อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัว -0.41% YoY ยังติดลบแต่หดตัวน้อยลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ขยายตัวขึ้น คาดทั้งปี 2020 จะติดลบ -0.8  to -0.9%

อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัว -0.41% YoY ยังติดลบแต่หดตัวน้อยลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ขยายตัวขึ้น คาดทั้งปี 2020 จะติดลบ -0.8 to -0.9%

BF Economic Research

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.2 หรือ -0.41%YoY (vs. prev.-0.50%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.04%MoM (vs. prev.0.05%MoM), YTD: -0.90% (vs. prev.-0.94%)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.18%YoY (vs. prev.0.19%YoY), เมื่อเทียบรายเดือน 0.01%MoM (vs. prev.-0.02%MoM)
  • ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 1.70%YoY (vs. prev.1.57%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน -0.23%MoM (vs. prev.0.05%MoM)
  • ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่  -1.64%YoY (vs. prev.-1.70%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน 0.07%MoM (vs. prev.0.06%MoM)

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการหดตัวในอัตราน้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับราคาฐานที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานยังคงหดตัว

นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลิตข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับความต้องการ การส่งเสริมการขาย และปริมาณผลผลิตเป็นสำคัญ

กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ทิศทางของเงินเฟ้อที่ดีขึ้นนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์และอุปทานในประเทศ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในเดือนธ.ค. นั้นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนพ.ย. และคาดว่าจะยังหดตัวแต่ในอัตราที่น้อยลง โดยสาเหตุสำคัญมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ราคาน้ำมันเริ่มทรงตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตรและอาหารสดที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่องตามความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในหลายรูปแบบที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อชดเชยรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ

Bottom Line

  1. กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2020 จะอยู่ที่ -0.87% ซึ่งเป็นไปตามกรอบเดิมที่ตั้งไว้ที่ -1.5 ถึง -0.7% (vs BBLAM: -1.0ถึง -0.5%)
  2. ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปี 2021 สนค.คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 0.7-1.7%( vs BBLAM: 0.5 ถึง -1.0%) หรือเฉลี่ยที่ 1.2% อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาขยายตัวจากปัจจัยบวก ดังนี้
    • การปรับตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ดีขึ้น โดยโครงการ “ชิมช้อปใช้” และ “คนละครึ่ง” ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า แต่เป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น
    • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก จากผลของการมีวัคซีนที่สามารถนำมาใช้ได้เร็วขึ้นภายในปีนี้
    • แรงขับเคลื่อนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และ ผลจากฐานต่ำปี 2020