BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2564

BF Economic Research

สรุปความ

นักลงทุนอาจมองข้ามเครื่องชี้เศรษฐกิจไปได้เล็กน้อยในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจวิ่งไปตามการฉีดวัคซีนทั่วโลก เครื่องชี้ปรับตัวดีขึ้น เริ่มเห็นการเปิดเมือง ซึ่งมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่นเริ่มเปิดโอลิมปิก มีการวิ่งคบเพลิงภายในประเทศ ขณะที่สหรัฐน มีการปรับเป้าหมายการฉีดวัคซีนจาก 100 ล้านราย เป็น 200 ล้านราย ถือเป็นข่าวดีต่อเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ นักลงทุนอาจรู้สึกมีความกังวลใจ เพราะในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ Unfortunate events ภาษาไทยเรียกว่า เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรือขวางคลองสุเอซ มีสถานการณ์ขาดแคลนชิป ตู้คอนเทนเนอร์ก็ยังขาดแคลนอยู่ ยังไม่รวมถึงภาวะความคุกรุ่นทางการเมือง ที่ประเทศจีนไปลงนามในสัญญาความร่วมมือกับอิหร่าน เป็นสัญญาถึง 25 ปี

ภาวะเช่นนี้ เป็นภาวะที่ค่อนข้างทำให้เกิดการกระทบต่อตลาด ซึ่งนักลงทุนอาจตั้งคำถามว่าเรื่องนี้จะกระทบนานหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อจังหวะต่อตลาดในระยะยาวหรือไม่

เราได้ไปติดตามเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดก่อนหน้าเหตุการณ์ที่พบเจอในเร็วๆ นี้ คือก่อนโควิด-19 ในปี 2018 ถึงแม้จะมีความคุกรุ่นของเหตุการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่ปรากฎว่าทั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯ และจีน สามารถให้ผลตอบแทน double digit หรือเลขสองหลัก คือหลักหน่วยเปอร์เซ็นต์ ของสหรัฐฯ 20% จีน 40% เลยทีเดียว

ดังนั้นจึงตอบคำถามความกังวลของนักลงทุนว่า เหตุการณ์ที่เราเห็นเป็นเหตุการณ์ที่เจอแรงกระแทกระยะสั้นๆ แล้วจะใช้ระยะเวลาไม่นานเพื่อที่จะกลับมาใหม่ จะมีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเรือขวางคลองทำให้ค่าระวางเรือปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณกว่า 1 สัปดาห์ที่เหตุการณ์นั้นคลี่คลาย แล้วกลุ่มธุรกิจเหล่านั้นก็กลับขึ้นมาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แถมยังทำผลงานได้ดีอีกด้วย

ถ้านักลงทุนเห็นเหตุการณ์ประมาณนี้ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นอีก เรามองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการสะสมการลงทุน เพื่อเฉลี่ยต้นทุนต่ำ เนื่องจากเราดูเหตุการณ์ในอดีตแล้ว ไม่ได้เป็นผลมาก ที่จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวได้รับผลกระทบด้วย

ประเด็นถัดมาคือ ในสัปดาห์ก่อนวันสงกรานต์จะมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกประจำไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งทางผู้อำนวยการใหญ่ของ IMF ออกมาสื่อความกับนักข่าวว่า ครั้งนี้จะเป็นการปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า น่าจะเป็นการปรับในอัตราสูงสุดในรอบหลายปี

ทุกครั้งที่ IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น ประเทศที่ได้รับอานิสงส์ ก็จะให้ผลบวกต่อตลาดหุ้นประเทศนั้นไปด้วย ในรอบที่แล้วที่ IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจอินเดียในปีนี้ขึ้นเป็น 10% ตลาดหุ้นอินเดียตอบรับค่อนข้างดี ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เราคิดว่าการปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นในครั้งนี้ มีประเทศที่เราให้ความสนใจในขณะนี้คือ สหรัฐฯ แน่นอน ดังนั้นเรามองว่าถือเป็นอารมณ์ต่อการลงทุนที่ดีในระยะข้างหน้า

ประเด็นสุดท้าย สำหรับนักลงทุนที่ยังลงทุนในตลาดหุ้นไทย อาจจะอยากทราบว่าเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรบ้าง มีกราฟที่สะท้อนว่า เศรษฐกิจยืนค่อนข้างต่ำไปถึง sideway เพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก

นักลงทุนอาจมองว่า ถ้าหุ้นไทยยังวิ่งอยู่ประมาณนี้ลงทุนอยู่ในหุ้นไทยจะดีหรือ ก็ต้องบอกว่า เศรษฐกิจที่สามารถยืนอยู่ได้ แล้วมีปัจจัยที่เราจับตามองว่า รัฐบาลกำลังเร่งปลดล็อคปัจจัยนั้น นั่นก็คือ การเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย ซึ่งจีดีพีไทย 10% เป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ถ้าทางการสามารถเปิดให้เร็วขึ้นกว่านี้อยู่ ก็มองว่าเป็นจังหวะที่ดี ที่จะเห็น upside ต่อการลงทุนที่ดีในระยะข้างหน้าได้

ดังนั้น ขอย้ำว่า การที่เห็นเศรษฐกิจค่อนข้างป้อแป้แล้วยืนระยะ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดีต่อตลาดหุ้น ตราบใดก็ตามมี Positive surprise ที่เรามองอยู่ แล้วถ้ามันสามารถเป็นไปได้เช่นนั้นจริงๆ จะถือเป็นแรงบวกให้ตลาดหุ้นไทยมากทีเดียว

เหล่านี้คือ 3 ประเด็นที่อยากฝากไว้สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจเดือน มี.ค.