กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

Domestic Macro & Markets

ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายรายการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น จำนวนเคสที่ติด COVID-19 เริ่มลดลงจากจุดสูงสุดกลางเดือน ก.ย. ทำให้ยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 62,000 คน เทียบกับ 87,000 คนในเดือน ก.ย. ทั้งที่การตรวจหาเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 1.12 ล้านราย เป็น 1.06 ล้านราย ตลาดหุ้นอินเดียยังทรงตัว โดยเป็นครั้งแรกในสามเดือนที่ดัชนี Sensex (+4.1%) ของหุ้นขนาดใหญ่ให้ผลตอบแทน outperform ดัชนี Mid (+1.4%) และ Small cap (+0.1%) ที่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก เมื่อเปรียบเทียบแยกรายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่ากลุ่มธนาคาร (BSE Bankex index +12.5%) อสังหาฯ (+8%) ไอที (+5.4%) พลังงาน (-7%) เฮลธ์แคร์ (-5%) และสินค้าอุปโภคฟุ่มเฟือย (-1%) นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนในประเทศขาย 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

India’s high frequency data update

PMI: Manufacturing PMI เดือน ต.ค.ที่ 58.9 เทียบกับ 56.8 ในเดือน ก.ย. ผลผลิตเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบทศวรรษสะท้อนการเร่งซื้อสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง

Core Sector Production: หดตัว 0.8% YoY ในเดือน ก.ย. เทียบกับเดือน ส.ค.ที่ หดตัว 7.3% และ หดตัว 5.1% ในเดือนก.ย. ปีที่แล้ว การผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น 21.2% การผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น 0.9% การผลิตน้ำมันดิบลดลง 6.1% การผลิตปุ๋ยลดลง 0.4%

Industrial Production: ฟื้นตัวขึ้นจากที่เคยหดตัว 8.6% ในเดือน ส.ค. และ 11.6% ในเดือน ก.ค.

Credit and deposit: สินเชื่อภาคธนาคารยังคงไม่ดีนัก เดือน ต.ค. ขยายตัวเพียง 5.7% YoY เทียบกับ 8.9% เมื่อปี 2019 ด้านการเติบโตของเงินฝาก 10.5% YoY

Trade deficit: ยอดขายดุลการค้าเดือน ก.ย. ลดลงเป็น 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับขาดดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเดือน ส.ค. และเทียบกับขาดดุล 11.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. ปีก่อน การส่งออกเติบโต 6% YoY เป็น 27.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้าลดลง 19.6% YoY เป็น 30.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Inflation: ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 7.3% เทียบกับ 6.69% ในเดือน ส.ค. อันเป็นผลจากดัชนีราคาอาหารเพิ่มขึ้น 10.7% (ดัชนีราคาอาหารเพิ่มขึ้น 9.1% ในเดือนส.ค.) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออกเนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล ทรงตัวอยู่ที่ 5.3%

ภาษีสินค้าและบริการ: เดือน ต.ค. (ตัวเลขเดือนก.ย.) เก็บภาษีได้ 1.05 ล้านรูปี (เพิ่มขึ้น 10.2% YoY) สูงสุดในรอบปีบัญชี สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่กลับมาภายหลังการล็อคดาวน์

Fiscal spending: ค่าใช้จ่ายภาครัฐยังชะลอตัวลงต่อไป (-1% YoY) จากรายได้ (+1% YoY) และรายจ่าย (-12% YoY) ขณะที่ภาษีที่เรียกเก็บได้ลดลง 22% YoY

Highlight จากผู้จัดการกองทุนหลัก 

  • ราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นมาในระยะสั้นนั้นได้สะท้อนปัจจัยบวกของผลประกอบการแล้ว
  • ด้วยความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กองทุนหลักจึงเพิ่มฐานะการลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินและหุ้นวัฏจักร (Cyclical stock) เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และค้าปลีก
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯไม่มีนัยต่อกิจการหรือธุรกิจของอินเดีย

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=5-k4JZ7rzYs&feature=youtu.be 

ตาราง 1: แสดงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจำแนกตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio Fund ตั้งแต่ต้นปีปี 2019 แล้วถึงกลางปี 2020

ตาราง 2: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Reliance India Equities Portfolio Fund

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD)

นโยบายการลงทุน: มุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ NAV)

วันที่จดทะเบียน: 17 พฤษภาคม 2016

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI INDIA USD

Morningstar Category: Large cap blend

Bloomberg code: RAMUSDI LX

Fund size: USD 169 Million (Down from USD 233.07 Million in October 2019)

Number of holdings: 50

*ที่มา: Reliance Asset Management (Singapore) Pte Ltd ข้อมูลเดือน ต.ค. 2020

กระบวนการทำงานของทีมลงทุน RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund

  1. ผู้จัดการกองทุนได้รับการอัพเดทสถานาการณ์อย่างต่อเนื่องจากทีมวิจัยภายในบริษัทจัดการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการพบปะพูดคุยกับนักลงทุนสัมพันธ์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ทีมงานวิจัยมีคนจำนวนรวมทั้งสิ้น 30 คน
  2. ทีมงานวิจัยจะใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วน ส่วนแรก คือ ข้อมูลภายในบริษัทจัดการ ส่วนที่ 2 คือ ข้อมูลจากการพบปะนักลงทุนสัมพันธ์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจำนวน 1,000-1,500 ครั้งต่อปี ส่วนที่ 3 คือ ข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ หลังจากนั้นจะนำเสนอโมเดลพอร์ตและหุ้นที่ตนเองให้น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลางและเล็ก ให้กับผู้จัดการกองทุน
    • 2.1 ทีมงานวิจัยส่งมอบหุ้นซึ่งเป็นบริษัทที่ทีมบริหารมีคุณภาพ ธุรกิจมีศักยภาพ มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ มีธรรมาภิบาล
  3. ผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกหุ้นในข้อ 2. เข้าลงทุนในพอร์ตโดยพิจารณาว่า
    • 3.1 จะให้น้ำหนักกับกลุ่มอุตสาหกรรมไหนมาก/น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
    • 3.2 จะต้องติดตามสภาพคล่องของหุ้นนั้นๆ
    • 3.3 จะเป็นผู้บริหารความเสี่ยงของพอร์ตเอง
    • 3.4 จะเป็นผู้ถัวเฉลี่ยน้ำหนักหุ้นทุกตัวในพอร์ตเพื่อไม่ให้เบต้าพอร์ตสูงหรือต่ำเกินไป

เกณฑ์การคัดเลือกหุ้นลงทุนของ RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund มีดังนี้

  1. ลงทุนในหุ้นเติบโต ความหมายของหุ้นเติบโตของกองทุนหลักหมายถึงหุ้นของบริษัทที่มีกำไรเติบโตในระดับสูงและอัตราการเติบโตที่ว่านี้ทำได้อย่างต่อเนื่อง ผวนกกับบริษัทซึ่งคาดหมายว่ากำไรว่าจะฟื้นตัว/เร่งตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้
  2. เป็นหุ้นของบริษัทที่มีการจัดการที่เป็นมิตรกับผู้ถือหุ้น (Shareholder Friendly)
  3. เป็นหุ้นซึ่งมีระดับมูลค่า ณ จังหวะลงทุน มีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับตลาด
  4. เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาดในธุรกิจนั้นๆ และสำหรับหุ้นขนาดกลางถึงเล็กจะเป็นหุ้นซึ่งได้รับการคาดหมายว่าสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดได้ในอนาคต

ดังนั้น พอร์ตโดยรวมจึงมีลักษณะมัลติแคปที่รวมทั้งหุ้นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่ผู้บริหารบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำไรมีโอกาสฟื้นตัว มีระดับมูลค่าเหมาะสมเมื่อเทียบกับตลาด

เกณฑ์การคัดเลือกหุ้นลงทุนเชิงลึกของ RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund มีดังนี้

  1. คัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป ทำให้หุ้นซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีจำนวนรวมทั้งหมด 5,054 บริษัท ลดลงเหลือ 806 บริษัท (คิดเป็น 97% ของมูลค่าตลาดหุ้น)
  2. กรองหุ้นที่คัดเลิอกมาแล้วในข้อ 1 จาก 806 ตัว ให้เหลือเพียง 470 ตัว (Investment Universe) โดยพิจารณาจาก
    • 2.1 ประวัติการบริหารงานของผู้บริหารบริษัท
    • 2.2 คุณภาพของงบการเงิน
    • 2.3 ประเด็นด้านธรรมาภิบาล
    • 2.4 ประเด็นด้านการเข้าถึงข้อมูลบริษัท
    • 2.5 โครงสร้างของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นดำเนินอยู่ (หุ้นดังกล่าวจำนวน 806 ตัว มีมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนคิดเป็น 85% ของตลาดหุ้น)
  3. กองทุนหลักติดตามหุ้นของบริษัทในข้อ 2. อย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานที่ผ่านการทำในรูปแบบรายไตรมาส ผ่านการประชุมทางโทรศัพท์ การเยี่ยมโรงงาน การใช้โมเดลทางการเงิน การใช้บทวิเคราะห์โบรกเกอร์
  4. การเพิ่มฐานะลงทุนให้กับพอร์ตกองทุนหลักจะพิจารณาจาก 5 ปัจจัยคือ
    • 4.1 เป็นหุ้นของบริษัทที่มีประวัติการบริหารจัดการทางธุรกิจที่ดี
    • 4.2 เป็นหุ้นซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาด ไม่มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี
    • 4.3 ราคาลดลงแต่พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน
    • 4.4 กำลังจะประกาศผลการดำเนินงานที่น่าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
    • 4.5 สภาพคล่องของการซื้อขาย น้ำหนักที่ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม เบต้าพอร์ต ความเสี่ยง

ทำไมผลการดำเนินงานของกองทุนหลักจึงแตกต่างจากดัชนี MSCI India Index (เกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก)

  • เพราะกองทุนหลักลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในสัดส่วน 55% ส่วนที่เหลืออีก 40% กองทุนหลักลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพราะเชื่อว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กจะช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนหลักได้สูงกว่าดัชนีในระยะยาว

หมายเหตุ; ดัชนี MSCI India Index มีหุ้นขนาดใหญ่ 95% มีหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก 5%

ปัจจุบันกองทุนหลักลงทุนหุ้นกี่บริษัทเมื่อเทียบกับดัชนี MSCI India Index (เกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก)

  • ลงทุนหุ้น 50 บริษัท เทียบกับดัชนี MSCI India Index ที่มีหุ้น 85 บริษัท (เทียบกับหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนหุ้นอินเดียจะมี 90+ บริษัทขึ้นไปโดยเฉลี่ย) กองทุน RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ถือได้ว่า High Conviction

ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ค. 2020

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล วันที่ 30 ต.ค. 2020)

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต