สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย.

BF Economic Research

เศรษฐกิจในเดือน ก.ย. ฟื้นตัวจากที่มีวันหยุดยาวพิเศษที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายสาธารณะยังคงเป็น Driver หลักเช่นเดิม การส่งออกหดตัวน้อยกว่าเดือนก่อนตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

เมื่อมองไปข้างหน้า GDP ไตรมาส 3/2020 (Market Cons  -8.8% YoY) มีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้า (-12.2% YoY) เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 นั้นรัฐบาลได้ผ่อนคลาย มาตรการล็อคดาวน์ลง มาตรการของรัฐบาลที่กระตุ้นการบริโภคที่ได้เริ่มในเดือนต.ค. อาจมีส่วนช่วยการบริโภคได้อย่างจำกัดเนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองยังมีอยู่มาก

รายละเอียดของเครื่องชี้รายตัว

  • รายจ่ายลงทุนของภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) เพิ่มขึ้น 46.5% YoY (vs. +47.0% เดือนก่อน) โดยได้รับแรงหนุนจากการเร่งเบิกจ่ายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2020 ของรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจ
  • การบริโภคภาคเอกชนไม่ขยายตัว (0% YoY vs. -0.3% เดือนก่อน) โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวดของการใช้จ่าย โดยเฉพาะสินค้าไม่คงทน (+1.2% vs. -1.5% เดือนก่อน) และสินค้าคงทน(-4.8% vs. -9.6% เดือนก่อน) ขณะที่รายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่อง (+9.7% vs. +8.8% เดือนก่อน) ด้วยแรงหนุนหลักจากปัจจัยด้านราคา
  • การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลง (-3.7% YoY vs. -5.0% เดือนก่อน) โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นหลักจากการใช้จ่ายในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะยอดจดทะเบียนรถใหม่เพื่อการลงทุน(-1.6% vs. -8.9% เดือนก่อน)
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์ฯลดลงจากเดือนก่อนที่ 3.1พันล้านดอลลาร์ฯ ตามการส่งออกทองคำที่ลดลง เป็นผลให้ตัวเลข YTD เกินดุลที่ 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ (vs. prev. 2.69 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ YTD)

  • นักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว -100% YoY จากนโยบายการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา
  • มูลค่าส่งออกไทย ในเดือน ก.ย.-20 อยู่ที่19,621.3 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 20,212.3 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -3.86%YoY (vs. prev.-7.77%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -4.06%YoY (vs. prev.-14.09%YoY)YTD Export Growth =-7.33% vs.prev.-7.72%

  • มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน ก.ย.-20 อยู่ที่ 17,391.2 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 15,863.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -9.10%YoY (vs. prev.-20.10%YoY)YTD Import Growth =-14.8% vs.prev.-15.4%
  • ดุลการค้า ในเดือน ก.ย.-20  อยู่ที่ 2,230.1 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 4,349.4 ล้านดอลลาร์ฯ
  • ดุลการค้า YTD ในเดือน ก.ย.-20 อยู่ที่ 20,623.7 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,393.6 ล้านดอลลาร์ฯ

ข่าวอื่นๆ

สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐ (USTR) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 ต.ค.  2020 ที่ผ่านมาว่าจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กับสินค้าไทยคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านบาท หลังจากสหรัฐฯ ไม่สามารถเจรจาเพื่อส่งออกเนื้อหมูเข้าตลาดประเทศไทยได้ โดยการตัดสิทธิ GSP นี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2020 นี้เป็นต้นไป

สำหรับรายชื่อสินค้าไทยที่จะถูกตัดสิทธิ ประกอบไปด้วย เนื้อหมู ผักผลไม้อบแห้ง/แช่เย็นแช่แข็ง, ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องครัว อะลูมิเนียม,สเตนเลส, เหล็ก, ชิ้นส่วนเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์,  etc (รายละเอียดดังลิงค์) ก่อนหน้านี้ไทยถูกตัดสิทธิ์ GSP ไปเมื่อเดือน เม.ย.2020 ที่ผ่านมามีมูลค่าสินค้า 1,300 ล้านดอลลาร์ฯ หรือราว 40,000 ล้านบาท (รายละเอียดดังลิงค์)

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ไทยมีการใช้สิทธิจริง147 รายการ (จากทั้งหมด 231 รายการที่ถูกตัดสิทธิ) คิดเป็นมูลค่า 604 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นสัดส่วน 1.9% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ หรือ 0.25% ของการส่งออกรวม ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ต้นทุนภาษีปรับเพิ่มขึ้นราว 19 ล้านดอลลาร์ฯ

ก่อนหน้านี้  (มีผลเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2020 ที่ผ่านมา)  สหรัฐฯ ได้มีการตัดสิทธิ GSP กับไทยไปแล้ว 573 รายการ ซึ่งได้มีการใช้สิทธิจริง 315 รายการ มูลค่าสินค้า 1,300 ล้านดอลลาร์ฯ (คิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ หรือ 0.5% ของการส่งออกรวม) ในกลุ่มสินค้า อาทิ อาหารทะเลแปรรูป พาสต้า ถั่วชนิดต่างๆ แยมผลไม้ น้ำผลไม้ ซอสถั่วเหลือง เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องครัวและของใช้ในบ้าน มอเตอร์ไฟฟ้า เหล็กแผ่นและสเตนเลส เครื่องดนตรี และอุปกรณ์ตกปลา โดยการถูกตัดสิทธิ GSP ทำให้ต้นทุนส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 50.33 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลในปี 2019 พบว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 5,639 ล้านดอลลาร์ฯ และมีมูลค่าการขอใช้สิทธิ GSP อยู่ที่ 4,787 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนการขอใช้สิทธิ GSP อยู่ที่ 84.9%