เอเชียมีต้นทุนกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปสู่การขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

เอเชียมีต้นทุนกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปสู่การขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

CNBC รายงานว่า ING ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ ออกรายงานว่า ประเทศในเอเชียที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องใช้จ่ายกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในภาคการขนส่ง

จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีสัดส่วน 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก และคิดเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก

ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างมีเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ส่วนจีนตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2060 โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ หมายถึงการจำกัดก๊าซเรือนกระจกที่ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ผลิตออกมา

Robert Carnell หัวหน้าฝ่ายวิจัย เอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้เขียนรายงานฉบับนี้ของ ING กล่าวว่า ต้นทุน 12.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเท่ากับ มากกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน โดยจะครอบคลุมกำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศต่างๆ ที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รถรางไฟฟ้า รถบรรทุกที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน เครื่องบินที่ใช้พลังงานยั่งยืน และเรือที่เผาไม้ด้วยแอมโมเนีย

อย่างไรก็ตามตัวเลข 12.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่นับรวมการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทดแทนสิ่งที่มีอยู่เดิม ทั้งรถยนต์ที่มีอยู่ การติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือแหล่งจัดเก็บพลังงานใหม่ในอุตสาหกรรม

รายงานของ ING ระบุว่า มากกว่า 30% ของการบริโภคพลังงานมาจากระบบการขนส่งของ 3 ประเทศในเอเชีย ดังนั้นจึงต้องเร่งดำเนินการและปรับใช้ทางเลือกที่ยั่งยืนเพื่อให้แน่ใจว่าจะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

หากกระบวนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เริ่มต้นวันนี้ และขยายวงกว้างออกไปใน 30-40 ปีข้างหน้า ก็จะจัดการต้นทุนในการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในภาคการขนส่งได้