กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight

  • ในรายประเทศ กองทุนมีมุมมองบวกต่อเวียดนาม จึงให้น้ำหนักมากกว่า Benchmark มากที่สุด ไตรมาส 1/2022 กองทุนได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักในสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ขณะที่ลดน้ำหนักในฟิลิปปินส์ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนดุลบัญชีเดินสะพัด
  • ปี 2022 อาเซียนน่าจะมีการฟื้นตัวจากการเปิดเมือง และสัดส่วนการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการส่งออกซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของอาเซียน การรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มเห็นผลชัดเจนในไตรมาส 3 อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนไหลเข้า โดยเฉพาะไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งอาเซียน 

พอร์ตการลงทุน

ในช่วงปลายปี 2021 กองทุนมีน้ำหนักในกลุ่มธนาคารมากกว่า Benchmark ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อกองทุนในช่วงปีที่แล้ว เพราะราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนเริ่มขายทำกำไรกลุ่มธนาคารในช่วงไตรมาส 1/2022 เพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ

ด้านรายประเทศ กองทุนมีมุมมองบวกต่อเวียดนาม จึงให้น้ำหนักมากกว่า Benchmark มากที่สุด ไตรมาส 1/2022 กองทุนได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักในสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ขณะที่ลดน้ำหนักในฟิลิปปินส์ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนดุลบัญชีเดินสะพัด

มุมมองในอนาคต

  • ผลกระทบต่อการขาดแคลนสินค้า

ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลลบต่ออาเซียนโดยรวม เพราะอาเซียนมีการนำเข้าน้ำมันสุทธิ  ทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลง อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียกับมาเลเซียเป็นประเทศส่งออกน้ำมันที่จะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ส่งออกถ่านหิน น้ำมันปาล์มดิบ และ นิกเกิล ซึ่งทำให้ดุลการค้าดีขึ้น

  • ผลกระทบต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ

การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐในครั้งนี้ น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นอาเซียนไม่รุนแรงเท่ากับปี 2013 เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตลาดรับรู้ข่าวไปบ้างแล้ว อีกทั้งประเทศอาเซียนมีฐานะทางการเงินที่ดีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง สัดส่วนนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรอยู่ระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับในอดีต

ปี 2022 อาเซียนน่าจะมีการฟื้นตัวจากการเปิดเมือง และสัดส่วนการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการส่งออกซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของอาเซียน การรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มเห็นผลชัดเจนในไตรมาส 3 อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนไหลเข้า โดยเฉพาะไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งอาเซียน

สำหรับ Theme การลงทุนระยะยาว กองทุนยังคงเน้นลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคที่จะเติบโตจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นตามประชากรกลุ่มชนชั้นกลางที่มากขึ้น ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกกับตลาดอาเซียนในระยะยาวเนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูง และให้ผลตอบแทนที่ดีได้ แต่ตลาดอาจมีความผันผวนในระยะสั้นได้

 

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต