การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • มูลค่าส่งออกไทยในเดือน ธ.ค.-20 อยู่ที่ 20,082.7 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,932.7 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ ขยายตัว 4.71%YoY (vs. prev.-3.65%YoY) ดีกว่า mkt survey ที่ -1.35% ถ้าไม่รวมทองคำ การส่งออกขยายตัวที่ 5.18%YoY (vs. prev.-3.12%YoY)รวมทั้งปี 2020 มูลค่าส่งออกไทยหดตัว-6.00% vs. 2019: -2.47%

  • มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน ธ.ค.-20 อยู่ที่ 19,119.2 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,880.1 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ ขยายตัว 3.62%YoY (vs. prev.-1.00%YoY) ดีกว่า mkt survey ที่ -0.6%รวมทั้งปี2020 มูลค่านำเข้าไทยหดตัว-12.39% vs. 2019 -5.0%
  • ดุลการค้าไทย ในเดือน ธ.ค.-20  อยู่ที่ 963.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 52.6 ล้านดอลลาร์ฯรวมทั้งปี 2020 ดุลการค้าไทยอยู่ที่ 24,476.5 ล้านดอลลาร์ฯ vs. 2019: 5,203.1 ล้านดอลลาร์ฯ

ในรายสินค้า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาขยายตัว 2.1% YoY ในรอบ 3 เดือน

  • สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
    • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 63.6% YoY ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย)
    • ยางพารา ขยายตัว 30.0% YoY ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ ตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ)
    • อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 25.7%YoY ขยายตัว 16 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย ออสเตรเลีย
    • ผัก ผลไม้ สดแช่แข็ง กระป๋องและ แปรรูป ขยายตัว 4.4%YoY ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และมาเลเซีย)
  • สินค้าที่หดตัว ได้แก่
    • น้ำตาลทราย หดตัว -75.4% YoY หดตัว 9 เดือนต่อเนื่อง
    • ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป หดตัว -7.6%YoY หดตัว 6 เดือนต่อเนื่อง
    • ทูน่ากระป๋อง หดตัว -7.0%YoY หดตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดอิสราเอล และเปรู แต่ขยายตัวดีในตลาดสหรัฐฯ อียิปต์ และออสเตรเลีย)
    • ข้าว กลับมาหดตัว -0.1%YoY ในรอบ 1 เดือน ขณะที่ทั้งปี 2020 สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -3.5%
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัว 6.7% YoY ในรอบ 8 เดือน
  • สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
    • ถุงมือยาง ขยายตัว 220.3 %YoY ขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน)
    • เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 33.9%YoY ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์)
    • เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ขยายตัว 18.3%YoY ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี จีน และเบลเยียม)
    • เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ขยายตัว 15.5%YoY ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีนมาเลเซีย ออสเตรเลีย และบราซิล)
    • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ กลับมาขยายตัว 15.1%YoY ในรอบ 1 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น)
    • เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัว 13.2%YoY ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และออสเตรเลีย)
    • เคมีภัณฑ์ กลับมาขยายตัว 12.2%YoY ในรอบ 1 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้)
    • เม็ดพลาสติก กลับมาขยายตัว 8.6%YoY ในรอบ 1 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย)
    • แผงวงจรไฟฟ้า กลับมาขยายตัว 7.3%YoY ในรอบ 1 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ และเกาหลีใต้)
    • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 3.2%YoY ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และจีน)
  • สินค้าที่หดตัว ได้แก่
    • ทองคำ หดตัว- 21.7%YoY หดตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดกัมพูชา และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสิงคโปร์ ออสเตรเลีย และลาว)
    • น้ำมันสำเร็จรูป หดตัว -16.6%YoY หดตัว 10 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวแทบทุกตลาด อาทิ กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย และลาว แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม และอินโดนีเซีย)
    • อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ หดตัว -5.8%YoY หดตัว 11 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดเยอรมนี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง และออสเตรเลีย)
    • ยางยานพาหนะ กลับมาหดตัว -2.8%YoY ในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย แต่ขยายตัวได้ดี ในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม และเกาหลีใต้) ขณะที่ทั้งปี 2020 สินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -5.6%

ในรายคู่ค้า

  • ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 15.7%YoY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ และหม้อแปลงไฟฟ้าฯ เป็นต้น รวมทั้งปี 2020 ขยายตัว 9.6%
  • ตลาดจีน กลับมาขยายตัว 7.2 %YoY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ผลไม้สด แช่แข็งและแห้งฯ และยางพารา เป็นต้น รวมทั้งปี 2020 ขยายตัว 2.0%
  • ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัว 14.8%YoY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น รวมทั้งปี 2020 หดตัว -6.7%
  • ตลาดสหภาพยุโรป (15) หดตัว -2.4%YoY สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเครื่องยนต์สันดาปฯ เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และหม้อแปลงไฟฟ้าฯ เป็นต้น รวมทั้งปี 2020 หดตัว -12.7%
  • ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัว 0.8%YoY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น รวมทั้งปี 2020 หดตัว -12.2%

Outlook ปี 2021 การส่งออกไทยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2564 จะเติบโตที่ 4.0% เนื่องจากได้แรงหนุนจากการกระจายวัคซีน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ช่วยให้ประเทศคู่ค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น ประกอบกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะกลับมายึดถือตามกติกาของ WTO จะช่วยให้การแก้ปัญหาความขัดแย้งจากสงครามทางการค้ามีความเป็นรูปธรรม รวมถึงกลุ่มความตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 ก็เป็นที่คาดหมายว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าของประเทศสมาชิกรวมถึงไทย