BBLAM Weekly Investment Insights 27-31 มีนาคม  2023

BBLAM Weekly Investment Insights 27-31 มีนาคม 2023

2023 – The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

By BBLAM

เมื่อวันที่  22  มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม  บัวหลวง จำกัด  (BBLAM)  รับรางวัลจากงานประกาศรางวัลกองทุนยอดเยี่ยม  Morningstar Thailand Fund  Awards 2023 โดยที่ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ” รับรางวัลกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยมปี 2023 ประเภทตราสารแห่งทุน (Equity) คุณเจฟ  สุธีโสภณ  Senior  Vice President, Fund Management Group ตอบคำถาม Morningstar ถึงมุมมองลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ดังนี้

๐ BBLAM วางกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรท่ามกลางภาวะตลาดผันผวน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในปีที่ผ่านมา 

ในปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่ท้าทายสำหรับการลงทุนในตลาดโลก ตลาดหุ้นในอาเซียนถือเป็นตลาดที่แข็งแกร่งและสามารถทนทานต่อปัจจัยลบต่างๆ ได้ดีกว่าตลาดในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่เพิ่งได้ประโยชน์จากการทยอยเปิดประเทศในปี 2022 ในขณะที่ตัวเลขเงินทุนสำรองระหว่างประเทศช่วงต้นปีอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นอยู่ที่ระดับต่ำสุดในประวัติการณ์

ในช่วงก่อนปี 2022 BBLAM ได้จัดพอร์ทการลงทุนเพื่อตั้งรับกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่น่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะเราเชื่อว่าเฟด Behind the curve และเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงชั่วคราว พอร์ทลงทุนของเราจึง Overweight กลุ่มธนาคารและประกัน ซึ่งจะได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น และลงทุนในกลุ่มธนาคารในสิงคโปร์ในสัดส่วนที่สูงที่สุด เพราะจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายของเฟดที่สูงขึ้นผ่านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin-NIM)

ในช่วงต้นปี พอร์ทการลงทุน Overweight อินโดนีเซีย เนื่องจากภาพเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น เพราะ BBLAM เชื่อว่าอินโดนีเซียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศจีน การส่งออกของอินโดนีเซียที่เติบโตเด่น นำโดยการส่งออกถ่านหิน หลังจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลให้อุปทานของแก๊ซธรรมชาติลดลง นโยบายการยกเลิกการส่งออกนิกเกิลโดยรัฐบาลของโจโควีได้ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กในจีนได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในอินโดนีเซียเพื่อแปรรูปนิกเกิลและส่งออกเหล็กกลับไปยังประเทศจีน ซึ่งนโยบายนี้ได้ส่งผลบวกต่อการส่งออกของอินโดนีเซียและ เม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งช่วยทำให้ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียมีเสถียรภาพ ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดได้พลิกมาเป็นบวก

ในช่วงครึ่งปีหลังของ 2022 BBLAM ลดน้ำหนักการลงทุนในอินโดนีเซีย หลังจากที่ตลาดอินโดนีเซีย Outperform ในขณะเดียวกันก็มีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางเงินทุนจากประเทศจีนที่อาจจะไหลกลับประกอบกับความเสี่ยงที่ราคาถ่านหินจะปรับลดลง จึงลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารสิงคโปร์เป็น Neutral หลังจากที่กลุ่มนี้ได้ Outperform ตลาดมา 2 ปี และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในฟิลิปปินส์มากขึ้นเพราะเป็นตลาดที่ Underperform ที่สุดในอาเซียน และเชื่อว่า เงินเฟ้อที่สูงและการขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมาได้สะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว จึงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นธนาคารในฟิลิปปินส์ เนื่องจากเห็นถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี ในขณะที่กำไรและ NIM มีการเติบโตอย่างเป็นนัยสำคัญ

BBLAM คิดว่ากองทุนภายใต้การจัดการมีความโดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนหุ้นอาเซียนกองอื่นอย่างไร

กองทุนของ BBLAM ใช้ทั้งวิธีผสมผสานทั้ง Top-down และ Bottom-up ในการเลือกหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนใช้มุมมองต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมทั้งแนวโน้มธีมการลงทุนที่มีโอกาสเติบโตได้ เพื่อกำหนดน้ำหนักการลงทุนในแต่ละประเทศ ในขณะที่ นักวิเคราะห์ช่วยทำการวิเคราะห์เชิงลึกสำหรับหุ้นรายตัวเพื่อเป็นส่วนช่วยในเลือกหุ้นที่จะลงทุน

กองทุนของ BBLAM เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพของธุรกิจดี และมีพื้นฐานแข็งแกร่งสำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะสามารถทนทานต่อปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เข้ามา และสร้างความผันผวนกับตลาด ซึ่งเห็นได้จาก กองทุนของ BBLAM จะมีความผันผวนค่อนข้างต่ำ และแม้ในช่วงที่ตลาดไม่ดี การลดลงของมูลค่าเงินลงทุนของกองจึงน้อยกว่าเมื่อเทียบกองทุนหุ้น ASEAN กองอื่น ๆ

เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนได้แล้วก็จะใส่น้ำหนักกับหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างมาก โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต้องอิงกับน้ำหนักใน Benchmark มากนัก โดยน้ำหนักการลงทุนของหุ้นในประเทศหนึ่ง ๆ อาจจะแตกต่างจากน้ำหนักตาม Benchmark ได้มากถึง 10% และสามารถถือครองเงินสดได้สูงในบางช่วงที่ต้องการลดความเสี่ยง ผู้จัดการกองทุนของกองนี้ทำหน้าที่บริหารมาตั้งแต่กองเริ่มก่อตั้งในปี 2018 ซึ่งทำให้สไตล์การลงทุนของกองนี้จะยังคงเหมือนเดิมต่อไปในอนาคต

BBLAM มีความเห็นอย่างไรต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น อัตราเงินเฟ้อ และจะกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นอาเซียนในปีนี้อย่างไร

BBLAM มองว่าอัตราดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุด   แต่ความเสี่ยงอยู่ที่ตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง เราเชื่อว่า ท้ายที่สุดอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงแต่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ตลาดหุ้นอาเซียนได้เผชิญกับความท้าทายในปี 2022 โดยที่ธนาคารกลางต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดอัตราเงินเฟ้อและเพื่อรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนนโยบายเมื่อเทียบกับเฟด

ในปี 2023 ที่เฟดใกล้เริ่มชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อเริ่มที่จะปรับตัวลง BBLAM มองว่า วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของกลุ่มประเทศอาเซียนก็น่าจะใกล้จบลงเช่นเดียวกัน

๐ นอกจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยแล้ว BBLAM มองว่าปัจจัยอื่น เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก, geopolitical risk จะส่งผลต่อการลงทุนต่อกองทุนนี้อย่างไรบ้าง

การชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐและประเทศต่าง ๆ ในโลก สามารถส่งผลลบต่อประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย รวมไปถึงเวียดนาม ซึ่งมีการพึ่งพาการส่งออกสูง เมื่อเทียบกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก

ความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศได้เพิ่มบทบาทสำคัญต่อการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนได้ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกได้มีการกระจายฐานการผลิตของตนเองออกจากประเทศจีนไปยังประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากอาเซียนเป็นฐานการผลิตที่มีความโดดเด่นเนื่องจากมีฐานแรงงานที่ใหญ่ อัตราค่าแรงที่ยังไม่สูง และระบบสาธารณูปโภคที่ดี ในขณะเดียวกันความเป็นกลางทางการเมืองของกลุ่มอาเซียนส่งผลให้ทั้งกลุ่มมีความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ต่ำเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น

ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการลงทุนตลาดอาเซียน คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และราคาน้ำมัน โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ ได้แก่ การใกล้สิ้นสุดของแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น (ที่ได้กล่าวไปข้างต้น) ที่ส่งผลให้แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลง ซึ่งช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าของประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น จึงผลลบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดและค่าเงินของประเทศในภูมิภาค โดยน้ำมันนั้นเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญ แต่เมื่อดอลลาร์อ่อนค่าประกอบกับราคาน้ำมันปรับลดลง ทำให้แรงกดดันดังกล่าวคลี่คลายลงไป

๐ BBLAM มีคำแนะนำอย่างไรบ้างสำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุนตราสารทุนสำหรับการลงทุนเพื่อการเกษียณ

B-ASEAN RMF เป็นกองทุนที่เหมาะแก่การลงทุนในระยะยาว เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของภูมิภาคโดยมีการเติบโตของ GDP เฉลี่ยที่ประมาณ 5% สิ่งนี้ส่งผลให้การขยายตัวของประชากรกลุ่มที่มีระดับรายได้ปานกลางเป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในภูมิภาค ในขณะเดียวกันภูมิภาคนี้มีประชากรในวัยหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรมีอายุต่ำกว่า 30 ปี และคาดว่าจำนวนประชากรในวัยแรงงานกำลังจะถึงจุดสูงสุดในปี 2045 เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศจีนเมื่อราว 3 ทศวรรษก่อนหน้า ขณะที่อัตราการเข้าถึงสินค้าและบริการหลายชนิดของภูมิภาคนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับการเติบโตในระยะยาวตามแนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคนี้จะถูกขับเคลื่อนจากเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปด้านโครงสร้าง

BBLAM แนะนำกองทุน

กองทุนลงทุนเอเชีย : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

กองทุนลงทุนจีน : B-CHINE-EQ หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-CHINAARMF และ B-CHINESSF

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF

กองทุนลงทุนอาเซียน : B-ASEAN หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASEANRMF

กองทุนลงทุนเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/27-1-2023