BBLAM Weekly Investment Insights 4 – 8 กรกฎาคม 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 4 – 8 กรกฎาคม 2022

INVESTMENT STRATEGY

วันนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีข่าวว่า Ant Financial จะกลับมาระดมทุนได้ หรือจะมีการอนุมัติเกมส์ใหม่ ๆ ถึงสองล็อต หลายอย่างผ่อนคลายลง วันนี้ จึงอยากชวนนักลงทุนมาหาโอกาสการลงทุนในเทคฯ จีนกัน

คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM อยากชวนนักลงทุนกลับมาสนใจโอกาสลงทุนในจีน วันนี้จึงนำหุ้นเทคโนโลยีของจีนมาพูดกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ผ่านมา หุ้นเทคโนโลยีจีนเป็น loser อย่างมาก เป็นตัวนำตลาดลงมาตั้งแต่ปี 2021 เพราะเรื่องที่รัฐบาลพยายามเข้ามาจัดระเบียบ กฎเกณท์ จนทำให้บริษัท Alibaba ต้องจ่ายค่าปรับเรื่องการครองตลาดที่มากเกินไป ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจีนไม่ได้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี Ant Financial ไม่สามารถ IPO ได้ หรือเป็นเรื่องที่ว่าทางการไม่อนุมัติให้ออกเกมส์ใหม่ ๆ นานนับปี

แต่วันนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีข่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายกำลังอนุญาตให้ Ant Financial ระดมทุนได้ หรือในด้านเกมส์ ก็มีการอนุมัติเกมส์ใหม่ ๆ ในปีนี้ถึงสองล็อต สิ่งที่เคยเข้มงวดกลับดูผ่อนคลายลง วันนี้ จึงอยากชวนนักลงทุนมาหาโอกาสการลงทุนในเทคฯ จีนกันค่ะ

หลาย ๆ คนพูดถึง metaverse อเมริกา แล้ว วันนี้เราอยากจะมา สำรวจโลก Metaverse ฝั่งจีนบ้าง เพราะว่า Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกทั้งหมดสามด้าน คือ

  • Meta-social จะทำให้การพูดคุยกันบนโลก social ไปได้ไกลกว่าแค่พิมพ์พูดคุยกัน เพราะ meta สามารถใช้ประโยชน์จาก ตัว avatar ที่ทำให้เราสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิด แสดงสีหน้า อารมณ์ได้ อาจจะทำให้เกิด virtual idols ขึ้นมาในโลกเสมือนก็เป็นไปได้ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ให้มีสีสันเพิ่มมากขึ้น
  • Meta- game เปลี่ยนการเล่มเกมส์เดิม ๆ กลายเป็น platform Metaverse ซึ่งจะทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมส์เปลี่ยนไป และจะทำให้สังคมการเล่นเกมส์ใหญ่ขึ้น เพราะเราสามารถสร้างคอนเสิร์ตภายในเกมส์ สร้างกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการดึงดูดคนเข้าไป คนที่ไม่เคยเล่นเกมส์ก็อาจจะเปลี่ยนใจหลังจากที่ได้เข้าไปสัมผัสเกมส์ในโลกเสมือนแล้ว นอกจากนี้ บริษัทเกมส์ยังสามารถมีรายได้จากการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น จากสังคมเกมส์ที่จะใหญ่ขึ้นไปอีก
  • Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนการชอปปิ้ง เทคโนโลยี AR ทำให้ประสบการณ์การชอปปิ้งของคน เหมือนจริงมากขึ้น และยิ่งจะทำให้เกิดความอยากใช้จ่ายมากขึ้นในโลก metaverse

บริษัทจีนที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse และเป็นคู่แข่งที่เทคฯอเมริกาไม่ควรละสายตา ตอนนี้มีบริษัทจีนถึง 1,500 บริษัท กำลังขอจดทะเบียนทางการค้า เพื่อให้บริษัทสามารถเข้ามาทำธุรกิจ metaverse ได้ ที่ผ่านมา มีข่าวว่า จีนแบน Metaverse แต่ถ้าจีนต้องการเป็นผู้นำด้านเทคฯ แต่ไม่สนับสนุนให้เกิด Metaverse จีนจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไม่ได้เลย รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จีนต้องการจะพึ่งพาตัวเองให้ได้ด้วย เช่น การขับขี่อัตโนมัติ การผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ซับซ้อน การพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจาก Metaverse เป็นประตูบานสำคัญที่จะเปิดไปสู่โลกเทคโนโลยีขั้นถัดไป เพราะทำให้เทคฯอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาไปด้วย

ขนาดตลาด Metaverse ของจีนจะโต 13% ต่อปี จนมีขนาด 1.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2030 ก็คือจะมีมูลค่ามากกว่า ตลาด Metaverse ของอเมริกา ที่มากไปกว่านั้น Morgan บอกว่า ขนาดตลาด Metaverse ของจีนมีโอกาสไปถึง 8 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯในอนาคต และนี่ก็เป็นสาเหตุว่า ทำไมบริษัทเทคใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือจีนก็เข้าไปจับจองโอกาสในโลกเสมือน

ยกตัวอย่างบริษัทที่ทำ Metaverse

Tencent : ถ้าดูบริษัทเทคฯจีนทั้งหมด บริษัทที่มีศักยภาพมากที่สุด ก็คือ Tencent ซึ่งมีพื้นฐานธุรกิจของ Tencent ทำธุรกิจที่มี สามารถต่อยอดไปหา Metaverse ได้

ธุรกิจที่ Tencent มีแล้วเอามามัดรวมเพื่อสร้าง Metaverse ได้ ก็มีทั้ง Social network เช่น wechat, QQQ, Tencent Music (China’s spotify), Game, โฆษณาในแอปพลิเคชัน, ฟินเทคอย่าง wechat play ซึ่งมีผู้ใช้กว่า 900 ล้านคน นอกจากนี้ ก็ยังมี Tencent Meetings สำหรับการประชุม แล้วที่สำคัญก็มีคลาวด์ จะเห็นว่า สิ่งที่มีก็เหมือนกับการก้าวขาข้างหนึ่งไปรออยู่ใน Metaverse แล้ว นอกจากนี้ยังไปลงทุนในบริษัทที่ทำเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้วย เช่น snapchat

ข้อได้เปรียบของ Tencent เน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานของ Metaverse ทำแบบขนาดใหญ่ครอบคลุม และมัดรวมทุกอย่าง เช่น เอาเกมส์ที่ตัวเองผลิตมารวมกับชุมชนออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าที่ตัวเองมี ซึ่งสิ่งที่ Tencent เริ่มทำแล้วก็คือการสร้างชุมชนบน  เช่น Kandian (คั่นเตี่ยน) Community เป็นคอมมูนิตี้บน Metaverse ใน QQ ซึ่งมีคนใช้งานกว่า 186 ล้านคนต่อวันทั่วประเทศจีน เป็นสังคมเสมือนที่คนบน QQ สามารถเข้าไปใช้ได้

แต่ Tencent ก็มีจุดอ่อน คือ ไม่มีพวก Hardware ที่ผลิตเอง ทำให้ไม่ว่าจะผลิตเกมส์หรือ content อะไรออกมา จะต้องไปอยู่บนอุปกรณ์ของคนอื่น นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไม Meta ถึงซื้อ Oculus แว่นสำหรับ VR หรือว่าบริษัท Snap ทำให้ผลิตแว่นของตัวเองออกมาเพื่อให้อุปกรณ์ค่อนข้าง match กับเนื้อหาที่มี แต่เหมือนล่าสุดในปีนี้ Tencent ก็มีไปซื้อบริษัททำอุปกรณ์ VR ที่ชื่อ blackshark มาแล้ว

และล่าสุด Tencent ตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาเพื่อธุรกิจใน Metaverse โดยตรง เป็น extended reality united ใช้พนักงาน 300 คน เห็นได้ชัดว่า Tencent มุ่งมั่นมากแค่ไหน

Alibaba : อีกบริษัทที่เงินสดเหลือเยอะ Alibaba มีการลงทุนในด้าน Metaverse อยู่แล้ว เรื่องเครื่องหมายการค้า Alibaba ก็มีการจดไว้หลายชื่อเหมือนกัน ไม่แพ้ Tencent

นอกจากนี้ ในด้าน Hardware ก็ยังมีการลงทุน ใน Unicorn ที่ชื่อ Magic Leap บริษัทที่ทำแว่น AR VR device ตั้งแต่ปี 2016  ซึ่งสามารถใช้งานในองค์กรด้าน เช่น การประชุม การแพทย์ ซึ่งแว่นนี้ เล็ก เบา ออกมาถึงสองรุ่นแล้ว นอกจากนี้ ยังมีบริษัทลูกที่ทำเกี่ยวกับ Metaverse อีกมากมาย เช่น Yuanjing Shengsheng ที่ทำ software development and service เพื่อที่จะลองทำเกมส์ใน Metaverse

ข้อได้เปรียบของ Alibaba คือ เป็นผู้นำในตลาดคลาวด์ เพราะว่า Metaverse ต้องมีระบบการบันทึก และประมวลผลที่ใหญ่มาก ยิ่งจำนวนผู้ใช้มาก เนื้อหาปริมาณมาก ก็ยิ่งต้องใช้คลาวด์ที่ใหญ่ ยิ่งคลาวด์ใหญ่ Metaverse ก็ใหญ่ได้ตาม Alibaba ก็เป็นผู้ได้เปรียบ เพราะเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม รองจาก Amazon, Microsoft จุดแข็งของ Alibaba คือ ใช้คลาวด์ของตัวเอง รองรับโลก Metaverse ครอบคลุม ทั้งด้าน E-commerce, Game, พื้นที่สังคมต่างๆ เช่น งานศิลปะ หรือพื้นที่อัจฉริยะต่างๆ ได้ทั้งหมด

แนะนำกองทุน B-CHINE-EQ และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-CHINESSF และ B-CHINAARMF

อ่านเพิ่มเติมทั้งหมด ได้ที่นี่  https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/4-8-2022-1