กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ธุรกิจโกลบอลเฮลธ์แคร์โดยเฉพาะกลุ่มไบโอเทคโนโลยี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ใน 3 ส่วนคือ

1. สถานการณ์โควิด-19 ทำให้แผนการทดลองยาทางคลีนิคและการอนุมัติให้ใช้ยาที่ว่านี้ถูกเลื่อนออกไป

2. ยอดขายยาและการเปิดตัวของยาใหม่ ก่อนเข้าสู่ตลาด ไม่ได้ร้อนแรงเท่ากับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19

3. ดีลควบรวมกิจการของบริษัทยาลดลงเพราะข้อจำกัดของการเดินทางทางธุรกิจ (Business Travel)

ผลกระทบ 3 ประการข้างต้นเป็นปัจจัยชั่วคราว ไม่ได้ส่งผลต่อศักยภาพการดำเนินธุรกิจของหุ้นในกลุ่มนี้ในระยะยาว

หุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์เป็นกลุ่มที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวเนื่องจาก

1. เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวเข้าสู่วัฏจักรของนวัตกรรมใหม่ (New Innovation Cycle) อันเป็นผลมาจากการศึกษาจีโนมมนุษย์ต่อเนื่องมายาวนานเกินกว่า 20 ปี จีโนมเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของมนุษย์ ข้อมูลนี้มีประโยชน์ตรงที่นำไปสู่การบำบัดด้วยยีน (Gene therapy) มีการนำยีนไปผลิตโปรตีนรักษาโรคเช่น โรคมะเร็ง บาดแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย  และนำไปสู่วิธีการตรวจ การผลิตวัคซีนใหม่ๆ สำหรับโรคที่ไม่เคยรักษาได้มาก่อน เช่น

1.1 เทคนิคตรวจหามะเร็งระยะแรกจากเลือด (Liquid Biopsy) เทคโนโลยีใหม่ของการพยายามตรวจวินิจฉัยโรคจากตัวอย่างเลือดแทนการตรวจด้วยตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อแบบเก่าเพื่อหาความผิดปกติที่บ่งชึ้ถีงโรคมะเร็ง

1.2 เทคนิคโปรตีโอมิกส์ (Proteomic Technology) เป็นเทคนิคสำคัญต่อการศึกษางานด้านโปรตีนการแสดงออกของโปรตีน การระบุชนิดและขนาดของโปรตีน การค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพผ่านกระบวนการ ionization สามารถวิเคราะห์โดยใช้ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยๆ ในระดับเฟมโตโมล ด้วยเทคนิคแมสสเปกโทรเมทรี นำไปสู่การรักษาโรคที่ในอดีตไม่เคยรักษาให้หายได้

1.3 ควอนตัมบำบัด (Quantum treatment) เป็นการใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่ต่ำ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และปรับอวัยวะให้มีการต่อต้านระบบการทำงานที่ไม่ปกติ

2. นวัตกรรมทางไบโอเทคโนโลยีมีการก้าวกระโดดไปอีกหลายแขนง อาทิ

2.1 Adoptive T-cell Therapy เป็นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีอยู่จำนวน 80% ทำหน้าที่สร้างเซลล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธี Chimeric Antigen Receptor T cell (CAR-T Therapy) เป็นการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดและแบบเซลล์บำบัดที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ผลดีมากโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานที่มีอยู่ในขณะนี้  ปัจจุบันการรักษาได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา  (FDA) และมีอยู่สองชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้จัดจำหน่าย ได้แก่ Kymriah จาก Novartis และ Yescarta จาก Kite Pharma แต่ราคายาสูงกว่า 15 ล้านบาท

2.2 ยีนส์บำบัด (Gene Therapy) เป็นการนำยีนส์ปกติอีกชุดหนึ่งใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคที่ยีนส์ผิดปกติทางพันธุกรรมผ่านการปฏิบัติการเพียงครั้งเดียว เช่นการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง การเพิ่มปริมาณของหลอดเลือดในกล้ามเนื้อ

2.3 การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2562 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติให้สามารถขายยา Zolgensma (โซลเจนส์มา) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) ซึ่งมีราคาเข็มละกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 68 ล้านบาท)  – Source: Cure SMA website (https://www.curesma.org/)

2.4 เทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรม (Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats : CRISPR ) แพทย์สามารถตัดต่อหน่วยพันธุกรรมที่ต้องการและในตำแหน่งที่จำเพาะเพื่อใช้แก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรม หมายความว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมจะสามารถรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้โดยอาจมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) และมีแนวโน้มว่าอาจจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ด้วย รวมไปถึงต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ

กราฟ: แสดงนวัตกรรมทางไบโอเทคโนโลยีในแขนงต่างๆ

ในขณะที่ การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ยิ่งใกล้เข้ามาทุกทีทำให้ประเด็นเรื่องการปฎิรูประบบประกันสุขภาพและราคายาถูกหยิบยกขึ้นมาใช้หาเสียง ซึ่งจะกระทบราคาหุ้นของบริษัทผู้ผลิตยา กลุ่มโรงพยาบาล และบริษัทประกันสุขภาพ ดังนั้นการเลือกลงทุนหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องคัดสรรเฉพาะหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดหรือสอดรับวิถี New Normal รวมทั้งได้รับผลกระทบจากประเด็นทางการเมืองจำกัด หุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นผู้ชนะ (Winner) ได้แก่

1. หุ้นเฮลธ์แคร์ในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ หรือไบโอเทคโนโลยี – เช่น บริษัทที่ผลิตยารักษาโรคซับซ้อน การตัดต่อพันธุกรรม ทั่วโลกมีการทดลองยารักษา COVID-19 เกือบ 1,500 ชนิดและวัคซีน 58 ชนิด ที่บริษัทในกลุ่มไบโอเทคโนโลยีกำลังวิจัยและพัฒนาเช่น บริษัท Moderna ที่กำลังทดลองวัคซีนประเภท mRNA ที่เป็นการฉีดสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปในร่างกายแล้วให้ร่างกายเป็นโรงงานผลิตวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน บริษัท Novavax ที่ทดลอง Protien based Vaccine ที่เป็นการฉีดโปรตีนของไวรัสเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน และเมื่อการระบาดจบลง บริษัทกลุ่มนี้ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เนื่องจากเป็นผู้คิดค้นยารักษาโรคที่ซับซ้อนอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคกลุ่มหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งยาเหล่านี้มีผู้ผลิตน้อยราย แต่มีผู้ต้องการอยู่มาก

2. หุ้นกลุ่มผู้ให้บริการพบแพทย์ทางไกล – ในช่วงที่ภาครัฐมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรึกษาอาการเบื้องต้นหรือติดตามอาการที่ไม่ร้ายแรงกับแพทย์ผ่านทาง Video Conference เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางมาโรงพยาบาล โดยบริษัทผู้ให้บริการด้านนี้ ได้แก่ บริษัท Teledoc Health และแม้ว่าเมื่อการระบาดจบลง บริการนี้จะยังใช้แพร่หลาย เพราะการพบแพทย์ทางไกลถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับบริกรทางการแพทย์อย่างทั่วถึงมากขึ้น

3. หุ้นกลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ – บริษัทผู้คิดค้นเครื่องมือตรวจหาเชื้อ เช่น บริษัท Thermo Fisher Scientific บริษัท Becton Dickinson ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องมือตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับอนุมัติจากองค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) นอกจากนี้ เครื่องมือแพทย์ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญและใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน เช่น บริษัท Dexcom ที่ผลิตเครื่องมือวัดระดับน้ำตาลกลูโคสแบบ Real time สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคนทั่วไปก็สามารถใช้เพื่อรักษาสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

สำหรับความถูกแพงของหุ้นตอนนี้ราคากลุ่มเฮลธ์แคร์ซื้อขายที่ FW P/E 15.6 x ถูกกว่าดัชนี S&P500 ที่ FW 19.8 x ซึ่งเมื่อพิจารณาแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในอนาคตแล้ว ราคาหุ้นยังเหมาะสม

รายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Wellington Global Healthcare Equity Fund 

กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio

เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Health Care Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD)

วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Investment style: – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน- เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง

วันจดทะเบียน: ต.ค.2546

ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI World Healthcare Net

Morningstar Category: Large cap growth

Bloomberg (A): WGHCEPA ID

Fund Size: USD 3.1 billion as of June 2020

NAV: USD 71.31 as of June 2020

Number of holdings: 146 as of June 2020

 

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563)