กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

ธีมลงทุนที่เป็นเมกะเทรนด์ของอินเดีย

1.ภาคธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่

  • ประเทศอินเดียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแซงหน้าฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรขึ้นมาเป็นอันดับห้าของโลก ประชากรมีระดับการออมที่เพิ่มขึ้นมาจากฐานต่ำ ทำให้ธนาคารเอกชนและสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทยอยกินส่วนแบ่งตลาดจากธนาคารรัฐที่เคยเป็นเจ้าตลาดมาก่อนเนื่องจากมีโมเดลทางธุรกิจที่เข้าถึงตลาดได้ดีกว่า
  • ธุรกิจตัวกลางที่เติบโตไปพร้อมกับการขยายตัว เช่น กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แม้ตลาดหุ้นอินเดียจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ในเวลาดังกล่าวนักลงทุนประเภทลูกค้ารายย่อย/รายใหญ่/ผู้มีเงินลงทุนสูงใช้จังหวะเข้าลงทุนช่วงที่ราคาหุ้นลดลงผ่านการเข้าซื้อหน่วยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ หรือ Systematic Investment Plans (SIP) ในผลิตภัณฑ์กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศ กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษี
    • (จากกราฟแสดงเม็ดเงินไหลออกของนักลงทุนสถาบันต่างชาติ (แท่งสีแดง) เทียบเม็ดเงินไหลเข้า (แท่งสีฟ้า) ที่ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม อาทิกองทุน Aditya Birla Sun Life Tax Relief กองทุน ICICI Prudential Long Term Equity Fund กองทุน Axis Bluechip Fund กองทุน Mirae Asset Large Cap Fund ตั้งแต่เริ่มโครงการ SIP ปี ค.ศ. 2017 – ค.ศ. 2020 คนอินเดียลงทุนผ่าน SIP รวมทั้งสิ้น 3.04 ล้านล้านรูปีหรือ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ที่มา: Association of Mutual Funds in India, National Securities Depositary Ltd.
  • อัตราการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของคนอินเดียยังอยู่ในระดับต่ำ ธุรกิจประกันจึงเติบโตดีที่ระดับ 17% ต่อปี (CAGR*) ระหว่างปี ค.ศ. 2001- 2018

จากมุมองดังกล่าวกองทุนหลัก RAMS India Equity Portfolio Fund ได้ให้น้ำหนักหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน (สัดส่วน 31%) มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (สัดส่วน 27%) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จาก Long Term Growth Story ของอินเดีย โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีรายได้มาจากธุรกิจสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อบ้าน ธุรกิจสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง/เล็ก และธุรกิจประกันชีวิต เช่น บริษัท ICICI Bank บริษัท HDFC Bank บริษัท AXIS Bank   

2. ภาคการบริโภค ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่

  • การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) กำลังเปลี่ยนรูปแบบไปจากอดีตเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศจีน ในช่วงที่รายได้ต่อหัว (GDP per Capita) ของคนจีนทะยานขึ้นจาก 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี เป็น 6,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี จนทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนไป ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจากเดิม
    • กราฟ: หากพิจารณาประเทศจีนแล้วหลังจากที่รายได้ต่อหัวของคนจีนทะลุ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี จีนใช้เวลา 4 ปีในการเพิ่มรายได้ต่อหัวเป็นอีกเท่าตัวจาก 1,490 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปีในปี ค.ศ. 2004 เป็น 3,414 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปีในปี ค.ศ. 2008 และเพิ่มเป็น 6,093 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีในปี ค.ศ. 2012

สำหรับอินเดียกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่ารายได้ต่อหัวจะเพิ่มจาก 2,234 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี ณ สิ้นปี ค.ศ. 2019 เป็น 3,006 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปีในปี ค.ศ. 2022 (ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, IMF)

  • โครงสร้างประชากรวัยแรงงานหนุ่มสาว อินเดียจึงไม่มีข้อจำกัดด้านปัจจัยการผลิตภาคแรงงาน

ในมุมมองของกองทุนหลักแม้แนวโน้มที่ว่านี้ส่งผลบวกให้กับบริษัทในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคแต่กองทุนหลักกลับให้น้ำหนักลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นเพียง 8% น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 12% เพราะ ณ ปัจจุบันหุ้นกลุ่มนี้มีระดับมูลค่าแพงเกินไป กองทุนหลักจึงรอจังหวะเพิ่มสัดส่วนลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมหากผลกำไรบริษัทเริ่มมีความชัดเจน กระนั้นธีมการบริโภคยังคงเป็นธีมหลักของหุ้นอินเดียเพราะคนยังขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อัตราการเข้าถึงระดับต่ำทำให้ธุรกิจสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคมีความน่าสนใจ ในภาวะปกติหุ้นในกลุ่มนี้มักจะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้นระดับ 15% ในอีกแขนงของสินค้าอุปโภคบริโภค คือ สินค้าประเภทฟุ่มเฟือย กองทุนหลักได้ให้น้ำหนักลงทุน 5% มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2% เนื่องจากธุรกิจในกลุ่มนี้ขับเคลื่อนจากความต้องการรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจการเกษตรกรรมชนบทซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบกับพื้นที่ของประเทศ เช่นบริษัท Maruti Suzuki 

3. ภาคอุตสาหกรรม ได้รับอานิสงค์จากการที่

  • อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม (Capacity Utilization) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างปริมาณผลผลิตจริง (Production) กับกำลังการผลิตสูงสุด (Capacity) ที่เครื่องจักรสามารถผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องชี้ระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในประเทศอินเดียนั้น หากไม่มีสถานการณ์ COVID-19 จะอยู่ที่ 76% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

กองทุนหลักมองธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมมีการเติบโตระดับคงเส้นคงวาจากแผนลงทุนภาครัฐมูลค่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระยะเวลา 5 ปี แต่ด้วยการที่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับขึ้นมามาก กองทุนหลักจึงลดน้ำหนักลงทุนจาก 10% เหลือ 9% แต่ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 5% เช่นบริษัท Reliance Industries บริษัท Larsen & Toubro

4. กลุ่มเฮลธ์แคร์ ได้รับอานิสงค์จากการที่

  • โครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศที่ยังขาดแคลน/มีไม่เพียงพอ จึงเป็นกลุ่มที่รอการเติบโตระดับสูง
  • คนอินเดียยังมีอัตราการทำประกันสุขภาพในระดับที่ต่ำ จึงเป็นโอกาสของธุรกิจผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ

กองทุนหลักเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทยาขนาดใหญ่ที่มีรายได้จากทั้งในและต่างประเทศ อาทิบริษัท Divis Lab เนื่องจากรายได้จากการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯช่วยลดความเสี่ยงกรณีรูปีที่อ่อนค่าจากการตรวจสอบขององค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนเมษายน กองทุนหลักมีน้ำหนักหุ้นในกลุ่มเฮลธ์แคร 9% สูงกว่เกณฑ์มาตรฐานที่ 6.3% คาดว่าบริษัทในกลุ่มเฮลธ์แคร์จะมีกำไรเติบโตระดับ 15-20% ต่อปี

5. ธุรกิจทางด้านอินเตอร์เนตและบริการทางเทคโนโลยี ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่

  • จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นนำไปสู่สังคมของข้อมูลออนไลน์ ธุรกิจรับส่งสินค้าและอาหารผ่านสมาร์ทโฟน
  • นอกจากนี้คนอินเดียมีจุดแข็งเชิงวิศวกรรมศาตร์ทางด้านไอที แม้จะมีจุดแข็ง อย่างไรก็ตามกองทุนหลักกลับให้น้ำหนักกับหุ้นเทคโนโลยี 12% ลดลงจากช่วงก่อนหน้า จากปัจจัยความเสี่ยงต่างประเทศและกำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) ที่ลดลงของธุรกิจในกลุ่มนี้ บริษัทในกลุ่มนี้ได้แก่บริษัท Infosys Ltd บริษัท Tata Consultancy

6. การปฎิรูปในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา ทำให้

  • ทั้งประเทศใช้ระบบภาษี (GST) เพียงหนึ่งเดียวภายหลังการปฏิรูปภาษี ลดความเหลื่อมล้ำในการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างรัฐ
  • สถานประกอบการ/บริษัท/ห้างร้านหันมาจดทะเบียนในรูปแบบเชิงพาณิชย์ที่เป็นระบบระเบียบ (Unorganized to Organized sector) มากกว่าเดิม ทำให้เก็บภาษีได้เยอะขึ้น

7. บริษัทข้ามชาติมองอินเดียเป็นจุดหมายปลายทางในการทำธุรกิจ เนื่องจาก

  • เริ่มมองหาฐานการผลิตนอกจากประเทศจีนเพราะจีนติดประเด็นมาตรฐานการผลิตที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม- สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนรวมถึงเหตุการณ์เบร็กซิท ทำให้หันมาพึ่งสินค้าเคมีภัณฑ์ของอินเดียแทน

สัดส่วนการลงทุนกองทุนหลัก RAMS India Equity Portfolio Fund

ที่มา: https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-bharata/information#content

ตัวอย่างหุ้น Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก

บริษัท Varun Beverages Ltd. (สัดส่วน 2.6%)

Sector: Consumer Staple

Sub-sector: Beverage

จุดเด่นของอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องดื่ม: ยอดขายของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเติบโตปีละ 20% ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2018

จุดเด่นของบริษัท Varun Beverages Ltd.

  • รายได้บริษัทแปรผันไปตามเมกะเทรนด์ว่าด้วยเรื่องของการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัว (GDP per Capita) ของคนอินเดีย อีกทั้งบริษัทครองส่วนแบ่งตลาด 85% ของธุรกิจเปปซี่ในอินเดีย บริษัทเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี ค.ศ. 2016 ระหว่างนั้นมีรายได้เติบโต 20% ต่อปี ณ สิ้นปี ค.ศ. 2017 ที่รายได้ 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติมอีก 2,000,000 ร้านค้า จึงเพิ่มฐานการผลิตเพิ่มอีก 36 แห่งเพื่อให้มีทำเลใกล้กับผู้บริโภคเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
  • ระดับมูลค่าบริษัทซื้อขายที่ 12.5 x forward EV/EBITDA มีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 30% กองทุนหลักถือลงทุนต่อเพราะคาดว่ากำไรจะเติบโตเท่าตัวหลังจากนี้ไปอีก 3-4 ปี

ตาราง 1: แสดงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจำแนกตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio Fund ตั้งแต่กลางปี 2018 แล้วถึงต้นปี 2020

ตาราง 2: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Reliance India Equities Portfolio Fund

กองทุนหลัก (Master Fund) 

ชื่อ: RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD)

นโยบายการลงทุน: มุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ NAV)

วันที่จดทะเบียน: 17 พฤษภาคม 2016

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI INDIA USD

Morningstar Category: Large cap blend

Bloomberg code: RAMUSDI LX

Fund size: USD 156.25 Million (Down from USD 233.07 Million in October 2019)

Number of holdings: 52

*ที่มา: Reliance Asset Management (Singapore) Pte Ltd ข้อมูลเดือน เม.ย. 2020

กระบวนการทำงานของทีมลงทุน RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund

1.ผู้จัดการกองทุนได้รับการอัพเดทสถานาการณ์อย่างต่อเนื่องจากทีมวิจัยภายในบริษัทจัดการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการพบปะพูดคุยกับนักลงทุนสัมพันธ์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ทีมงานวิจัยมีคนจำนวนรวมทั้งสิ้น 30 คน

2.ทีมงานวิจัยจะใช้ข้อมูลจากสามส่วน ส่วนแรกคือข้อมูลภายในบริษัทจัดการ ส่วนที่สองคือข้อมูลจากการพบปะนักลงทุนสัมพันธ์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจำนวน 1,000-1,500 ครั้งต่อปี ส่วนที่สามคือข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ หลังจากนั้นจะนำเสนอโมเดลพอร์ตและหุ้นที่ตนเองให้น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลางและเล็ก ให้กับผู้จัดการกองทุน

  • ทีมงานวิจัยส่งมอบหุ้นซึ่งเป็นบริษัทที่ทีมบริหารมีคุณภาพ ธุรกิจมีศักยภาพ มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ มีธรรมาภิบาลบริษัท หลังจากนั้น

3.ผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกหุ้นในข้อ 2 เข้าลงทุนในพอร์ตโดยพิจารณาว่า

  • 3.1 จะให้น้ำหนักกับกลุ่มอุตสาหกรรมไหนมาก/น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • 3.2 จะต้องติดตามสภาพคล่องของหุ้นนั้นๆ
  • 3.3 จะเป็นผู้บริหารความเสี่ยงของพอร์ตเอง
  • 3.4 จะเป็นผู้ถัวเฉลี่ยน้ำหนักหุ้นทุกตัวในพอร์ตเพื่อไม่ให้เบต้าพอร์ตสูงหรือต่ำเกินไป

เกณฑ์การคัดเลือกหุ้นลงทุนของ RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund มีดังนี้

  1. ลงทุนในหุ้นเติบโต ความหมายของหุ้นเติบโตของกองทุนหลักหมายถึงหุ้นของบริษัทที่มีกำไรเติบโตในระดับสูงและอัตราการเติบโตที่ว่านี้ทำได้อย่างต่อเนื่อง ผวนกกับบริษัทซึ่งคาดหมายว่ากำไรว่าจะฟื้นตัว/เร่งตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้
  2. เป็นหุ้นของบริษัทที่มีการจัดการที่เป็นมิตรกับผู้ถือหุ้น (Shareholder Friendly)
  3. เป็นหุ้นซึ่งมีระดับมูลค่า ณ จังหวะลงทุน มีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับตลาด
  4. เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาดในธุรกิจนั้นๆ และสำหรับหุ้นขนาดกลางถึงเล็กจะเป็นหุ้นซึ่งได้รับการคาดหมายว่าสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดได้ในอนาคตดังนั้น พอร์ตโดยรวมจึงมีลักษณะมัลติแคปที่รวมทั้งหุ้นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่ผู้บริหารบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำไรมีโอกาสฟื้นตัว มีระดับมูลค่าเหมาะสมเมื่อเทียบกับตลาด

เกณฑ์การคัดเลือกหุ้นลงทุนเชิงลึกของ RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund  มีดังนี้

  1. คัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป ทำให้หุ้นซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีจำนวนรวมทั้งหมด 5,054 บริษัท ลดลงเหลือ 806 บริษัท (คิดเป็น 97% ของมูลค่าตลาดหุ้น)
  2. กรองหุ้นที่คัดเลิอกมาแล้วในข้อ 1 จาก 806 ตัว ให้เหลือเพียง 470 ตัว (Investment Universe) โดยพิจารณาจาก
    • 2.1 ประวัติการบริหารงานของผู้บริหารบริษัท
    • 2.2 คุณภาพของงบการเงิน
    • 2.3 ประเด็นด้านธรรมาภิบาล
    • 2.4 ประเด็นด้านการเข้าถึงข้อมูลบริษัท
    • 2.5 โครงสร้างของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นดำเนินอยู่(หุ้นดังกล่าวจำนวน 806 ตัว มีมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนคิดเป็น 85% ของตลาดหุ้น)
  3. กองทุนหลักติดตามหุ้นของบริษัทในข้อ 2 อย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานที่ผ่านการทำในรูปแบบรายไตรมาส ผ่านการประชุมทางโทรศัพท์ การเยี่ยมโรงงาน การใช้โมเดลทางการเงิน การใช้บทวิเคราะห์โบรกเกอร์
  4. การเพิ่มฐานะลงทุนให้กับพอร์ตกองทุนหลักจะพิจารณาจากห้าปัจจัยคือ
    • 4.1 เป็นหุ้นของบริษัทที่มีประวัติการบริหารจัดการทางธุรกิจที่ดี
    • 4.2 เป็นหุ้นซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาด ไม่มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี
    • 4.3 ราคาลดลงแต่พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน
    • 4.4 กำลังจะประกาศผลการดำเนินงานที่น่าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
    • 4.5 สภาพคล่องของการซื้อขาย น้ำหนักที่ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม เบต้าพอร์ต ความเสี่ยง

ทำไมผลการดำเนินงานของกองทุนหลักจึงแตกต่างจากดัชนี MSCI India Index (เกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก)

เพราะกองทุนหลักลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในสัดส่วน 55% ส่วนที่เหลืออีก 40% กองทุนหลักลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพราะเชื่อว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กจะช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนหลักได้สูงกว่าดัชนีในระยะยาว  หมายเหตุ; ดัชนี MSCI India Index มีหุ้นขนาดใหญ่ 95% มีหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก 5%

ปัจจุบันกองทุนหลักลงทุนหุ้นกี่บริษัทเมื่อเทียบกับดัชนี MSCI India Index (เกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก)ลงทุนหุ้น 51 บริษัท เทียบกับดัชนี MSCI India Index ที่มีหุ้น 85 บริษัท (เทียบกับหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนหุ้นอินเดียจะมี 90+ บริษัทขึ้นไปโดยเฉลี่ย) กองทุน RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ถือได้ว่า High Conviction

ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2020

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล วันที่ 30 เม.ย. 2020)