เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%

ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -9.7% (vs. -2.5% ใน 1Q20) เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน

ในรายองค์ประกอบ

ด้านการใช้จ่าย

  • อุปสงค์ต่างประเทศ: หดตัวสูงในระดับสองหลักทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ (-15.9% และ -70.4% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลพวงจากกิจกรรมเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักจากมาตรการ Lockdown  และเศรษฐกิจคู่ค้าที่อ่อนแอลงหลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง
  • อุปสงค์ในประเทศ: หดตัวจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุน โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัว -6.6% (vs. +2.7% ใน 1Q20) จากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน กึ่งคงทนและบริการที่ลดลง แต่การใช้จ่ายสินค้าในหมวดไม่คงทนขยายตัวโดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว -15.0% (vs. -5.4% ใน 1Q20) จากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ลดลงมาก (-18.4% vs. -5.7% ใน 1Q20) อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้ หลังสามารถกลับมาเบิกจ่ายงบประมาณตาม พ.ร.บ.ฯ FY2020 ได้ตามปกติ ทำให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.4% และ 12.5% ตามลำดับ (vs. -2.8% และ -9.3% ใน 1Q20)
  • ทั้งนี้ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปี ใน 2Q20 มีมูลค่าลดลง 190,294 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1Q20 จากการสะสมสินค้าคงคลังลดลงในหมวดสินค้าเกษตร (ผลผลิตลดลง) และทองคำ (ส่งออกทองคำไปมากขึ้นหลังราคาตลาดโลกสูงขึ้น) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ด้านการผลิต:

  • ภาคเกษตรกรรม: ผลผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่เป็นไปในอัตราชะลอลง (-3.2% vs. -9.8% ใน 1Q20) ตามการลดลงของผลผลิตพืชหลัก อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของภัยแล้ง
  • ภาคอุตสาหกรรม: ผลผลิตหดตัวที่ -14.0% (vs -1.9% ใน 1Q20) เป็นผลจากการหดตัวในทุกสาขาย่อย โดยเฉพาะสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่องสี่ไตรมาสติดต่อกัน (-14.4% vs. -2.6% ใน 1Q20)
  • ภาคบริการ: ผลผลิตหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง (-12.3% vs. -0.9% ใน 1Q20) โดยสาขาหลักที่ฉุดมาจากสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (-50.2% vs. -23.3% ใน 1Q20) และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (-38.9% vs. -6.0% ใน 1Q20) ที่หดตัวในระดับสูงมาก จากมาตรการ Lockdown และภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรงจากการปิดน่านฟ้า ขณะที่สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย ยังสามารถขยายตัวได้ แต่อยู่ในระดับต่ำ (+1.7% และ +1.7% ตามลำดับ) ด้านสาขาการก่อสร้างกลับมาเติบโต 7.4% (vs. -9.9% ใน 1Q20) หลังภาครัฐสามารถกลับมาเบิกจ่ายงบประมาณใน พ.ร.บ.ฯ FY2020 ได้ตามปกติ

สศช. ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2020F ลงเหลือ -7.8% ถึง -7.3% ถึง จากเดิม -6% ถึง  -5% ในครั้งก่อน ขณะที่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อมาอยู่ที่ -1.2 ถึง -0.7% จากเดิมคาด -1.5% ถึง -0.5%