เปิดเทคนิคจัดพอร์ตลงทุนรับครึ่งหลังปี 2022 ติดอาวุธด้วย BMAPSRMF

เปิดเทคนิคจัดพอร์ตลงทุนรับครึ่งหลังปี 2022 ติดอาวุธด้วย BMAPSRMF

โดย…คุณมทินา วัชรวราทร CFA® 

Head of Investment Strategy, BBLAM

มุมมองการลงทุนในช่วงครึ่งหลังปี 2022 นี้ มีประเด็นอะไรที่นักลงทุนต้องจับตาบ้าง

การลงทุนในช่วงนี้ มีความผันผวนมาก ตลาดให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในระยะสั้น ประเด็นที่ต้องจับตามองคือ

  • เงินเฟ้อ
  • การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)  
  • เศรษฐกิจถดถอย

ทั้ง 3 ประเด็นนี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่มีผลต่อการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

เรื่องเงินเฟ้อ เราก็คิดว่า ไม่น่าจะลดลงมาได้ง่ายๆ เพราะว่าเงินเฟ้อ มาจากทั้งราคาน้ำมัน ราคาอาหาร บ้าน รถยนต์มือสอง มาจากหลายๆ ส่วนของภาคเศรษฐกิจ เรียกได้ว่า เริ่มลามไปใหญ่

ส่วนเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ก็มาพร้อมกับการทำ Quantitative Tightening (QT) ที่เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ เราจะต้องสังเกตว่า มีตลาดการเงินไหนที่เริ่มมีการตึงตัวไหม เช่น ตลาดกู้ยืมระยะสั้น (repo) ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (corporate bond) ตลาด Mortgage Back Securities (MBS) หรือตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง

สุดท้ายก็คือ เศรษฐกิจถดถอย ถ้าเกิดเศรษฐกิจถดถอยจริงๆ ตลาดอเมริกาสามารถปรับตัวลงไปได้อีก โดยค่าเฉลี่ยการปรับลดลงคือ 36% และใช้เวลาประมาณ 14 เดือน กว่าจะเจอจุดต่ำสุด ซึ่งถ้าดู ณ เวลานี้ตลาดก็ลงมาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อถามว่าครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร เราก็มองว่าตลาดจะผันผวนมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเงินเฟ้อไม่ลง และนักวิเคราะห์อาจจะเริ่มปรับมุมมองเรื่องกำไรของบริษัทจดทะเบียน สะท้อนภาพเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Howard Marks นักลงทุนเจ้าของกองทุน Oaktree Capital Management ที่บริหารเงินมากกว่า 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ กล่าวในหนังสือ Mastering The Market Cycle ว่า ตลาดมักจะแกว่งตัวจากด้านหนึ่งมาอีกด้านหนึ่งเสมอ เช่น จากด้านลบมาด้านบวก โดยตลาดมักจะประเมินราคา (price in) ข่าวร้าย มากเกินไป และเวลามีข่าวดี ตลาดก็จะ มีมุมมองเชิงบวกมากเกินไป

ในช่วงที่ตลาดขาลงนี้เอง นักลงทุนอาจจะตัดสินใจผิดพลาดโดยการพยายามจะจับจังหวะตลาด และขายตอนที่ตลาดลง ทำให้จากที่เป็น Unrealized Loss คือ การขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ก็กลายเป็น Permanent Loss หรือการขาดทุนอย่างถาวร

Howard Marks ยังบอกอีกว่า เมื่อใดที่ตลาดมองไม่เห็นข่าวดี มองเห็นแต่ข่าวร้าย ไม่มีการตีความข่าวใดๆ ออกมาทางดี ทั้งตลาดมองโลกในแง่ร้าย เขามองว่า เป็นสัญญาณการลงทุนที่ดี

ในความเห็นส่วนตัว เรามองว่า บางทีตลาดก็อาจจะซึมไปอีกสักระยะ ตลาดฝั่งจีนอาจจะฟื้นตัวก่อน ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ที่จัดพอร์ตเอง เราแนะนำให้เพิ่มเงินสด ควรจะถือเงินสดไว้มากพอสมควรแล้วตั้งแต่ต้นปี โดยที่ปีนี้อาจจะลดน้ำหนักสหรัฐฯ ลง และเพิ่มน้ำหนักจีนมากขึ้น

สำหรับการลงทุนในสหรัฐฯ ก็อาจจะเน้น sector ที่เป็นหุ้นเชิงรับ หรือ defensive เช่น healthcare อย่างกองทุน BCARE และ กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น B-GLOB-INFRA

กลยุทธ์ที่ BBLAM แนะนำ สำหรับนักลงทุนแต่ละกลุ่ม  

ถ้าไม่ถนัดจัดพอร์ตเอง ไม่เป็นไร BBLAM มีกองทุน BMAPS เป็นพอร์ตลงทุนสำเร็จรูปตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ และล่าสุดก็กำลังเสนอขาย BMAPSRMF 3 กองทุน ระหว่างวันที่ 22-28 มิถุนายน นี้  เอาใจสายประหยัดภาษี ให้ลงทุนระยะยาวด้วยพอร์ตสำเร็จรูป พร้อมลดหย่อนภาษีได้ด้วย ได้แก่

  • BMAPS25RMF รองรับกลุ่มที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงไม่เกิน 25%
  • BMAPS55RMF รองรับกลุ่มที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงไม่เกิน 55%
  • BMAPS100RMF รองรับกลุ่มที่รับความเสี่ยงได้สูง

หลักการลงทุนของ BMAPS

กองทุนนี้จะเน้นทำ Asset Allocation ลงทุนในสินทรัพย์ที่คาดว่าจะให้ผลประโยชน์ที่ดีกับนักลงทุนในระยะยาว โดยคำนึงถึงทั้งผลตอบแทนและการบริหารความเสี่ยงความผันผวนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์ลงทุนในแต่ละขณะด้วย อย่างเช่น ในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ หรือ Bond Yield ปรับตัวขึ้นมา แต่ก็ยังต่ำอยู่ และผลตอบแทนไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ ก็จะเลือกให้หุ้นเป็น Asset Class สำคัญในพอร์ต เพราะว่าให้ผลตอบแทนที่ดีล้อไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างธุรกิจ สังคม เศรษฐกิจ ที่ทำให้มีหุ้นที่ได้รับประโยชน์อยู่เสมอ ซึ่ง BMAPS ก็เลือกใช้กองทุน B-GLOBAL เป็น Core Port เปรียบเหมือนกับอาหารจานหลัก

แล้วสมมติถ้าในช่วงนั้นมีโอกาสลงทุนในเทรนด์ไหน ก็จะเพิ่มสัดส่วนกองทุนอื่นๆ มาเสริม เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสการลงทุน เป็นเหมือนอาหารว่าง เครื่องเคียง เช่น B-SIP ที่ได้ประโยชน์จาก Trend พลังงานทางเลือก และการลดปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือ Decarbonization และ B-INNOTECH ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ผู้จัดการกองทุนก็จับกองทุนเหล่านี้มาใส่ เป็นต้น

ตัวอย่างเวลาที่มีความผันผวนเกิดขึ้น ผู้จัดการกองทุน BMAPS มีแนวทางปรับพอร์ตอย่างไร

สมมติถ้าดอกเบี้ยขึ้นเร็ว สิ่งที่ผู้จัดการกองทุนทำคือ จะปรับพอร์ตตราสารหนี้ของ BMAPS25 และ BMAPS55 โดยลดสัดส่วนพอร์ตของตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ได้แก่ ตราสารหนี้ US High Yield ที่มีแนวโน้มที่จะผันผวนไปตามตลาดหุ้นและ Financial Condition ที่ตึงตัวขึ้น พร้อมกันนี้ก็ ปรับลด Duration ของพอร์ต ขายกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง มาเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นแทน เพราะมองว่า พันธบัตรรัฐบาลของไทย อาจต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าผลตอบแทนจะปรับขึ้น และนี่ก็เป็นตัวอย่างแนวทางที่ผู้จัดการกองทุน BMAPS คอยดูแลความผันผวนทางด้านหุ้นและตราสารหนี้ให้นักลงทุนอยู่

 
ลงทุนได้ง่าย ๆ ทุกที่ กับ โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ หรือ BF Fund Trading จาก BBLAM
สำหรับกองทุนประเภท RMF และ SSF ที่ลงทุนผ่านช่องทางของธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้
หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
บจ.หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ โทร. 0-2949-1999
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต