทเหล่านี้อยู่ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนายาเท่านั้น อาทิ

  1.  บริษัท Abbvie Inc. มียาชื่อว่า Keletra และ Aluvia เป็นยาที่ผ่านการอนุมัติจาก Food and Drug Administration U.S.ให้ใช้รักษาผู้ป่วยไวรัส HIV เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถูกจัดส่งไปยังประเทศจีนภายใต้การร้องขอของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีน โดยการบริจาคยาตัวนี้คิดเป็นมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
  2. บริษัท Merck & Co. มีเพียงวัคซีนที่ผ่านมาอนุมัติจาก U.S. and European Health Authorities ให้ใช้กับไวรัสอีโบล่าเท่านั้น
  3. บริษัท Gilead Inc. มียาชื่อว่า Remdesivir ช่วยบรรเทาโรคปอดจากเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ที่เรียกว่า MERS (เมอร์ส) เท่านั้น

Source: Wellington Management, February 2020

กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio

เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Health Care Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD)

วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Investment style: – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน- เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง

วันจดทะเบียน: October 2003

ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI World Healthcare Net

Morningstar Category: Large cap growth

Bloomberg (A): WGHCEPA ID

Fund Size: USD 2.5 billion as of December 2019

NAV: USD 67.89 as of December 2019

Number of equity names: 138 as of September 2019

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลเดือน ม.ค. 2020)

ข่าวที่น่าสนใจในวงการโกลบอลเฮลธ์แคร์

Genetic revolution

นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งรับรางวัลโนเบลจากการคิดค้นการตัดต่อดีเอ็นเอในเดือน ต.ค.ปี 2015 ได้พัฒนารูปแบบ/ซีรีส์ใหม่ในการตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ (Gene editing) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคที่รักษาไม่หายขาย/โรคร้ายแรง (Rare disease) ที่เรียกว่า Crispr (ออกเสียงว่า คริส-เปอร์) เดิมทีโรคเหล่านี้ใช้เวลานานในการบำบัดรักษากว่าที่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่วิธีใหม่ซึ่งประสบความสำเร็จกับหนูทดลอง สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคไต โรคกล้ามเนื้อเสื่อม และถัดจากนี้จะนำมาประยุกต์ต่อในโรคที่มีความสัมพันธ์กับสมองคน เช่น อัลไซเมอร์ พาร์คินสัน ต่อไป

การตัดต่อทางพันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์จะใช้วิธีเคลื่อนย้ายยีนส์ไม่ดีออกไป และนำยีนส์ใหม่เข้ามาแทน โดยทำกับสิ่งมีชีวิตที่เติบโตเต็มที่แล้ว (ไม่กระทำกับตัวอ่อน: เอมบริโอ) วิธีการตัดต่อที่ทันสมัยที่สุดถูกเรียกว่า Crispr เป็นการหาคู่ใหม่ให้กับดีเอ็นเอ (DNA) รูปทรงกรรไกร ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการเอาชนะอาการปรากฎของโรคร้ายแรงที่ไม่เคยรักษาหาย

ภาพแสดง: Crispr: The science behind a game changing’ gene-editing technique

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ Carlos Izpisua Belmonte หนึ่งในทีมวิจัย แห่ง Salk Institute for Biological Studies กล่าวว่า ยังมีความเสี่ยงหากเกิดข้อผิดพลาดจากการตัดต่อที่จะเป็นภัยหากการตัดต่อดีเอ็นเอ (DNA) เปิดทางให้กับการผ่าเหล่าของเซลล์ ข้อมูลสิ้นเดือน ธ.ค. 2019 กองทุนหลักของ BCARE / BCARERMF ชื่อว่า Wellington Global Health Care Equity Fund ยังไม่มีฐานะการลงทุนใน Sub-Sector Biotechnology ในส่วนการตัดต่อพันธุกรรมโดยตรง แต่มีฐานะลงทุนในบริษัท Biogen (https://www.biogen.com/en_us/home.html) หนึ่งในบริษัทไบโอเทคโนโลยี ที่จะได้ประโยชน์ หากข้อมูลแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ให้ผลในเชิงบวก (Positive Empirical Evidence)

หมายเหตุ: Genetic editing คือ เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมเป็นเทคโนโลยีในการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมที่ตำแหน่งจำเพาะของสิ่งมีชีวิตให้คงอยู่อย่างถาวร ด้วยการทำให้ดีเอ็นเอสายคู่ ณ จุดที่มีลำดับเบสเป้าหมายแยกออกจากกัน

  • แหล่งที่มา:
    https://www.independent.co.uk/news/science/crispr-scientists-hopes-to-win-nobel-prize-for-gene-editing-technique-at-risk-over-patent-dispute-a6677436.html
  • https://www.independent.co.uk/news/science/diabetes-muscular-dystrophy-treatment-effective-modified-genetic-engineering-technique-crispr-a8099481.html
  • https://www.sciencedaily.com/releases/2019/08/190823182700.htm