กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE)และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE)และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

มุมมองต่ออุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพหลังการระบาดของไวรัส COVID-19

สิ่งที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมยาของโลกโดยเฉพาะยาที่รักษาไวรัสโคโรนา ที่ขณะนี้ยังไม่มีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่จะยืนยันได้ว่ายาตัวใดหรือกระบวนการักษาแบบไหนที่จะนำมารักษาให้หายขาด หากท่านผู้ถือหน่วยลงทุนมองย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าสมัยก่อนสงครามโลกการเสียชีวิตของคนมีสาเหตุหลักมาจากโรคติดเชื้อ แต่หลังจากค้นพบยาปฏิชีวนะได้ช่วยทำให้คนมีอายุยืนขึ้น การรักษาโรคระบาด COVID-19 ก็เช่นกัน หลายคนเริ่มเข้าใจแล้วว่าเป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลาเพราะการรักษาใหม่ๆ ผู้วิจัยต้องประเมินผลข้างเคียงเสมอ อุตสาหกรรมยานวัตกรรม หรือ Innovative Drug เป็นการผลิตยาที่นำมาสู่กระบวนการรักษาที่เมื่อใช้ยาตัวนั้นแล้วส่งผลข้างเคียงน้อยที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์ของการรักษา แต่ด้วยเหตุที่คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน สารพันธุกรรมของเราแต่ละคนก็เป็นเฉพาะของเราเท่านั้น เผ่าพันธุ์เราก็ไม่เหมือนกัน อายุเราก็ไม่เท่ากัน ระบบเราก็ไม่เหมือนกัน เราอาจจะมีโรคที่มีมาแต่กำเนิดไม่เหมือนกันด้วย พวกเราที่นั่งกันอยู่อาจยังไม่รู้ว่าตัวเรามีโรคอะไรอยู่ เพราะฉะนั้นยาถ้าต้องใช้กับทุกคนทั่วโลกเป็นพันล้านคน วิธีการทดสอบว่ายาตัวนี้ใช้ได้คือการทดลองทางด้านคลินิก ซึ่งจะต้องไม่ทำให้ผู้ป่วยทรุดลงไปจากเดิมที่เป็นอยู่ ต้องมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ต้องใช้เวลา ใช้ทุนทรัพย์มหาศาล และต้องมีคนซึ่งเป็นอาสาสมัครซึ่งมีร่างกายแข็งแรงมาช่วยทดลอง

สำหรับโรค COVID-19 เป็นโรคใหม่ที่มาอย่างรวดเร็ว ทุกบริษัท/องค์กรต่างเร่งรัดทำอยู่ แต่กระบวนการวิจัยยาไม่สามารถลดขั้นตอนได้ หากลดขั้นตอนความเสี่ยงสูงจะตามมา กรณีนี้เห็นได้จากยาไฮดรอกซีคลอโรควิน ซึ่งเป็นยาต้านมาเลเรียและเป็นยาซึ่งใช้ในโรคไขข้อ ผู้นำบางประเทศประกาศให้รีบนำยานี้มาใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยยังไม่ได้ผ่านการทดลองทางด้านคลีนิค อย่างเป็นรูปธรรมว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไร ตัวเลขผลการทดลองจึงมีไม่เพียงพอว่าควรใช้กี่โดส สำหรับคนอายุเท่านี้ เพศนี้ เผ่าพันธุ์ประเภทนี้ ปัญหาข้างเคียงจึงตามมา

ด้านการใช้วัคซีน กองทุนหลักกล่าวว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนายาวนานกว่ายา เพราะวัคซีนฉีดเข้าไปในร่างกายคนที่มีสุขภาพดี เพื่อกันไม่ให้เกิดโรค ฉะนั้นต้องเข้มงวดกว่ายา เมื่อฉีดวัคศีนเข้าไปแล้วต้องไม่มีภาระ ต้องไม่มีผลข้างเคียง ต้องตรึกตรองและมีกระบวนการนานกว่าจะได้รับอนุมัติ อย่างไรก็ดี การค้นพบวัคซีนซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยใช้กระบวนการนาน 10 ปีเพราะต่างคนต่างทำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับโรค COVID-19 ได้ย่นระยะเวลาที่ได้เคยเกิดขึ้นในอดีตเหลือเพียง 3 เดือนระหว่างเดือน ก.พ.-เม.ย. เพราะทุกฝ่ายเปิดกว้าง องค์กรอนามัยโลก สหประชาชาติ รัฐบาล สถาบันการศึกษา ต่างร่วมมือกัน บริษัทผู้วิจัยและผลิตยาได้เปิดเผยข้อมูลสารพันธุกรรมและสารออกฤทธิ์มาแชร์กันและกัน

กองทุนหลักมีมุมมองต่อโลกหลัง COVID-19 ว่าจะมีสิ่งที่เปลี่ยนไปคือการนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-Time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่คู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้าและสนทนากันได้อย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ หรือที่เรียกว่าเทเลเมดิซีน แต่ก็ต้องรอการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบก่อน แนวโน้มถัดไปจึงน่าจะมีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก อนึ่งกองทุนหลักมีฐานะลงทุนธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ (สัดส่วน 31%) มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (สัดส่วน 26%) เนื่องจากเห็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการแพทย์

ตอบคำถามโดย Cornor McCarthy, Investment Strategist, Wellington Management

  • การระบาดของโคโรนาไวรัสส่งผลกระทบต่อมุมมองด้านการลงทุนของกองทุนหลักบ้างหรือไม่

กองทุนหลักมีให้ความสนใจในธุรกิจที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีน COVID-19 โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในกลุ่มบำบัดโรคและบริษัทซึ่งผลิตองค์ประกอบของยาต้านไวรัสซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้คนชั่วคราวในช่วงที่รอการอนุมัติวัคซีน ในเชิงเศรษฐศาตร์แล้วการที่จะไปลงทุนในบริษัทที่มีการพัฒนายาและวัคซีนนั้นยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากมีความไม่แน่นอนในแง่ระยะเวลาของการระบาดและเงื่อนไขการชำระเงินให้กับตัววัคซีนที่พอจะมีแวว เชื่อว่าการใช้วัคซีนไม่น่าเกิดขึ้นได้ทันภายในปีนี้

  • การเลือกตั้งสหรัฐฯในปีนี้จะมีเงื่อนไขที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทางด้านเฮลธ์แคร์ได้อย่างไร

อดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้ที่ได้กลายมาเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคเดโมแครต ซึ่งเท่าที่เขาให้ข้อมูล เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยลดความน่าจะเป็นของการปฏิรูประบบสุขภาพสหรัฐฯ เพื่อไปสู่สิ่งใหม่ที่เรียกว่า Medicare for All การปฏิรูปภายหลังการเลือกตั้งคงเป็นไปได้น้อย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่พุ่งเป้าหมายไปยังราคายายังคงอยู่ในเรื่องของการอุดหนุนด้วยเงินจำนวนน้อยๆ จากภาครัฐหรือเป็นคำสั่งที่เกิดขึ้นจากผู้บริหารโดยตรงเท่านั้น กองทุนหลักแก้ไขความเสี่ยงนี้ด้วยการลงทุนในบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการออกมาใหม่ ธุรกิจของบริษัทที่ว่านี้ได้เปลี่ยนไปสู่โมเดลที่เน้นคุณค่าตามข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้แล้ว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับโมเดลธุรกิจแบบเดิมที่เน้นขายยาให้ได้ครั้งละมากๆ

  • นวัตกรรมเฮลธ์แคร์ของโลกเราปัจจุบันเข้าสู่ระยะไหนแล้ว

แม้ว่าในปีค.ศ.2019 มีตัวยาใหม่จำนวน 48 ตัวยา ที่ผ่านการอนุมัติจากองค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ จนออกสู่ตลาดได้ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีการอนุมัติตัวยามากที่สุดในรอบทศวรรษ ยาเหล่านี้เป็นยาชั้นเยี่ยมที่คนทั้งโลกรอคอย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและยังมียาอีกจำนวนมาก (ตามรูป) อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อออกสู่ตลาดเฮลธ์แคร์ เป็นเคสที่ถูกขับเคลื่อนโดยเทรนด์ระยะยาวอยู่แล้ว กองทุนหลักมีมุมมองบวกตามที่ได้เคยเรียนไว้ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้ทราบมาโดยตลอด

กองทุนหลักปรับพอร์ตและมีมุมมองในระยะต่อไปอย่างไร

กองทุนหลักหันมาลดความเสี่ยงด้วยการลดฐานะลงทุนในบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่มีภาระหนี้สินสูง และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการให้บริการคลีนิครักษาผู้ป่วย เนื่องจากรายได้ของกิจการเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และยังจับตามองใกล้ชิดกับหุ้นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่ถือครองบางตัว เนื่องจากบริษัทดังกล่าวใช้ส่วนประกอบยาที่มาจากจีน ซึ่งมีความเสี่ยงที่ธุรกิจจะได้รับผลกระทบ ด้วยเหตุดังกล่าว กองทุนหลักจึงลดฐานะลงทุนบริษัทวิจัยยาสัญชาติจีนในกลุ่ม Chinese-based Contract Research Organizations (CROs) และหลีกเลี่ยงบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานการผลิตยาที่พึ่งพิงสารออกฤทธิ์จากจีนและอินเดีย แต่ก็ได้เห็นโอกาสที่เกิดขึ้นในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์จึงได้เพิ่มฐานะลงทุนในบริษัทซึ่งเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์ทดสอบ การติดเชื้อ เครื่องมือการตรวจคัดกรองผู้ป่วย

ในช่วงระยะเวลาที่ตลาดเผชิญกับความผันผวนในหลายๆ ครั้ง กองทุนหลักได้เคยเรียนมาโดยตลอดว่า ขอให้ท่านผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ต้องกังวล เนื่องจากเราอยู่บนสนามแข่งของการลงทุนระยะยาวในธุรกิจโกลบอลเฮลธ์แคร์ที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งได้รับแรงส่งเชิงโครงสร้างจาก

  1. การค้นพบของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านการรักษา อาทิ ยาแขนงบำบัดโรคเรียกว่า Therapeutics ที่สร้างรายได้หลังออกสู่ตลาด
  2. โครงสร้างของประชากรสูงอายุ
  3. อุปสงค์และความต้องการเข้ารับการรักษาและการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ช่วงสิ้นไตรมาสแรกเดือน มี.ค. กองทุนหลักมีฐานะลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดกลาง มีฐานะลงทุนส่วนน้อยในบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก บริษัทผู้ให้บริการทางการแพทย์ ในแง่ฐานะลงทุนรายประเทศ มีฐานะลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง มีฐานะลงทุนส่วนน้อยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

กราฟ: (สีน้ำเงินเข้ม -> กองทุนหลัก) (สีฟ้าอ่อน -> เกณฑ์มาตรฐาน MSCI World Healthcare Net)

ที่มา: Wellington Management, as of March 2020

แม้ในระยะสั้นกองทุนหลักมีมุมมองเชิงบวกแบบระมัดระวัง (Cautiously Optimistic) ต่อหุ้นเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ เนื่องจากยังมีประเด็นการเมืองและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเป็นปัจจัยรบกวนอยู่ แต่อย่างที่ได้เคยเรียนไว้เสมอมาว่า การปฏิรูปราคายาสหรัฐฯหรือโอกาสที่โครงสร้างเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากเดิมสู่ระบบ Universal or government run healthcare system หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2020 นี้ เป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นการใช้งบประมาณประเทศที่สูงเกินจะแบกจะรับไหว นอกจากนี้ ในอดีคเคยมีเหตุการณ์ที่เศรษฐกิจเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงมหภาค อาทิ Subprime Crisis ในปี ค.ศ. 2008, European Debt Crisis ในปี ค.ศ. 2011 หุ้นในกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์ก็ยังคงให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นเสมอมาเนื่องจากเป็นหุ้นปลอดภัย หรือ Defensive Stock ที่ได้รับแรงหนุนเชิงโครงสร้างระยะยาว

ที่มา: Wellington Management, as of March 2020

กองทุนหลักมีการเพิ่ม/ลดสัดส่วนหุ้นในไตรมาสที่ผ่านมา (ม.ค.- มี.ค.) อย่างไร

เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน

1. บริษัท Intuitive Surgical (Fund 1.6%)

 

 

Sub-sector: Medical Technology

Region: North America

ผู้พัฒนาและผลิตทั้งระบบและตัวหุ่นยนต์ที่ใช้กับการผ่าตัดแบบโรโบติกซึ่งมีข้อดีคือลดแผลเป็น ลดระยะเวลาพักฟื้นให้กับผู้ป่วย
เป็นเวลา 20 ปีมาแล้วที่ Intuitive Surgical ผู้ผลิต “หุ่นยนต์ผ่าตัด da Vinci” ครองตลาด เป็นเวลา 20 ปี หุ่นยนต์ผ่าตัด da Vinci ครองตลาด ราคาหุ่น da Vinci อยู่ที่ประมาณตัวละ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐแถมยังขายชิ้นส่วนสำหรับเปลี่ยนได้อีกประมาณ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อการผ่าตัดหนึ่งครั้ง

กองทุนหลักเพิ่มสัดส่วนการลงทุนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้หน่วยงานวิจัย Zacks Investment Research คาดการณ์รายได้และกำไรสุทธิบริษัทเติบโตลดลงในไตรมาสถัดไป แม้รายได้ในไตรมาสแรกระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. เติบโต 13% ที่ระดับ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 3% เป็น 2.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น

บริษัทกำลังเผชิญกับการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์อย่างบริษัท Johnson & Johnson บริษัท Medtronic บริษัท Stryker กระนั้นก็ดี บริษัทยังคงครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งอยู่ รายได้รับของบริษัทจากระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์คิดเป็นสัดส่วน 56% ของรายได้เพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรก เทียบกับหลายปีที่ผ่านมาซึ่งเพิ่มขึ้นระดับ 15-20%

2. Edwards Lifesciences (Fund 2.6%)

Sub-sector: Medical Technology

Region: North America

บริษัท ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้เชี่ยวชาญด้านลิ้นหัวใจเทียมและการตรวจสอบการไหลเวียนโลหิต เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับลิ้นหัวใจแบบไม่ผ่าตัดที่มีอัตราเสี่ยงของการผ่าตัดน้อยกว่า มีอัตราการมีชีวิตที่ยืนยาวกว่า เพราะไม่ต้องทานยาละลายเลือดตลอดชีวิต

บริษัทประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค. เพิ่มขึ้น 14% เท่ากับ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รายได้จากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัด หรือ TAVR: Trans catheter Aortic Valve Replacement เพิ่มขึ้น 24% กำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 1.51 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของไตรมาสแรก บริษัทออกมาประมาณการว่า รายได้จะลดลงอย่างมากจากสถานการณ์ระบาด COVID-19 กองทุนหลักอาศัยจังหวะดังกล่าวลงทุนเพิ่มเพราะบริษัทเป็นผู้นำตลาดด้านการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิดทรวงอก

รูปแสดง: ลิ้นหัวใจของบริษัท Edwards Lifesciences ที่เรียกว่า SAPIEN 3 transcatheter heart valve

ที่มา: https://www.edwards.com/therapies/transcatheter-aortic-valve-replacement-tavr

3. บริษัท PPD หรือ Pharmaceutical Product Development (Fund 0.8%)

Sub-sector: Biotechnology

Region: North America

จุดเด่น: รายได้มาจากประสิทธิภาพของกระบวนการทดลอง/ทดสอบที่ได้รับความน่าเชื่อถือ จึงได้ประโยชน์หากบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์นำยาวัคซีน COVID-19 มาทดสอบกับมนุษย์ ด้วยการว่าจ้างให้บริษัทช่วยดำเนินการ โดยบริษัทเป็น Contract Research Organization ในหลายโรคทั้งโรคหัวใจ โรคผิวหนัง โรคกระเพาะ โรครูมาตอย โรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง โรคโลหิตและเม็ดเลือด โรคระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงการพัฒนาวัคซีนก่อนที่จะนำมาใช้กับมนุษย์รวมถึงกระบวนการทดสอบวัคซีน

ที่มา: https://www.ppd.com/therapeutic-expertise/vaccine-development/

ลดสัดส่วนการลงทุนใน

1.บริษัท Forty Seven (Fund 0.0%)

Sub-sector: Biotechnology (Gene Therapy, Immuno-Oncology)

Region: North America

จุดเด่น: บริษัทพัฒนาตัวยาเทอราพี ใช้รักษาผู้ป่วยไมลอยด์ลูคีเมีย (Myeloid Leukemia) เป็นผลสำเร็จด้วยอัตรา 92% ของกลุ่มผู้ป่วยอาสาสมัครหายจากโรคด้วยการทดลองเพียงครั้งเดียว ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกว่า 500% เท่านั้นยังไม่พอ ราคาหุ้นพุ่งขึ้นในเดือน มี.ค.จาก 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เป็น 95.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น แม้ตลาดหุ้นจะได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ COVID-19 ก็ตาม เพราะบริษัทยายักษ์ใหญ่ Gilead Sciences ประกาศซื้อกิจการมูลค่า 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กองทุนหลักจึงขายทำกำไรจากดีลซื้อกิจการที่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

2. บริษัท Dermira (Fund 0.0%)

Sub-sector: Drug Innovation (Dermathology)

Region: North America

บริษัทพัฒนาตัวยารักษาโรคเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกทางผิวหนังมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของระบบประสาท ระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ การเจ็บป่วยต่างๆ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด แต่ไม่ได้เกิดจากภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมากโดยทั่วไปอย่างอากาศร้อน การออกกำลังกาย ภาวะตื่นเต้นหรือเครียด ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใช้ยา
กองทุนหลักขายในช่วงราคาหุ้นปรับตัวขึ้น หลังบริษัท Eli Lilly เข้าซื้อกิจการบริษัท Dermira มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสะสมพอร์ตยาเฟส-3 ของระยะทดลอง

3. บริษัท Teladoc Health (Fund 0.2%)

Sub-sector: Medical Technology (Telemedicine)

Region: North America

บริษัท Teladoc ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Telemedicine (เทเลเมดิซีน) เจ้าดังที่มีฐานอยู่ที่นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากต้นปีที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้นเป็น 180 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในช่วงสิ้นเดือน เม.ย. เนื่องจากตัวเลขว่ายอดการใช้งานเทเลเมดิซีนทะยานพุ่งสูงขึ้น ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2020

กองทุนหลักใช้จังหวะดังกล่าวลดสัดส่วนการถือครอง โดยนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่เพียงแต่บริษัท Teladoc ที่ออกมาเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งานเทเลเมดิซีนนี้ ก่อนหน้านั้นผู้ครองตลาดนี้จากประเทศจีนอย่าง Ping An Good Doctor ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า ยอดการใช้งานการปรึกษาแพทย์ผ่านระบบของ Ping An นั้น เพิ่มสูงขึ้นถึง 900% จากยอดผู้ใช้งานเดิม และแม้แต่ Telemedicine โดยโรงพยาบาลเอง อย่าง Cleveland Clinic ยังออกมาเปิดเผยว่าระบบต้องรับโหลดจากคนที่กังวลว่าจะติดเชื้อไวรัสและต้องการปรึกษาผ่านทางออนไลน์แทบไม่ทัน

เดิมตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้บริการเทเลเมดิซีนทั่วโลกนั้นไม่ได้สูงนัก จากการเก็บข้อมูลของ Statista ในช่วงปี ค.ศ. 2013 (เมื่อ 7 ปีก่อน) มีผู้ใช้งานเพียงสามแสนรายทั่วโลก และสูงขึ้นเป็น 1 ล้านคนในปี 2015 และที่ 7 ล้านคนในปี ค.ศ. 2018 การลดโหลดของฝูงชนที่ไปกองกันที่โรงพยาบาล ย่อมเกิดประโยชน์ในแง่ Supply chain เพราะทำให้แพทย์ไม่ต้องใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันตนเอง (Personal Protective Equipment: PPE) ไปกับเคสความเสี่ยงต่ำ ทำให้ลดการขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้ให้มากที่สุด และสงวนอุปกรณ์ไว้ใช้กับเคสที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

เทเลเมดิซีนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา คือ การที่คนไข้สามารถเคลมการปรึกษาแพทย์ผ่านออนไลน์ได้ด้วยประกันสุขภาพของบริษัทประกัน (reimbursement) ทั้งยังสามารถรับยาตามแพทย์สั่งได้ที่ร้านยาอีกด้วย (ต้องบอกว่า เดิมในอเมริกา ผู้ป่วยต้องถือใบสั่งยาไปรับยาที่ร้านยาอยู่แล้ว ไม่ได้รอรับที่โรงพยาบาลเหมือนกับของไทย) ในอเมริกามีเทเลเมดิซีนเจ้าดังอยู่หลายเจ้า เช่น บริษัท Teladoc บริษัท MD live บริษัท Doctor on Demand เป็นต้น ถึงแม้หลายๆ บริษัทยังเข้าไปหาเงินลงทุนและอยู่ในตลาดหุ้นด้วย แต่การร่วมจ่ายโดยบริษัทประกันสุขภาพ ก็เป็นแรงจูงใจอย่างมาก ที่ทำให้คนหันมาใช้บริการเทเลเมดิซีน

ที่มา: Wellington Management, as of March 2020

รายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Wellington Global Healthcare Equity Fund

กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio

เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Health Care Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD)

วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Investment style: – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน – เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง

วันจดทะเบียน: October 2003

ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI World Healthcare Net

Morningstar Category: Large cap growth

Bloomberg (A): WGHCEPA ID

Fund Size: USD 2.3 billion as of March 2020

NAV: USD 58.80 as of March 2020

Number of holdings: 148 as of March 2020

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลเดือน มี.ค. 2020)

เผยแพร่ ณ วันที่ 12 พ.ค. 2563

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง