อยากลดหย่อนภาษีแค่ปีเดียวต้องทำยังไง

อยากลดหย่อนภาษีแค่ปีเดียวต้องทำยังไง

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP®

หมดไปกับ 1 ไตรมาส สำหรับใครที่อยากลดหย่อนภาษีปี 2565 แต่ไม่รู้จะเอายังไงกับชีวิตดี จะลงทุนต่อเนื่องก็ยังไม่รู้อนาคต มีแต่ความไม่แน่นอน แต่ที่แน่ๆ ปีนี้มีรายได้ อยากลงทุนให้เงินงอกเงย แถมประหยัดภาษีได้ด้วย มีวิธีง่ายๆ แนะนำค่ะ

สำหรับการลงทุนและลดหย่อนภาษีได้ด้วย ปัจจุบันก็จะมี 2 แบบ คือ แบบแรกลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยก็ปีเว้นปี โดยต้องลงทุน 5 ปีขึ้นไป และขายคืนได้ตอนอายุ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว

ส่วนอีกแบบคือกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ที่ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าต้องลงทุนทุกปี แต่มีเงื่อนไขว่าแต่ละครั้งที่ลงทุน ต้องลงทุนได้อย่างน้อย 10 ปี เวลาขายคืนก็จะนับเป็นรายก้อนไป ซึ่งถ้าดูแล้วรายได้ไม่แน่นอนเท่าไหร่ การลงทุนใน SSF ก็จะเหมาะมากกว่า

โดยส่วนตัวมองว่ากองทุนรวมเพื่อการออมหรือ SSF นั้น เหมาะกับคนที่มีเป้าหมายใช้เงินในอนาคต 10 ปีขึ้นไป ไม่ใช่รีบร้อนต้องการใช้เงินในช่วงเร็วๆ นี้ หรือแค่ภายใน 2-3 ปี ถ้าใครเป็นแบบนี้ บอกได้เลยว่าต้องใช้วิธีการบริจาค จึงจะหักลดหย่อนได้ ซึ่งก็ไม่ใช่การลงทุนที่จะช่วยให้เงินงอกเงยขึ้นมา

ดังนั้น หากต้องการลงทุน แต่ไม่สามารถลงทุนต่อเนื่อง ก็ต้องอดใจรอคอยการขายคืนได้อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป หากสามารถทำได้ก็สามารถลงทุนในกองทุนรวม SSF ได้ ซึ่งมีหลากหลายนโยบายให้เลือก ซึ่งใครที่อยากได้เงินปันผลระหว่างการลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวม SSF ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

อย่างเช่น B-USALPHASSF ลงทุนในกองทุน B-USALPHA ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโต ของบริษัทที่จัดตั้งหรือทำธุรกิจหลักในสหรัฐอเมริกา

B-CHINESSF ที่ลงทุนในกองทุน B-CHINE-EQ ซึ่งลงทุนในหุ้นบริษัทจีนทั่วโลก

B-FUTURESSF ลงทุนในกองทุน B-FUTURE เน้นลงทุนในต่างประเทศในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการบริโภคของคนจีน

BM70SSF ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาด mai ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 65% แต่จะไม่เกิน 70% ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้

สำหรับใครที่เลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลนั้น อย่าลืมว่าเมื่อได้รับเงินปันผล ต้องเสียภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่าย 10% ด้วย

ส่วนใครที่อยากขายคืนเมื่อครบกำหนดแบบได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แน่นอนว่าต้องเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล อย่างเช่น B-INCOMESSF ซึ่งเป็นกองทุนรวมผสม ลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุน B-INCOME ซึ่งมีนโยบายกระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และหน่วยลงทุน

BEQSSF ลงทุนในหุ้นไทยทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาด mai ไม่น้อยกว่า 80%

B-GTOSSF ที่ลงทุในกองทุน B-GTO เน้นลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆ ในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

B-SIPSSF ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน B-SIP ซึ่งเน้นลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมี B-INNOTECHSSF ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน B-INNOTECH เน้นลงทุนหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถทำกำไรที่ดี

และ B-ASIASSF ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน B-ASIA ซึ่งเน้นลงทุนหุ้นเอเชีย ภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีศักยภาพเติบโตสูง

แค่เป้าหมายระยะยาวเป้าหมายเดียวก็มีหลากหลายนโยบายให้เลือกขนาดนี้ ซึ่งเราสามารถเลือกกำหนดสัดส่วนการลงทุนของแต่ละกองทุนได้ตามที่ชอบ แต่อย่าเกินจำนวนที่สามารถใช้สิทธิลงทุนได้ ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวม SSF สามารถลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท

รู้อย่างนี้แล้ว วางแผน กำหนดสัดส่วนการลงทุน และเริ่มลงทุนกันค่ะ