BF Knowledge Tips: BMAPS กองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุน

BF Knowledge Tips: BMAPS กองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุน

 

สรุปความสัมภาษณ์

เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP®

การลงทุนในกองทุนรวมปัจจุบัน จะแนะนำให้ลงทุนเป็นพอร์ตมากขึ้น โดยพิจารณาโดยปรับสัดส่วนให้เหมาะกับตัวเอง  โดยพอร์ตลงทุน อาจจะมี 3 แบบง่ายๆ

  1. พอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ จะลงทุนในทรัพย์สินที่ลงทุนในตราสารหนี้ หรือตราสารที่มีความเสี่ยงไม่มากนักเป็นหลัก ขณะเดียวกันกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง เช่น หุ้น หรือทองคำ ก็อาจลงทุนในสัดส่วนไม่มากนัก
  2. พอร์ตที่มีความเสี่ยงกลางก็อาจจะมีความผสมผสาน อาจลงทุนในกองที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น ประมาณครึ่งนึง และกองที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ประมาณครึ่งนึง เป็นต้น
  3. พอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากๆ อาจจะลงทุนในหุ้น 80-100% ของเงินที่ลงทุนได้

ประเด็นอยู่ที่ไส้ของพอร์ตว่าควรจะลงทุนอย่างไร สำหรับคำแนะนำคือถ้ามีสัดส่วนหุ้น หรือพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง ก็ควรพิจารณาเลือกกองทุนหุ้นหลายๆ กอง เพราะทุกวันนี้ การลงทุนมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัยที่มากระทบ หรือผันผวนมากขึ้น การลงทุนในหุ้น หรือกองทุน จึงควรกระจายการลงทุนไปในหลายๆ กอง หลายๆ แบบ หลายๆ ธีม โดยมีกองทุนที่เป็น core port หรือพอร์ตหลักไว้ 1 กอง หลังจากนั้นก็มีพอร์ตเสริม หรือเห็นธีมที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะเสี่ยงสูงหรือมีความกระจุกตัว การลงทุนเพิ่มเติมก็ต้องพิจารณาในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป

สำหรับนักลงทุนที่อยากจะจัดพอร์ตเอง ก็สามารถทำได้ โดยนำแนวความคิดนี้ไปปรับ และดูว่า พอร์ตปัจจุบันของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง    ดูว่ามีกองทุนที่เป็นกองทุนในหุ้นที่เป็น core port และมีการกระจายที่เหมาะสม ในสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน หรือกระจุกตัวอยู่ในกองทุนบางกอง หรือบางประเภทมากเกินไป แม้ว่าอาจเห็นโอกาส / อนาคตดี แต่ว่าอาจทำให้พอร์ตโดยรวมมีความเสี่ยงสูงเกินไป หรือลงเป็น sector มากเกินไป แม้เชื่อว่าอนาคตจะดี แต่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยระยะสั้น ที่ทำให้พอร์ตของเรามีความผัวผวนสูง มีปัญหาได้

แต่ถ้านักลงทุนเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพอร์ตเอง ทำได้ยาก  BBLAM ก็มีกองทุนหนึ่ง คือ BMAPS เป็นกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนคอยเลือกให้ว่าตอนนี้น่าจะลงทุนในกองทุนไหนของ BBLAM โดยนักลงทุนไม่ต้องติดตามเอง ว่าสถานการณ์ของกอง B-INNOTECH หรือ B-FINTECH ดีไหม หรือธุรกิจ Healthcare เป็นอย่างไร หรือกองจีนที่มีข่าวน่ากลัว เราต้องทำยังไงดี  ทั้งนี้ จะมีผู้จัดการกองทุนคอยทำหน้าที่พิจารณาปรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมให้เลย เพียงแค่ลงทุนผ่าน กอง BMAPS เท่านั้น

กองทุน BMAPS มี 3 กองทุนด้วยกัน นโยบายคร่าวๆ คือ

  1. BMAPS25 ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 25%
  2. BMAPS55 ที่ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 55%
  3. BMAPS100 ที่ลงทุนในหุ้นประมาณ 80-100% ขึ้นอยู่กับจังหวะที่ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณา

ในปี 2564 ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2565 ตลาดมีความผันผวนค่อนข้างสูง ผู้จัดการกองทุนจึงปรับเปลี่ยนพอร์ตของ BMAPS ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ

อย่างแรก คือ ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ตั้งแต่ธันวาคม 2564 เนื่องจากมองเห็นว่า ในปี 2565 ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน โดยเริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย และลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด รวมทั้งลดการใช้นโยบายการคลัง ที่ได้อัดฉีดเงินเข้ามาในระบบทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเยอะขึ้น รวมถึงการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งไทยก็ใช้นโยบายนี้ด้วย

เมื่อสถานการณ์ของโควิดดีขึ้น การอัดฉีดเงินเข้าระบบ การกู้เงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป รวมถึงการดึงเงินออกจากระบบ โดยเป็นเงินที่อัดเข้ามาตั้งแต่ช่วงวิกฤตซับไพรม์ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงช่วงสถานการณ์โควิด ก็จะดึงเม็ดเงินตรงนี้ออกไปด้วย เมื่อประเมินแล้วว่า  การทำแบบนี้ ก็จะส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน ประกอบกับมูลค่าหุ้นที่ขึ้นมาค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน  ตลาดหุ้นหลายประเทศก็ทำ all time high เราจึงมองว่า การปรับลดสัดส่วนของหุ้น โดยถือเงินสดมากขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น

สำหรับตลาดหุ้นจีนเอง ก็ปรับลดสัดส่วนการลงทุน B-CHINE-EQ ที่อยู่ใน BMAPS ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เนื่องจากจีนมีปัจจัยกดดันในตลาดค่อนข้างเยอะ ทั้งเรื่องการเข้มงวดในภาคธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี เพื่อป้องกันการผูกขาดรวมทั้งเอารัดเอาเปรียบ  การควบคุมสถาบันการศึกษา สถาบันกวดวิชาที่ภาครัฐจีน กำหนดให้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร จึงทำให้ตลาดเริ่มมีความวิตกกังวล  ตามมาด้วยการผิดนัดชำระในภาคอสังหาริมทรัพย์  สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เงินไหลออกของเงินทุนจากตลาดหุ้นจีน  รวมทั้งหุ้นจีนหลายตัวราคาสูง จึงทำให้นักลงทุนขายทำกำไร แล้วถือเงินสดเพื่อรอดูสถานการณ์ก่อน ดังนั้น BMAPS ก็ทยอยปรับลดสัดส่วนในหุ้นจีน ที่ทำให้พอร์ตของ BMAPS โดยรวม ได้รับผลกระทบจากหุ้นจีนน้อยมาก

นอกจากนี้ BMAPS ยังไม่มีการลงทุนใน B-FINTECH ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความผันผวน และอ่อนไหว เนื่องจากราคาหุ้นขึ้นมาสูง ขณะที่ลงทุนใน B-GTO หรือ B-USALPHA และ B-NIPPON ค่อนข้างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นทิศทางขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อหุ้นในกลุ่ม growth เพราะกองทุนต่างๆ เหล่านี้มีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่ม growth แม้ว่าระยะยาว จะมีความน่าสนใจ แต่ในระยะสั้นเราจะชะลอการลงทุนบ้าง

สำหรับฝั่งตราสารหนี้ ก็มีการทยอยขาย BFIXED ซึ่งเป็นกองตราสารหนี้ ที่มีสัดส่วนของตราสารหนี้ระยะกลาง หรือระยะยาวมากหน่อย มาถือตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น B-TREASURY ตั้งแต่ปี 2564 และขาย B-FIXED เพิ่มขึ้น และซื้อ  B-TREASURY  เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2565

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนพอร์ตที่เล่ามา ส่งผลดีต่อ BMAPS โดยลดสัดส่วนของกองหุ้น แล้วถือเงินสดมากขึ้น ตั้งแต่ปลายปี 2564 รวมทั้งลดการถือกองทุนที่มีความผันผวน หรือหุ้นที่ไม่เป็นผลดีต่อช่วงเวลาของการขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยเซฟผลตอบแทนของกองทุน BMAPS ในสัดส่วนของหุ้น ให้มีผลตอบแทนที่ดีหรือติดลบน้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึง 10%  ในส่วนของตราสารหนี้เอง การย้ายพอร์ตหรือปรับพอร์ตระหว่าง B-TREASURY กับ BFIXED ก็ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ดีขึ้นกว่าเกือบ 1% ซึ่งถือว่า เยอะมากในสัดส่วนของตราสารหนี้

ด้วยกระแสตอบรับและสิ่งที่เกิดขึ้นกับ BMAPS ทำให้นักลงทุนสนใจกองทุนในลักษณะกองลดภาษี BBLAM จึงเสนอขายทั้ง 3 กองทุนลักษณะเดียวกัน ในรูปแบบ RMF โดยจะ IPO 22-28 มิถุนายน 2565