เศรษฐกิจที่สุขภาพดีช่วยลดความไม่เท่าเทียมได้ แต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัด

เศรษฐกิจที่สุขภาพดีช่วยลดความไม่เท่าเทียมได้ แต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัด

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ไวรัสโคโรนาที่ระบาดส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวและเกิดการสูญเสียงานอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งยังสะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันที่เลวร้ายลงทั่วโลกด้วย

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ระบุว่า ปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 20 ปี จากการที่โควิด-19 ทำให้คนหลายล้านคนต้องใช้ชีวิตด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

David Wilcox เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสถาบันเศรษฐกิจนานาชาติปีเตอร์สัน กล่าวว่า เศรษฐกิจขาลงในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมที่รุนแรงขึ้น และภาวะถดถอยนี้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยจากข้อมูล พบว่า อัตราการจ้างงานสำหรับแรงงานที่มีค่าจ้างสูงกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด แต่สำหรับการจ้างแรงงานค่าแรงต่ำยังคงลดลงกว่า 20%

“การฟื้นตัวนี้ ไม่มีผลมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่มีสุขภาพดีจะช่วยบรรเทาความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่เพิ่งผ่านมาได้” Wilcox กล่าว

เขา ยังบอกอีกว่า เมื่อได้รับวัคซีนอย่างกว้างขวางแล้ว ประชาชนจะรู้สึกสะดวกใจในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นพลังงานสำคัญสำหรับเศรษฐกิจภาคบริการในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยในจำนวนนี้กล่าวรวมถึงการไปยิม รับประทานอาหารที่ร้าน การขึ้นเครื่องบินโดยสาร และการเข้าร่วมประชุมด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยผู้คนจำนวนมากที่ไม่มีงานทำตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ปีที่แล้วได้

ขณะที่ Richard Yetsenga หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ANZ กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจอาจไม่สามารถบรรเทาความไม่เท่าเทียมได้ นอกไปจากเพิ่มการจ้างงาน โดยการมีงานทำมากขึ้น แน่นอนว่า จะช่วยลดความเท่าเทียมได้ในระยะสั้น แต่ก่อนที่จะเกิดโควิด เศรษฐกิจหลายภาคมีอัตราการว่างงานต่ำ และความไม่เท่าเทียมก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว

การเติบโตของเศรษฐกิจ ไม่ได้แก้ปัญหาความเท่าเทียมในเศรษฐกิจหลายภาคส่วนในช่วง 10 ปีก่อนเกิดโควิด ดังนั้นจึงต้องมีบางอย่างแตกต่างออกไปเพื่อแก้ไขหลังจากนี้

ขณะที่นักวิจัยจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ อาจทดแทนแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาและทำให้เกิดช่องว่างมากขึ้นระหว่างประเทศที่รวยและจน

Yetsenga มองว่า ความไม่เท่าเทียมจะเป็นประเด็นท้าทายใหญ่เชิงนโยบายหลังจากโควิด และต้องยอมรับว่าปัญหานี้จะเป็นก้าวแรกไปสู่การหาคำตอบ ส่วนก้าวต่อไปคือการเข้าไปแทรกแซงการเติบโตและความไม่เท่าเทียมเพื่อหาทางออก

สำหรับเศรษฐกิจสุขภาพดีนั้น ประเทศต่างๆ จะต้องมีการปรับปรุงระบบภาษีใหม่เพื่อให้ก้าวหน้ามากขึ้น หรือลงทุนในระบบการศึกษาที่เท่าเทียมในระยะยาว