BBLAM Weekly Investment Insights 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2022

Investment Strategy

นักลงทุนที่ยังต้องการเลือกตราสารหนี้เป็นการลงทุนหลัก หรือไม่ได้อยากลงทุนในหุ้น สิ่งที่ต้องเผชิญต่อไปคือ ผลตอบแทนที่ไม่ได้สูงมาก การทำความรู้จักลงทุนตราสารหนี้ประเภท High Yield Bond ตราสารหนี้ที่มาพร้อมผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ตราสารหนี้ High Yield Bond ก็เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนเพื่อรับมือช่วง Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ แม้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป แต่หากกระจายการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนใน High Yield Bond จำนวนมากก็ช่วยลดความเสี่ยงลงได้มาก

ถ้าพูดถึงตราสารหนี้ ก็จัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่โอกาสให้ผลตอบแทนก็ต่ำเช่นกัน แต่มีตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติแตกต่างไป คือ High Yield Bond ซึ่ง คุณมทินา วัชรวราทร ,CFA® Head of Investment Strategy ของ BBLAM จะชวนทุกคนมาทำความรู้จัก High Yield Bond ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่มาพร้อมผลตอบแทนที่น่าสนใจ

คุณมทินา อธิบายว่า High Yield Bond คือ ตราสารหนี้อีกประเภทที่สามารถจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย หรือที่เรียกว่า coupon ในอัตราที่สูงกว่าตราสารหนี้ประเภทอื่น เพื่อจูงใจนักลงทุน เพราะว่าบริษัทที่ออกตราสารหนี้ประเภทนี้ อาจมีสถานะการเงินไม่ได้แข็งแรงมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่ก่อตั้งมานานแล้ว แต่ก็เป็นบริษัทที่นักลงทุนรู้จักกันดี เช่น T-Mobile US, Ford Motor Company, Uber และ Bath & Body Works เป็นต้น

ในด้านความเสี่ยง ถ้าเทียบกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ จะพบว่า High Yield Bond มีความเสี่ยงสูงกว่า แต่ก็ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่นกัน โดยในปีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ขึ้นดอกเบี้ย การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อาจทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนติดลบได้ ขณะที่ High Yield Bond เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่อยากถือตราสารหนี้ เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการขาดทุนมากๆ จากการถือตราสารหนี้ระยะยาว

ทั้งนี้ หากพิจารณาเรื่อง Credit Rating หรือการอันดับความน่าเชื่อถือ จะพบว่า High Yield Bond ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับต่ำกว่า Investment Grade หรือระดับที่ลงทุนได้ แต่ที่จริงแล้ว บริษัทที่เสนอขาย High Yield Bond ก็ยังเป็นบริษัทที่ดี สามารถลงทุนได้อยู่ หากเราใช้มาตรฐานของสหรัฐฯ ในการดูบริษัท ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานค่อนข้างสูง เพราะในประเทศนั้นมีบริษัทคุณภาพสูงมากที่สุดในโลก

คุณมทินา ให้ข้อมูลต่อว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มีทั้งแบบที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศ (Local rating) และการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยบริษัทนานาชาติ (International Rating) เมื่อเป็นเช่นนี้ หากนักลงทุนจะนำ High Yield Bond ของบริษัทในสหรัฐฯ มาเทียบกับบริษัทไทย อาจเทียบกันลำบาก และเกิดความสับสนได้ ถ้าเราเห็นว่าบริษัทไทยถูกจัดอันดับในประเทศเป็น Investment Grade แต่เวลาไปจัดอันดับในระดับนานาชาติ อาจถูกลดอันดับลงมาได้บ้าง เพราะหลักเกณท์พิจารณาแตกต่างกัน มาตรฐานระดับนานาชาติก็จะสูงขึ้น เหมือนการประกวดสาวงามบนเวทีในประเทศ เวลาที่เราแข่งกันเอง เราจะรู้สึกว่าเราค่อนข้างสวย แต่พอไปเวทีระดับโลก ก็จะมีอีกมาตรฐานหนึ่งที่สูงขึ้นไป

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ เวลาที่บริษัทไทยไปเสนอขายตราสารหนี้ที่ต่างประเทศ ต้องออกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ฉะนั้น เวลาบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือพิจารณาว่าบริษัทนี้มีความสามารถจ่ายหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐได้หรือไม่ ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้จะถูกลดอันดับลงมา ดังนั้นเราไม่สามารถเทียบบริษัทไทยกับบริษัทที่สหรัฐฯ ได้ เวลาที่เราซื้อตราสารหนี้แล้วดูอันดับความน่าเชื่อถือ เพราะหลักเกณฑ์การจัดอันดับต่างกัน

คุณมทินา แบ่งปันเคล็ดลับดีๆ ว่า เวลาจะลงทุนใน High Yield Bond สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ คุณภาพของบริษัท คือ กำไร เงินสด ความสามารถในการชำระหนี้ เพราะการซื้อตราสารหนี้ก็เหมือนให้บริษัทยืมเงินไปทำธุรกิจ ถ้าบริษัทเหล่านี้ ยังมีกำไรสม่ำเสมอ เราก็ยังให้ยืมเงินต่อ และเก็บดอกเก็บผลได้ โดยจากสถิติพบว่า หลังเกิดโควิด ในปี 2021 บริษัทในสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดี เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ปี 1990 คนออกมาจับจ่ายใช้สอย ทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทสหรัฐฯ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติ โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้คือ 0.5% เท่านั้น แปลว่า สมมติมี High Yield Bond ทั้งหมด 100 บริษัท มีไม่ถึง 1 บริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้ 

ถ้าพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท ก็ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2021โดยถ้าเราดูจาก EBITDA/ Interest Expense คือ กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทมีเพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยหรือไม่ ก็ปรากฏว่าอยู่ในเกณท์ที่ดี ดังนั้นถ้าดูคุณภาพบริษัท ความสามารถในการชำระหนี้ ก็ถือว่าอยู่ในเกณท์ที่ดี ตามเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอยู่

ประเด็นต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ Valuation คือดูว่าแพงไปหรือยัง ซึ่งปกติเวลาซื้อตราสารหนี้ เราจะพิจารณาจาก spread คือ ค่าความต่างระหว่างผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเท่ากัน ซึ่งเวลาที่เราดู High Yield bond จะใช้ spread to worst คือความต่างระหว่าง ผลตอบแทนของ High Yield Bond กับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล

หากพิจารณาจาก spread to worst จะเห็นว่า เวลานี้ราคาแพงมากกว่าค่าเฉลี่ย ก็เหมือนหุ้นสหรัฐฯ ที่แพงกว่าค่าเฉลี่ย แปลว่า เราอาจไม่ได้ผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ จากส่วนต่างของราคา High Yield Bond แต่เราก็ยังได้ coupon ประมาณ 3.5-4% ซึ่ง BBLAM มองว่า ยังลงทุนได้ เพราะว่าเศรษฐกิจดีอยู่ ยังมีการจ่ายคืน coupon ให้นักลงทุนครบถ้วน

โดยรวมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องจับตาเวลาลงทุน High Yield Bond คือ สภาวะเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจดี ไม่มีวิกฤติ หรือแนวโน้มที่จะมีบริษัทจะล้มละลาย เราสามารถลงทุนใน High Yield Bond ได้ และจะทำให้เราได้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนใน High Yield Bond ก็เหมือนหุ้น ใช้หลักการเดียวกัน คือ don’t put all your eggs in one basket อย่าใส่ไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว ต้องกระจายความเสี่ยง หากเข้าไปซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเดียว เวลาที่บริษัทเกิดผิดนัดชำระหนี้ โอกาสได้เงินคืนก็ค่อนข้างน้อย และใช้เวลานาน ก็เป็นความเสี่ยง

ขณะที่การลงทุนผ่านกองทุนที่ไปลงทุนใน High Yield Bond ซึ่งไม่ได้ลงทุนในบริษัทใดบริษัทเดียว หรือลงทุนแบบกระจุกตัว ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยในส่วนของ BBLAM มีกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ที่กระจายลงทุนในมากกว่า 250 บริษัท ดังนั้นเวลาที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีโอกาสไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ก็จะทำให้การลงทุนครั้งนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในบริษัทเดียวหลายเท่าตัว

นอกจากนี้ข้อดีของการลงทุนผ่านกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ คือ นักลงทุนไม่ต้องไปลุ้นคัดเลือกบริษัทที่ออก High Yield Bond เอง แต่กองทุนนี้ ลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของ AXA WORLD FUNDS – US High Yield Bonds ดังนั้นก็จะมีทีมงานของ AXA ซึ่งมีประสบการณ์อย่างมากคอยคัดเลือกให้ ซึ่งถ้าดู Track record หรือประวัติการลงทุน พบว่า High Yield Bond ของบริษัทที่คัดเลือกลงทุน แทบไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ หรือ default เกิดขึ้นเลย เบื้องต้นทั้งตลาด High Yield Bond ในสหรัฐฯ มี default เกิดขึ้น 648 ครั้ง แต่ AXA เจอเพียง 5 ครั้ง แปลว่า ทีมงานแข็งแกร่งมาก สามารถวิเคราะห์บริษัทได้อย่างดี และมีการหลีกเลี่ยงการลงทุนที่อาจจะทำให้เกิด default ได้

หากนักลงทุนเข้าใจ High Yield Bond แล้ว สำหรับนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง เวลาที่จัดพอร์ต ก็สามารถใช้ High Yield Bond เป็นสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่มีไว้ในพอร์ต เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้านที่ลงทุนได้ โดย BBLAM มีกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ ให้เลือก 2 กองทุนด้วยกัน คือ

อ่าน BBLAM Weekly Investment Insights 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2022 ฉบับเต็มได้ที่

https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/28-2-2022