ค้นหาโอกาสลงทุนหุ้นญี่ปุ่นไปกับ B-NIPPON

ค้นหาโอกาสลงทุนหุ้นญี่ปุ่นไปกับ B-NIPPON

ค้นหาโอกาสลงทุนหุ้นญี่ปุ่นไปกับ B-NIPPON

โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน

BF Knowledge Center

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)

กองทุน B-NIPPON เป็นกองทุนหุ้นต่างประเทศซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น และบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นอื่นแต่ทำธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น

ความน่าสนใจของหุ้นญี่ปุ่น

  • การลงทุนในบริษัทญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดขอบเขตเพียงในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นล้วนเป็นบริษัทข้ามชาติที่ส่งสินค้าไปขายทั่วทุกมุมโลกและยังเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ เพื่อขายสินค้า/บริการ และสร้างฐานการผลิตป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก เช่น TOYOTA , HONDA,  IZUSU, MITSUBISHI, SONY  ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมายาวนานหลายสิบปี
  • ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับแนวหน้าของโลก ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฮเทค เช่น สมาร์ทโฟน สมาร์ทดีไวซ์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เครื่องบิน ที่คนรู้จักในแบรนด์ต่างๆ ที่ไม่ใช่ของญี่ปุ่น แต่ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสินค้าเหล่านั้นล้วนผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น
  • ถึงแม้ญี่ปุ่นจะเข้าสู่สังคมสูงวัยที่สัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แต่รัฐบาลได้วางแผนและมาตรการรองรับไว้เช่น ผลักดันให้ผู้หญิงออกมาทำงานมากขึ้น ยืดอายุการเกษียณ ยอมรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น ในขณะที่ภาคเอกชนก็เร่งทำวิจัยพัฒนาและลงทุนในระบบแฟคทอรี่ ออโตเมชั่น และแฟคทอรี่ โรบอท เพื่อชดเชยแรงงานที่ลดลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนได้ในระยะยาว
  • ยังมีธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากสังคมผู้สูงวัย เช่น เฮลท์แคร์ บริการทางการแพทย์และสุขภาพ บริษัทยา อุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับผู้สูงวัย เช่น รถยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ ล้วนเป็นหุ้นที่น่าลงทุน

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น กองทุนบัวหลวงจึงได้จัดตั้งกองทุนหุ้นญี่ปุ่น เป็นกองทุนประเภท Feeder fund ซึ่งลงทุนในกองทุน Nomura Japan Strategic Value Fund บริหารโดย Nomura Asset Management เป็นบริษัทจัดการสัญชาติญี่ปุ่น ที่มีผู้จัดการกองทุน และทีมงานนักวิเคราะห์เป็นคนญี่ปุ่น จึงมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในตัวบริษัทที่เข้าไปลงทุน และมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1959 มีผลการดำเนินงานที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากแนวทางการลงทุนที่เน้นการคัดเลือกหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน (Undervalued stock) โดยพิจารณาจากความสามารถในการทำกำไร และประสิทธิภาพในการบริหารทรัพย์สิน