ส่องโอกาสลงทุนเอาชนะเงินเฟ้อด้วย B-GLOB-INFRA

ส่องโอกาสลงทุนเอาชนะเงินเฟ้อด้วย B-GLOB-INFRA

สรุปความ

โดย…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์, AFPTTM

ขณะนี้หลายประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ผู้คนเริ่มกลับมามีความมั่นใจใช้จ่ายกันมากขึ้น และถ้าเรากลับมาดูที่โลกของการลงทุน การที่เงินเฟ้อ ก็หมายความว่า จำนวนเงินในมือที่มีอยู่เท่าเดิม กำลังมีมูลค่าลดลงไป แล้วเราจะไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนดี ถึงจะมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินเฟ้อได้

ศิวกร มิตรสันติสุข, CFA® ทีม Investment Strategy ของ BBLAM วิเคราะห์โอกาสว่า ปัจจุบัน เราจะเจอ อยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

  1. เงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ราคาต้นทุนสินค้าแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น
  2. ความไม่แน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะ ที่เกิดขึ้นในยูเครน
  3. ความกังวลที่วัฏจักรของเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่จุดสูงสุด

เรื่องเหล่านี้ ส่งผลให้ ทั้งแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ หรือนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง มีความไม่แน่นอนมากขึ้น

คำถามก็กลับมาที่ว่า พอจะมีสินทรัพย์ ใดบ้างที่อาจจะเป็นหลุมหลบภัย สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน?

ด้วยเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ มองว่า ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน หรือเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน มีความน่าสนใจ โดยสินทรัพย์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า ถนน ทางด่วน ท่าเรือ สนามบิน เป็นต้น

อย่างที่กล่าวไว้ว่า เราอยู่ในช่วงที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนต่างๆ ปรับขึ้น เช่นค่าแรง หรือต้นทุนพลังงาน ดังนั้น หากบริษัทใดไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ ผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ จะถูกกระทบอย่างแน่นอน แต่สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทางด่วน หลายๆ บริษัท มีสัญญาที่จะสามารถปรับขึ้นค่าบริการให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อได้ ทำให้อัตรากำไรไม่ถูกกระทบ ประเด็นนี้เป็นจุดที่น่าสนใจข้อแรกของโครงสร้างพื้นฐาน

สิ่งที่น่าสนใจต่อมา คือ มีความสม่ำเสมอของกำไร โดยบริษัทโครงสร้างพื้นฐานส่วนมาก จะมีสัญญาระยะยาว และ บางโครงการ ไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน ทำให้บริษัทเหล่านี้มีกำไรที่ผันผวนต่ำ และสามารถทนต่อทุกสภาวะเศรษฐกิจได้

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อดีอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมักจะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อย มีสัญญาระยะยาว ทำให้บริษัทสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เต็มที่

และสุดท้าย คือ แม้หลายท่านอาจคิดว่าธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานอาจไม่เติบโตแล้ว แต่จริงๆ แล้ว สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

สำหรับแนวโน้มการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต มี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ

  1. การลงทุนเพิ่มในโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น การมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Carbon Emission  โดยจากนี้ไปจนถึงช่วงปี 2040 เราอาจเห็นเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานกว่า 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อบริษัทโครงสร้างพื้นฐานที่ทำธุรกิจ เช่น ผลิตไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา เข้าสู่การเป็นสังคมเมืองมากขึ้น โดยจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะคิดเป็น 60% ของประชากรทั้งหมด ภายในปี 2030 เพิ่มขึ้นจาก 55% ในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต
  2. การที่โลกเราเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้น เช่น เราเริ่มเดินทางมากขึ้น ใช้รถยนต์ ใช้ทางด่วนมากขึ้น รวมถึงในอนาคต เราจะกลับมาท่องเที่ยวต่างประเทศอีกครั้ง ซึ่งประเด็นนี้ จะทำให้ผลประกอบการของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

เมื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการต่อสู้กับเงินเฟ้อในยุคนี้ พร้อมกับโอกาสการรับผลตอบแทนที่ดีระยะยาวๆ ล่าสุด BBLAM จึงเตรียมเสนอขาย IPO กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ หรือ B-GLOB-INFRA ระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคม 2565

กองทุนนี้เป็น Feeder Fund ที่จะไปลงทุนผ่านกองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund เพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนนี้ลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

คุณศิวกร อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ BBLAM เลือก กองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund เป็นกองทุนหลักว่า Clearbridge เป็นบริษัทในกลุ่ม ของ Franklin Templeton ซึ่งเชี่ยวชาญการลงทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก

สาเหตุที่ BBLAM เลือกกองทุน  Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund เนื่องจาก

  1. กองทุนนี้สามารถตอบโจทย์ เรื่องความกังวลทางด้านเงินเฟ้อได้ โดยการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน 
  2. ทีมบริหารกองทุนของ Clearbridge เป็นหนึ่งในทีมงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในเชิงการลงทุนในสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งทีมของ Clearbridge มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมยาวนานกว่า 15 ปี ถึงเกือบ 30 ปี
  3. เป็นกองทุนที่เน้นการบริหารแบบ Absolute return โดยกองทุนจะพยายามเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้ ซึ่งกองทุนนี้ใช้ตัวชี้วัดหรือ Bechmark เป็นตัวเลขเงินเฟ้อในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นฐาน แตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ที่จะใช้ ดัชนีหุ้นเป็นตัวชี้วัด
  4. ผลตอบแทนย้อนหลัง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งผลตอบแทนย้อนหลังและผลตอบแทนต่อความเสี่ยง ก็อยู่ในระดับต้นๆ ของกองทุนประเภทเดียวกัน

ตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลักไปลงทุน เช่น Exelon Corp เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าและให้บริการสายส่งไฟฟ้า รวมถึงให้บริการท่อส่งก๊าซในสหรัฐอเมริกา หรือ Atlas Arteria ผู้พัฒนา ก่อสร้าง และดำเนินการ เกี่ยวกับการเดินทางขนส่งอย่างครบวงจร เช่น ถนน ทางด่วน สะพาน อุโมงค์ โดยเป็นทั้งผู้ก่อสร้างและเก็บค่าธรรมเนียม ปัจจุบันมีทางด่วนรวมกว่า 2,300 กิโลเมตร ในยุโรป

คุณศิวกร กล่าวถึงนักลงทุนที่เหมาะกับการลงทุนในกองทุนลักษณะนี้ว่า กองทุนนี้ลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ประเภทหุ้นอยู่ ดังนั้นหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็ยังมีความผันผวนไปตามสภาวะของตลาดหุ้นได้ แต่ด้วยผลประกอบการที่สม่ำเสมอทำให้อาจจะมีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นโดยรวม ด้วยเหตุนี้กองทุนประเภทนี้ก็จะเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว แต่พอร์ตลงทุนในปัจจุบันอาจยังลงทุนกระจุกตัวอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ทำให้มีความผันผวนของมูลค่าพอร์ตการลงทุนได้สูง ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานนี้ ก็น่าจะช่วยให้ความผันผวนของผลตอบแทนโดยรวมในพอร์ตกองทุนหุ้นลดลงได้ และกระจายความเสี่ยงได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ B-GLOB-INFRA ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ โดยสามารถซื้อในช่วง IPO ได้ระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคม นี้ และพิเศษในช่วง IPO ลดค่าธรรมเนียมการขายเหลือ 0.75% ส่วนหลัง IPO ไปแล้วค่าธรรมเนียมการขายจะอยู่ที่ 1.50%

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดกองทุน B-GLOB-INFRA หรือติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนและคู่มือการลงทุนได้ที่ BBLAM โทร. 02-674-6488 กด 8 ดูข้อมูลได้ที่ www.bblam.co.th หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต  บมจ.หลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน  บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส  บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย)  บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร  บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย)  บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี  บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา  บจ.หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  และ บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)

นอกจากนี้ ยังสามารถลงทุนได้ง่ายด้วยตนเองผ่าน Mobile Banking application จาก ธนาคารกรุงเทพ หรือง่ายไปอีกขั้นมีบัญชีธนาคารไหนก็ลงทุนได้ผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM หรือผ่านตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง

คำเตือน การลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้