สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้ไวรัส 4,000 สายพันธุ์แพร่ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070

สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้ไวรัส 4,000 สายพันธุ์แพร่ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแพร่กระจายไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070

จากข้อมูลผลศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ออกมา พบว่า ปัญหาโลกร้อนจะเป็นตัวผลักดันที่ทำให้มีไวรัสกว่า 4,000 สายพันธุ์ แพร่ระบาดระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์ด้วย ภายในปี 2070 นี้

ปัญหาโลกร้อนจะทำให้สัตว์ต่างๆ อพยพจากพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนขึ้น และบังคับให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน ส่งผลให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นตามมา

ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ก็มีสาเหตุหนึ่งมาจากแนวโน้มว่าจะเกิดจากการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมาจากค้างคาวเกือกม้าในเอเชียสู่มนุษย์

อย่างไรก็ตาม Greg Albery นักวิจัยที่ Wissenschaftskolleg zu Berlin ซึ่งเป็นผู้ร่วมการศึกษาครั้งนี้ ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ที่เกิดจากไวรัสข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันนั้น ไม่ได้หมายความว่า จะมีการระบาดใหญ่แบบโควิด-19 อีก 4,000 ครั้ง เพียงแต่มีโอกาสที่จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์และอาจจะส่งผลมาถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นข่าวร้ายสำหรับสุขภาพของระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบนี้

ทั้งนี้ ค้างคาวก็เป็นสัตว์ที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส เพราะพวกมันบิน โดยพบว่า 90% ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นคร้้งแรก ส่วนใหญ่จะพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : CNBC