กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการออม (B-USALPHASSF) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-USALPHARMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการออม (B-USALPHASSF) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-USALPHARMF)

Highlight

  • ผู้จัดการกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นที่เห็นโอกาสเติบโตในระยะยาว เช่น หุ้นกลุ่มการเงินที่มีเครือข่ายแข็งแกร่ง ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง หุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างยั่งยืน หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากนวัตกรรม และมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ และหุ้นด้านการบริโภคที่ได้เปรียบคู่แข่ง มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง

ภาพรวมตลาด

ตลาดหุ้นผันผวนด้วยปัจจัยหลายประการ โดยเริ่มต้นปีด้วยแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ และการส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งได้มีการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเด็นความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีหลายประเทศเกี่ยวข้อง รวมทั้งสหรัฐฯ ก็เป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นทั่วโลก โดยถ้านับตั้งแต่ต้นปี ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง -8% และ ดัชนี Nasdaq ปรับตัวลงลง -12% (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2022)

พอร์ตการลงทุน

หุ้นกลุ่มที่ส่งผลเชิงบวกคือกลุ่มการเงิน ซึ่งกองทุนได้ให้น้ำหนักมากกว่าดัชนีมาตรฐานอยู่ประมาณ 8% โดยหุ้นที่กองทุนหลักมีมุมมองเชิงบวก เช่น Blackstone Group (กองทุนมีสัดส่วน 3.4%) สถาบันการเงินที่มีจุดเด่นด้าน private equity  ผลการดำเนินงานออกมาดีกว่าที่กว่าที่คาดการณ์ และมีการขยายตัวของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร คาดว่าจะโตได้ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022 นี้

นอกจากนี้ Deere (กองทุนมีสัดส่วน 3.1%) ได้เปิดตัวรถแทรกเตอร์อัตโนมัติเต็มรูปแบบทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น เพราะตลาดให้การตอบรับเป็นอย่างดี และเห็นว่าจะเป็นการเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมด้านรถแทรกเตอร์

ในขณะที่ หุ้นที่ส่งผลเชิงลบจะอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเงินเฟ้อที่สูง เช่น Advanced Micro Devices, Align Technology รวมถึงการไม่มีสัดส่วนใน Master Card และ Visa ก็ส่งผลเชิงลบกับพอร์ตการลงทุนเช่นกัน

กองทุนหลักยังคงมีมุมมองเชิงบวกกับกลุ่มการเงินมากที่สุด ตามด้วยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่กองทุนมีน้ำหนักในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยี และ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าดัชนีมาตรฐาน

มุมมองในอนาคต

ผู้จัดการกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นที่เห็นโอกาสเติบโตในระยะยาว เช่น หุ้นกลุ่มการเงินที่มีเครือข่ายแข็งแกร่ง ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง หุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างยั่งยืน หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากนวัตกรรม และมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ และหุ้นด้านการบริโภคที่ได้เปรียบคู่แข่ง มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง

 

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต