กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  B-HY (UH) AI และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  B-HY (H75) AI

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (UH) AI และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (H75) AI

HIGHLIGHT

  • ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลกปรับตัวติดลบ ยกเว้นส่วนของตราสารหนี้กลุ่ม High Yield ที่ยังสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวก
  • ปัจจัยพื้นฐานของตราสารหนี้กลุ่ม High Yield โดยรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่งผลให้อัตราผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ US High Yield ปรับตัวไปในทิศทางที่มีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้น ด้วยผลจากการที่สหรัฐฯ กลับมาเปิดเมืองและภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการเฉกเช่นปกติ รวมถึงสภาวะทางการเงิน (Financial Condition) ที่ผ่อนคลายและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำทำให้ผู้ออกตราสารสามารถระดมเงินกู้ได้โดยง่าย
  • กองทุนฯ มีกลยุทธ์ที่จะเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ย  2.3 ปี (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตลาดที่ 3.5 ปี) ด้วยมีความผันผวนไม่สูงมากนักและมีระดับมูลค่าที่น่าลงทุน

ประเด็นสำคัญของตลาดตราสารหนี้นับตั้งแต่ช่วงต้นปี ได้แก่ การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีเปลี่ยนแปลงจากปลายปี 2563 ที่ประมาณ 0.9% มาสู่ระดับสูงกว่า 1.5% ซึ่งเป็นผลมาจากการคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation Expectation) ทั้งจากเหตุผลเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การดำเนินมาตรการกระตุ้นด้านการคลังขนาดใหญ่ และการเร่งตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลกปรับตัวติดลบ ยกเว้นส่วนของตราสารหนี้กลุ่ม High Yield ที่ยังสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกโดยเฉพาะตราสารหนี้กลุ่ม US High Yield ที่นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 28 ก.พ. อยู่ที่ 0.7% เทียบกับผลตอบแทนในปี 2563 ที่ 7.1% และส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้กลุ่ม High Yield กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Credit Yield Spread) ปรับตัวลดลงอย่างมากจากจากจุดสูงสุดในเดือน มี.ค. 2563 ที่ประมาณ 11% มาสู่ระดับประมาณ 4.3% ในปัจจุบัน

ปัจจัยพื้นฐานของตราสารหนี้กลุ่ม High Yield โดยรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่งผลให้อัตราผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ US High Yield ปรับตัวไปในทิศทางที่มีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้น โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 6.1% ด้วยผลจากการที่สหรัฐฯกลับมาเปิดเมืองและภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการเฉกเช่นปกติ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงสภาวะทางการเงิน (Financial Condition) ที่ผ่อนคลายและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำทำให้ผู้ออกตราสารสามารถระดมเงินกู้ได้โดยง่าย ซึ่งเป็นผลจากสภาพคล่องในระบบและการผ่อนคลายทางด้านนโยบายจากทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)

กองทุนหลัก AXA WORLD FUNDS-US High yield bonds มีมุมมองในอนาคตว่า แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ FED และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ตราสารหนี้ US High Yield ยังคงมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุน ทั้งในเรื่องของรายได้ที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอและระดับอัตราดอกเบี้ยจ่ายของตราสารที่อยู่ในรับค่อนข้างสูง ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของผู้ออกตราสารมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยกองทุนฯ มีกลยุทธ์ที่จะเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ย  2.3 ปี (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตลาดที่ 3.5 ปี) ด้วยมีความผันผวนไม่สูงมากนักและมีระดับมูลค่าที่น่าลงทุน

ทั้งนี้ กองทุนฯ ยังคงเน้นการวิเคราะห์และคัดเลือกตราสารหนี้ของบริษัทที่มีฐานะการเงินและระดับเงินสดที่แข็งแกร่ง มีช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย รวมถึงให้อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุนฯอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-HY (UH) AI  ณ 25 ก.พ. 2564

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-HY (H75) AI ณ 25 ก.พ. 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต