Technology Infrastructures เพื่อรองรับชีวิตดิจิทัล

โดย…ชนาทิพย์ เตียวตรานนท์

กองทุนบัวหลวง

โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  เราได้เห็นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจนต้องปิดกิจการไปเลยก็มี

คอลัมน์บัวหลวงก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงยอดขายของออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดโควิด-19  ยอดการใช้แอปพลิเคชันเพื่อทำ video conference เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการใช้ e-signature แทนการเซ็นต์เอกสารเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกในช่วง work from home (WFH) ขณะ lockdown ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนได้จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (NYSE, NASDAQ) เช่น หุ้น FANG+ (Facebook, Amazon, Netflix, Google, อื่นๆที่เกี่ยวข้อง) เพราะเป็นตลาดที่หุ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจึงให้ผลตอบแทน outperform ตลาดอื่น

คอลัมน์นี้เราจะกล่าวถึงความสำคัญและแนวโน้มของการเติบโตที่ดีของ เทคโนโลยี และ infrastructures ที่จำเป็นเพื่อรองรับชีวิต new normal เนื่องจากช่วง lock down ทำให้มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น  ผู้บริโภคสั่งซื้อของ มี delivery มาถึงบ้าน ใช้แอปพลิเคชันเพื่อให้ทำงานจากบ้านได้คล่องตัว หรือจะเล่นเกมส์ ดูหนังออนไลน์  ส่งผลให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น  เราจำเป็นต้องมี hardware เช่น คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ต้องมี software เช่น   Internet Explorer  Google Chrome  Netflix และต้องมี Services เช่น คอลเซ็นเตอร์ให้บริการ มีระบบการจัดการข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า ตลอดจนบริการขนส่ง เป็นต้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้รวดเร็ว เมื่อมีข้อมูล (data) ที่ต้องจัดการจำนวนมากและสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันจากที่ไหนก็ได้  ซึ่งเราเห็นได้ชัดจากช่วง WFH ที่บริษัทต่างๆ ต้องให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลการทำงานได้โดยจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ที่ไหนสักแห่งที่ปลอดภัยเพื่อให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลนั้นได้โดยไม่ต้องอยู่ในออฟฟิส จึงทำให้ความต้องการใช้ Cloud Computing และ Data Center เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากข้อมูลของ Gartner Research Company แสดงรายได้ของ global public cloud services โตแบบก้าวกระโดดจาก 110 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2012 ไปที่ 214 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และมีทีท่าว่าจะโตขึ้นเรื่อยๆ   Alibaba ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนของจีนก็เพิ่งประกาศในเดือนเมษายนปีนี้ว่าจะลงทุนใน cloud infrastructures เป็นจำนวนเงิน 28 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 3 ปีจากนี้  ในขณะเดียวกัน MarketsandMarkets research firm คาดว่าผลกระทบของโควิด-19 จะทำให้ global public cloud demand โตจาก 233 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 ไปเป็น 295 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021   และจากการเติบโตของ cloud services ทำให้ความต้องการใช้ data center เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

หากเปรียบบริษัทที่ให้บริการ cloud services เป็นเสมือนรางรถไฟแล้ว เราเปรียบบริษัทที่ใช้ cloud services เช่น video conferencing,  e-commerce,  online shopping ว่าเป็นขบวนรถไฟโบกี้ที่แล่นไปบนรางรถไฟ  Infrastructure ที่รองรับชีวิตดิจิทัลที่สำคัญอีกอย่างก็คือระบบ 5G  ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า 5G เทคโนโลยีเป็นเครือข่ายไร้สายที่มีความเร็วและรับส่งข้อมูลได้มากกว่าระบบ 4G  สามารถสั่งงานและควบคุมสิ่งต่างๆได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ 5G ยังรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of Things) เช่น รถยนต์ไร้คนขับ telemedicine หุ่นยนต์ในโรงงาน  รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน Augmented Reality (AR) โดยมีหลักการทำงานคือใช้ sensor ในการตรวจจับภาพ เสียง การสัมผัส หรือ การรับกลิ่น แล้วสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาตามข้อมูลที่ได้รับ ด้วยการประมวลผลจาก software โดยผู้ใช้งานจะต้องมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา จอภาพ จอ Smartphone หรือ คอนแทคเลนส์ ที่เป็น hardware

ระบบ 5G เปรียบเสมือนท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ได้อย่างดีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5G จำเป็นต้องใช้ semiconductors และ integrated chips เพื่อที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สายทุกชนิด (user interface) เข้าด้วยกัน

จากข้อมูลของ Viavi research company ณ สิ้นปี 2019 มี 85 เมืองในเกาหลีใต้, 57 เมืองในจีน, 50 เมืองในสหรัฐอเมริกา มีระบบ 5G ใช้แล้ว และจำนวนเมืองที่ใช้ 5G จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนประกอบของ semiconductors ที่จำเป็นต่อ 5G ได้แก่ 5G embedded SOC CPU/AP Application-specific IC (ASIC) Power management IC (PMIC) memory และ graphic processors เป็นต้น โควิด-19 เป็นแรงผลักดันให้บริษัทและผู้บริโภคปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเร็วขึ้น  สำหรับนักลงทุน เราจึงต้องติดตามแนวโน้มดิจิทัลเพื่อหาโอกาสในการลงทุน