ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของไทยเริ่มดีขึ้น

ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของไทยเริ่มดีขึ้น

BF Economic Research

• การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ)

• การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ)

• การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง (-12.8% YoY vs. -10.2% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ยังคงหดตัวสูง (เช่น การนำเข้าสินค้าทุน -21.2% และยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ -16.7%)

• การใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) เพิ่มขึ้น 50% YoY (vs. 27.9% เดือนก่อน) การขยายตัวถูกหนุนโดยการเบิกจ่ายที่สูงขึ้นจากทั้งรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจ

• จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นศูนย์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (-100% YoY) เป็นผลมาจากการห้ามการเดินทางระหว่างประเทศ

• การส่งออก (ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์) ในเดือน ก.ค.-20 อยู่ที่18,820.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,444.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -11.37%YoY (vs. เดือนก่อน -23.17%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะหดอยู่ที่    -14.14%YoY (vs. prev.-17.26%YoY) YTD หดตัว -7.71%

• ดุลการค้า ในเดือน ก.ค.-20  อยู่ที่ 3,343.2 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 1,610.0 ล้านดอลลาร์ฯ ดุลการค้า YTD ในเดือน ก.ค.-20 อยู่ที่ 14,043.8 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 10,700.6 ล้านดอลลาร์ฯ

• ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ฯจากที่ขาดดุลในเดือนก่อนตามดุลการค้าที่เกินดุลสูงขึ้นจากการส่งออกทองคำขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนยังคงขาดดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อน