Sell on May ต้อง Go Away จริงหรือ?

Sell on May ต้อง Go Away จริงหรือ?

โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน

BF Knowledge Center

ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  เชื่อว่านักลงทุนต้องเคยได้ยินประโยคยอดฮิตที่ว่า Sell on May and Go Away โดยเมื่อไปย้อนดูสถิติย้อนหลัง 10 ปี จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index)  ปรับตัวลดลงถึง  7  ครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม รวมถึงตลาดหุ้นต่างประเทศก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้นักลงทุนเชื่อได้ว่า  “ถ้าไม่อยากขาดทุนในช่วงเดือนพฤษภาคม ก็ควรขายหุ้นออกไปซะ!”

ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของตลาดหุ้นไทยจะพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงเป็นเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศงบไตรมาสแรก  ซึ่งสะท้อนทิศทางของบริษัทในไตรมาสถัดไป  ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาได้ว่าจะลงทุนต่อหรือพอแค่นี้

ปัจจัยต่อไปคือ  ในช่วงนี้เป็นช่วงที่บริษัทฯ ได้ประกาศและจ่ายปันผล (ถ้ามี) แล้ว จึงกล่าวได้ตลาดรับข่าวที่รอคอยไปเรียบร้อยจึงอาจทำให้เกิด “Sell on Fact” คือ นักลงทุนบางส่วน ได้ทำการขายเพื่อกำไรระหว่างทาง  ส่งผลให้ราคาหุ้นมีการปรับตัวลงมา  โดยเฉลี่ยก็ปรับตัวลดลงประมาณ 2% เท่านั้น  จึงไม่อยากให้นักลงทุนกังวลมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม   โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ไม่น่าจะปรับตัวลดลงมาก  เพราะได้ปรับฐานไปแล้วในช่วงที่รับข่าวการระบาดของไวรัสโควิด-19  แต่ราคาก็อาจมีความผันผวนนิดหน่อยจากแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนหุ้นไทยเพิ่ม  เพื่อเฉลี่ยต้นทุนจากปีก่อนที่ราคาค่อนข้างแพง ด้วยการเลือกใช้วิธีลงทุนแบบถัวเฉลี่ยที่เรียกว่า Dollar Cost Averaging (DCA) โดยอาจลงทุนขั้นต่ำครั้งละ 500 บาทก็ได้ หรือ สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี  ตอนนี้รัฐบาลได้สนับสนุนให้ลงทุนในหุ้นไทย โดยอนุมัติให้ออกกองทุน SSF แบบพิเศษหรือที่เรียกว่า SSF Extra  ในวงเงินเพิ่มพิเศษ 200,000 บาท  ไม่ต้องนำไปรวมกับกองทุน SSF ปกติและกองทุน RMF

ทั้งนี้ ต้องลงทุนในช่วงวันที่ 1 เมษายน  – 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งปัจจุบันกองทุนบัวหลวงมีกองทุนที่ชื่อว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม (BEQSSF) มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทย เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล