ส่งออกไทย ในเดือน ส.ค. 2020 อยู่ที่ 20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ ลบ 7.94% YoY

ส่งออกไทย ในเดือน ส.ค. 2020 อยู่ที่ 20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ ลบ 7.94% YoY

BF Economic Research

ส่งออกไทย ในเดือน ส.ค. 2020 อยู่ที่ 20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,819.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -7.94% YoY (vs. prev.-11.25%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -14.09% YoY (vs. prev.-14.14%YoY)

ส่งออกไทย ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,819.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -7.94%YoY (vs. prev.-11.25%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -14.09%YoY (vs. prev.-14.14%YoY) YTD Export Growth =-7.8% vs.prev.-7.71%

ขณะที่มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 15,863.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 15,476.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -19.70%YoY (vs. prev.-26.60%YoY) YTD Import Growth =-15.31% vs.prev.-14.7%

ส่งผลให้ดุลการค้า ในเดือน ส.ค.-20  อยู่ที่ 4,349.4 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 3,343.2 ล้านดอลลาร์ฯ และดุลการค้า YTD ในเดือน ส.ค.-20 อยู่ที่ 18,393.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 14,044.2 ล้านดอลลาร์ฯ

 

รายสินค้ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -13.2% (YoY) 

สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่

  • น้ำมันปาล์ม ขยายตัว 599.6% YoY ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวสูงในอินเดีย และตลาดอื่น ๆ เช่น เคนยา มาเลเซีย และเมียนมา)
  • สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัว 962.1% YoY ขยายตัว 12 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัว ในฮ่องกง ลาว และกัมพูชา)
  • อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 22.3% YoY ขยายตัว 12 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลาย ตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 15.6% YoY ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)

สินค้าที่หดตัว ได้แก่

  • น้ำตาลทราย หดตัว -64.2% YoY หดตัว 5 เดือนต่อเนื่อง
  • ยางพารา หดตัว -32.2%YoY หดตัว 6 เดือนต่อเนื่อง • ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และ แปรรูป หดตัว -28.7% YoY หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง
  • ข้าว หดตัว -15.0% YoY หดตัว 4 เดือนต่อเนื่อง

***โดย 8 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว- 4.7% YoY

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว – 6.2% (YoY)

สินค้าที่ขยายตัวดีได้แก่

  • ถุงมือยาง ขยายตัว 125.9% (YoY) ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี)
  • เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ ขยายตัว 31.3% YoY ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวใน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย เปรู อินโดนีเซีย และอียิปต์)
  • เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ ขยายตัว 35.8% YoY ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ และลาว)
  • ทองคำ ขยายตัว 71.5%YoY (ขยายตัวในสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น และไต้หวัน)

สินค้าที่หดตัว ได้แก่

  • อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัว -55.6%
  • สินค้าเกี่ยวเนื่อง กับน้ำมัน หดตัว -15.7%YoY หดตัว 20 เดือนต่อเนื่อง
  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว  -28.7% YoY หดตัว 11 เดือนต่อเนื่อง
  • เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ หดตัว -18.3%YoY หดตัว 11 เดือนต่อเนื่อง

 

***โดย 8 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -7.7% YoY

กระทรวงพาณิชย์มองว่าจากจุดนี้ไป การส่งออกของไทยจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ประเทศคู่ค้ายังสามารถควบคุมได้ และเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ก็น่าจะเริ่มเห็นออเดอร์ของสินค้าบางประเภทกลับมา เช่น (สินค้าที่ได้รับอานิสงส์จาก WFH และสินค้าประเภทอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้แล้วหมดไป) อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในบางอุตสาหกรรมเช่น  ยานยนต์ ปิโตรเคมี และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับยอดการส่งออกว่าจะยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัวในปีนี้