กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (UH) AI กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (H75) AI

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (UH) AI กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (H75) AI

Highlight

  • พอร์ต ณ สิ้นมกราคม มี yield to worst ที่ 5.51% (ไม่รวมเงินสด) ซึ่งสูงกว่า Benchmark ที่ 5.31% กองทุนมีกลยุทธ์ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ยของพอร์ต (Duration) 3.7 ปี ต่ำกว่า Benchmark ที่ 4.4 ปี
  • BBLAM มองว่า yield to worst ที่ระดับประมาณ 5% นับว่าน่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการได้รับกระแสเงินสดจากการลงทุน และ ระดับมูลค่าปัจจุบัน เริ่มกลับเข้ามาสู่ค่าเฉลี่ยในอดีต

ภาพรวมตลาด

US High Yield เผชิญกับแรงขายค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้อื่นๆ ทว่าการปรับลดลงของราคา US High Yield ถือว่าลดลงน้อยเทียบกับตราสารหนี้อื่น ๆ ในตลาดพัฒนาแล้ว

US High Yield ได้รับผลกระทบจากการการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในระดับจำกัด ด้วยอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูงกว่าตราสารหนี้ชนิดอื่นๆ ขณะที่ ปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

พอร์ตการลงทุน 

พอร์ต ณ สิ้นมกราคม มี yield to worst ที่ 5.51% (ไม่รวมเงินสด) ซึ่งสูงกว่า Benchmark ของกองทุนหลัก  (ICE BofA US High Yield) ที่ 5.31% กองทุนมีกลยุทธ์ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ยของพอร์ต (Duration) 3.7 ปี ต่ำกว่า Benchmark ที่ 4.4 ปี ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้กองทุนหลักมีผลตอบแทนมากกว่า Benchmark และในการเลือกบริษัทที่ลงทุนก็เป็นส่วนสนับสนุนในกองทุนมีผลตอบแทนมากกว่า Benchmark ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในกลุ่มเฮลธ์แคร์ ค้าปลีก และพลังงาน ทั้งนี้กองทุนให้น้ำหนักในกลุ่มสินค้าทุน และกลุ่มบริการ มากกว่า Benchmark ซึ่งส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงานของกองทุน

ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงกลยุทธ์ Duration ต่ำกว่า Benchmark อีกระยะหนึ่ง และคัดเลือกบริษัทที่มีคุณภาพและมีโอกาสเติบโตได้อีก  และอาจพิจารณาเพิ่ม Duration ให้ใกล้เคียงกับ Benchmark เมื่อเห็นจังหวะที่เหมาะสมต่อไป

ประเด็นความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปนั้น กองทุนหลักลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 89%) และมีการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก เช่น แคนนาดา (3.5%) สหราชอาณาจักร (1.5%)  ยุโรป (3.7%) และออสเตรเลีย (0.3%) เป็นต้น และมีการถือครองเงินสดประมาณ 1.8% กองทุนหลักไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้รัสเซียและยูเครน

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งผลกระทบทางตรงที่อาจส่งผลต่อตราสารหนี้ในยุโรป และผลกระทบทางอ้อมที่จะส่งผลต่อตราสารหนี้ที่จดทะเบียนนอกยุโรป เช่น ตราสารหนี้สหรัฐฯ แต่มีการดำเนินธุรกิจในยุโรปด้วย คิดเป็นความเสี่ยงของตราสารหนี้ที่ลงทุนทั้งหมด (Country of Risk) ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากประเทศยุโรป ประมาณ 4.6% ของ nav และอังกฤษ 3.4% ของ nav

มุมมองในอนาคต

BBLAM มองว่า yield to worst ที่ระดับประมาณ 5% นับว่าน่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการได้รับกระแสเงินสดจากการลงทุน และ ระดับมูลค่าปัจจุบัน เริ่มกลับเข้ามาสู่ค่าเฉลี่ยในอดีต

 

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง  ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต