กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

Highlight

  • ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอินโดนีเซีย เพราะส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่ง และราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จึงมีแนวโน้มที่ดีในปีนี้
  • ผู้จัดการกองทุนหลักมีมุมมองต่อเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียว่าไม่น่ากังวล เนื่องจากเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการฟื้นตัวจากโควิด-19 อัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดัชนี MSCI Asia ex Japan มี P/E (ปี 2022) อยู่ที่ 13.6 เท่า และ P/B 1.6 เท่า แม้ว่าตลาดจะยังคงมีความผันผวน แต่ผู้จัดการกองทุนยังเห็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น และมีโอกาสเติบโตในระยะยาวต่อไป

ในด้านตลาดหุ้นของแต่ละประเทศในเอเชีย ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอินโดนีเซีย เพราะส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่ง และราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จึงมีแนวโน้มที่ดีในปีนี้ ในขณะที่ไต้หวันซึ่งตลาดปรับเพิ่มขึ้นมามากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อมองไปข้างหน้าอัตราการเติบโตอาจจะชะลอตัวลง แม้ว่าจะมีมุมมองบวกต่อบริษัทในไต้หวัน เช่น TSMC แต่จากอัตราการเติบโตที่อาจจะชะลอตัว ผู้จัดการกองทุนจึงขายทำกำไรและลดน้ำหนักในตลาดหุ้นไต้หวัน

ตลาดหุ้นอินเดีย ยังคงมีแรงกดดันจากโควิด และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียแล้ว ถือว่า Valuation สูงกว่าประเทศอื่น ผู้จัดการกองทุนจึงลดน้ำหนักและมีความระมัดระวังในการลงทุน และจากสถานการณ์ยูเครนกับรัสเชียทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ราคาสูงขึ้น ส่งผลเชิงลบกับอินเดีย ซึ่งมีการนำเข้าน้ำมันสูง

สำหรับตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง จากที่เคย Underweight ในสัดส่วนที่สูง  กองทุนเพิ่มน้ำหนักตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนปัจจุบันน้ำหนักเกือบจะใกล้เคียงกับ Benchmark แล้ว โดยหุ้นที่เพิ่มน้ำหนักจะอยู่ในกลุ่มอินเทอร์เน็ต เพราะมองว่าความเสี่ยงต่างๆ ผ่านไปแล้ว มี Valuation ต่ำ และกลุ่มที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ได้ลงทุนในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรงเพราะอยู่ภายใต้การควบคุมไม่ให้ร้อนแรงเกินไปจากภาครัฐ แต่จะลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัททำ Air Conditioner หรือ บริษัทเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ผู้จัดการกองทุนเน้นลงทุนในบริษัที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าของกิจการ ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนเป็นสไตล์เน้นหุ้นคุณค่า (Value) ซึ่งจะสามารถทำผลการดำเนินงานได้ดีหากเศรษฐกิจกลับตัวดีขึ้น

มุมมองในอนาคต

ผู้จัดการกองทุนหลักมีมุมมองต่อเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียว่าไม่น่ากังวล เนื่องจากเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการฟื้นตัวจากโควิด-19 อัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดัชนี MSCI Asia ex Japan มี P/E (ปี 2022) อยู่ที่ 13.6 เท่า และ P/B 1.6 เท่า แม้ว่าตลาดจะยังคงมีความผันผวน แต่ผู้จัดการกองทุนยังเห็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น และมีโอกาสเติบโตในระยะยาวต่อไป

 

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต