กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)

การลงทุนกองทุนหุ้นไทย บริหารตามแนวคิด 2 ด้าน คือ

  1. Top-down Approach เป็นการหา Investment Theme โดยเน้นมุมมองในระยะยาว โดยประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและรายอุตสาหกรรมว่ามีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตอย่างไร และเลือกกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มขาขึ้น แล้วจึงเฟ‡นหาหุ้นที่มีโอกาสจาก Theme ดังกล่าว
  2. Bottom-up Approach เพื่อค้นหาบริษัทที่จะเข้าลงทุนที่มีมูลค่าพื้นฐานต่ำากว่ามูลค่าที่แท้จริง หรือหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนรวมที่สูงสุด โดยให้ความสำคัญในการพิจารณาโมเดลธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ต่อเนื่อง มีความแข็งแรงของงบดุล ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร และประสบการณ์ด้านการบริหาร เป็นต้น โดยพิจารณาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

กองทุนบัวหลวงสร้างพอร์ตลงทุนให้แต่ละกองทุนฯ ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์และคัดสรร (Thinking and selection process) พร้อมทั้งมีทีมเวิร์คที่ดี ช่วยกันหาไอเดียใหม่และแบ่งปันแนวคิดร่วมกัน รวมถึงทบทวนข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนั้นเรายังมี Element of LUCK (Labour Under Correct Knowledge) หรือทำงานภายใต้ความรู้ที่ถูกต้องอีกด้วย

Market Overview : เมษายน 2561

  • เดือนเมษายน ตลาดหุ้นไทยยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสารจำนวนไม่กี่ตัวที่ปรับตัวขึ้นนั้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SET Index ยังคงระดับได้ ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังปรับตัวลงจากความกังวลต่อการแข่งขันลดค่าธรรมเนียม และผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2561 นับว่ายังไม่โดดเด่น นอกจากนี้ในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กจำนวนหลายตัวได้มีแรงขายออกมามาก
  • ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนั้นเป็นช่วงของการประกาศงบไตรมาสแรก ซึ่งปกติมักจะมีการเก็งกำไรเข้ามากขึ้นในหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบออกมาดี แต่ใน
    ปีนี้การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก่อนที่งบจะออกนั้นไม่ค่อยเกิดขึ้น สะท้อนว่า นักลงทุนไม่ค่อยมีมุมมองเชิงบวกมากนักต่องบการเงินที่กำลังจะประกาศ ซึ่งในช่วงของการประกาศงบ อาจจะเป็นโอกาสเข้าซื้อหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่ปรับตัวลงมามากแต่ผลประกอบการไม่ได้แย่อย่างที่กังวล
  • ความกังวลประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯนั้นเริ่มบรรเทาลงไป โดยแม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ก็มีความคาดหวังว่าทั้งสองประเทศน่าจะมีการเจรจากันได้มากขึ้นในอนาคต ค่าเงินบาทที่เริ่มพลิกมาอ่อนค่าอาจจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้บางส่วน แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อตลาดน่าจะมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความอ่อนไหวจากความเสี่ยงด้านค่าเงินมากกว่าไทย ด้วยปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสองประเทศดังกล่าว

มุมมองตลาดหุ้นไทย :

เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง โดยอาจจะเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นยังค่อนข้างจำากัด เนื่องด้วยความตึงตัวของ
Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก และการที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นอย่าง
มีนัยสำคัญอาจจะต้องรอให้มีปัจจัยใหม่หรือเห็นสัญญาณการขยายตัวของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีนัยสำคัญมากกว่านี้

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) สศช. เปิดเผยตัวเลข GDP ไทยไตรมาส 1 ปี 61 ออกมาดีเกินคาด สูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 4.8%

(+) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยได้รับแรงส่งจากทั้งภาคต่างประเทศและอุปสงค์ในประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากการส่งออกและการท่องเที่ยว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

(+) สนช.ผ่านกฎหมาย “อีอีซี” ซึ่งช่วยส่งเสริม Sentiment ที่ดีต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีความชัดเจนมากขึ้น และช่วยให้ภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น

(+/-) ต้องคอยติดตามความคืบหน้าการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณสนับสนุนการเลื่อนระยะเวลาออกไป รวมถึง
ติดตามศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติตีความร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. หากผ่านไปได้ก็จะสามารถนำมาบังคับใช้ได้ทันทีเพื่อเดินหน้าเลือกตั้งตามโรดแมพของรัฐบาลได้

(-) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความวิตกกังวลธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากคาดจะปรับขึ้น 3 ครั้ง เปลี่ยนมาเป็นมีโอกาสขึ้นได้ 4 ครั้ง
และความกังวลของนักลงทุนเรื่อง Fund Flow จะไหลออกเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) สหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นสูง

(-) ความวิตกเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) หลัง Bond Yield ของสหรัฐฯ ยังพุ่งเกิน 3% รวมถึงกังวลเศรษฐกิจกลุ่ม Emerging Market อาจ
ชะลอตัวทำให้เกิด Sentiment ลบ กระทบต่อตลาดหุ้นไทยด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยเศรษฐกิจของไทยที่ยังดีกว่ากลุ่ม น่าจะช่วยจำกัดการปรับตัวลงได้

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน :

การลงทุนในหุ้นจะเน้นบริษัทคุณภาพที่มีรูปแบบธุรกิจที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเติบโตได้ต่อเนื่อง มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดสูง และมีแนวโน้มการจ่ายปันผลดี
อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย