Product Update: กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทย

Product Update: กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทย

Product Update: บัวแก้ว (BKA) บัวแก้ว 2 (BKA2) บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA) บัวหลวงธนคม (BTK) และบัวหลวงทศพล (BTP)

ตลาดหุ้นไทยในเดือนสุดท้ายของปียังคงเผชิญกับแรงกดดันเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดย SET Index ปรับตัวลดลงประมาณ 5% ในช่วงเดือนธันวาคม ด้วยแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน

ด้านปัจจัยภายนอก ประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ได้แก่ การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในการประชุมนอกรอบ G20 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะตกลงเลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติมระหว่างกันออกไปจากกำหนดเดิมอีกเป็นระยะเวลา 90 วัน แต่นั่นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เพราะยังมีความไม่แน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถหาข้อตกลงการค้าร่วมกันภายในเวลาดังกล่าวได้

ปัจจัยลบอีกประการที่มีเข้ามาในตลาดมากขึ้น ก็คือ ความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2019-2020 หลังจากเศรษฐกิจของหลายประเทศขนาดใหญ่ส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่สะท้อนความกังวลผ่าน ความชันของ Yield Curve ที่ลดลงต่อเนื่องและมีโอกาสเข้าใกล้ภาวะ Inverted ซึ่งมักจะเป็นตัวชี้ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในอนาคต และทำให้ตลาดมีการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งลง เป็นปัจจัยกดดันให้บรรยากาศของตลาดทุนอยู่ในช่วง ‘เลี่ยงความเสี่ยง (Risk off)’ ซึ่งนอกจากผลที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์อย่างราคาน้ำมันก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

แม้ในช่วงปลายเดือน Fed ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.25-2.50% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด และส่งสัญญาณที่จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 จากเดิม 3 ครั้งลดลงเหลือ 2 ครั้ง ก็ไม่สามารถบรรเทาความผันผวนของตลาดไว้ได้

สำหรับปัจจัยในประเทศ แม้ว่าผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้าจะมีจำกัด แต่ผลกระทบทางอ้อมนั้นยังไม่แน่นอน และเริ่มเห็นการชะลอตัวของการส่งออกจากไทยไปจีน ส่วนนโยบายการเงินของไทย ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.75% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
ด้านแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยนั้นถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ลดลงและการชะลอลงของการใช้จ่ายในประเทศ แม้จะมีปัจจัยบวก อาทิเช่น กนง.ได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 4.0% ขับเคลื่อนโดยแรงหนุนในประเทศเป็นหลัก จากการบริโภคและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งยังมีแนวโน้มที่ดี

ส่วนการเลือกตั้งในประเทศที่ทางรัฐบาลกำหนดจะให้มีขึ้นในต้นปี 2019 ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนไทยได้เท่าที่ควร

มุมมองตลาดหุ้นไทย :

สำหรับแนวโน้มภาวะตลาดหุ้นในปี 2019 นับเป็นอีกปีที่ท้าทายสำหรับการลงทุน ด้วยความที่ตลาดหุ้นยังค่อนข้างหวั่นไหวกับปัจจัยลบที่มีเข้ามา ในทางกลับกัน ตลาดกลับยังไม่ค่อยตอบสนองต่อปัจจัยบวกเท่าใดนัก สะท้อนถึงภาวะตลาดหมีของตลาดหุ้นที่ยังคงดำเนินต่อไป การปรับตัวลดลงแรงในช่วงปลายปี 2018 ทำให้ระดับ P/E ของตลาดหุ้นไทยในปี 2019 ลดลงมาอยู่ที่ 13-14 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และอาจจะมีการฟื้นตัวบ้างในระยะสั้น

แต่หากเทียบกับอัตราการเติบโตของผลกำไรบริษัทที่ชะลอลง ที่ Valuation ระดับนี้อาจจะยังไม่ต่ำพอที่จะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนระยะยาวได้มากพอ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงจากหลายด้านที่ยังมีอยู่ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือน และยังไม่มีสัญญาณถึงจุดต่ำสุด) การเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ความราบรื่นของการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรในเดือนมีนาคม รวมถึง เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งไทย

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของตลาดหุ้น จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นได้ถ้าหากมูลค่าของกิจการเริ่มอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากพอ เราจึงเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้จะยังคงมีอยู่ โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดของเวิลด์แบงก์ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 62 จะเติบโต 3.8% และจะเติบโต 3.9% ในปี 2020 เศรษฐกิจภายในประเทศของไทยมีการเติบโตดีจากการลงทุน การบริโภคในประเทศ แต่ต้องติดตามปัจจัยทางการเมือง หากเกิดความไม่แน่นอน กระทบต่อบรรยากาศการลงทุน ทำให้แผนลงทุนของนักลงทุนชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอ จากผลกระทบสงครามการค้า

(+) สัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากโครงการเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ได้แก่ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ดิจิทัล การแพทย์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอากาศยาน และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-Curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และแปรรูปอาหาร

(+/-) ปัจจัยต่างประเทศหลักที่ต้องติดตามคือสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และการนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการบริหารสภาพคล่องของ FED ซึ่งหากปัจจัยต่าง ๆ มีการคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ก็เชื่อว่านักลงทุนจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง หลังจากการขายและถือเงินสดมากขึ้นในปี 2018(+/-) ปัจจัยหลักภายในประเทศที่ต้องติดตามคือผลการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งนักลงทุนไทยและต่างชาติจะเฝ้ารอผลการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาถึงความมีสเถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่และความต่อเนื่องของนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

(-) ความไม่แน่นอนในประเด็น Brexit สถานการณ์การคลังของอิตาลี และความผันผวนของค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างเช่น ตุรกี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะที่หลายธนาคารกลางในกลุ่มประเทศดังกล่าว มีนโยบายที่จำกัดมากขึ้นหลังขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน : 

บัวแก้ว/บัวแก้ว 2

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนบัวแก้ว/บัวแก้ว 2 สามารถทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับเกณ์มาตรฐาน (SET TRI) ที่ 2.48% และ 2.31% ตามลำดับ โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมที่ติดลบมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (ราคาน้ำมันลดต่ำลง) และธนาคาร (ผลประกอบการ 4Q61 ของกลุ่มลดต่ำลง)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนใช้โอกาสที่ราคาหุ้นปรับลดลงในการเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดีที่ราคาลดต่ำลงกว่าราคาที่ควรจะเป็น รวมถึงได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนสำหรับหุ้นภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยยังคงเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทคุณภาพที่มีรูปแบบธุรกิจที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง มีฐานะการเงิน แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดสูง และมีแนวโน้มการจ่ายปันผลดีอย่างสม่ำเสมอ โดยได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค  พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร การแพทย์ เป็นต้น

โครงสร้างพื้นฐาน

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เปรียบเทียบกับเกณ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ 2.08% โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมที่ติดลบมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (ราคาน้ำมันลดต่ำลง) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนใช้โอกาสที่ราคาหุ้นปรับลดลงในการเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดีที่ราคาลดต่ำลงกว่าราคาที่ควรจะเป็น

รวมถึงได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนสำหรับหุ้นภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยยังคงเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทคุณภาพที่มีรูปแบบธุรกิจที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง มีฐานะการเงิน แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดสูง และมีแนวโน้มการจ่ายปันผลดีอย่างสม่ำเสมอ โดยได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค  ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ธนคม

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนธนคม เปรียบเทียบกับเกณ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ 0.1% โดยผลการดำเนินงานของกองทุนในช่วงเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงจากส่วนของตราสารทุนด้วยสภาวะตลาดที่ค่อนข้างผันผวน โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมที่ติดลบมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ผลประกอบการลดลงและต้นทุนสูงขึ้น) และธนาคาร (ผลประกอบการ 4Q61 ของกลุ่มลดต่ำลง)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนใช้โอกาสที่ราคาหุ้นปรับลดลงในการเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดีที่ราคาลดต่ำลงกว่าราคาที่ควรจะเป็น รวมถึงได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนสำหรับหุ้นภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยยังคงเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทคุณภาพที่มีรูปแบบธุรกิจที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง มีฐานะการเงิน แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดสูง และมีแนวโน้มการจ่ายปันผลดีอย่างสม่ำเสมอ โดยได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ (บางบริษัทที่มี

มุมมองปัจจัยบวกเฉพาะตัว 

1)แนวโน้มการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ กนง. อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก หากภาพรวมเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น และเพื่อให้เป็นไปตามทิศทางการปรับตัวดอกเบี้ยของสหรัฐ โดย FED

2) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในปี 2562 เพื่อผลัดดัน GDP ให้เป็นไปตามเป้านั้น จะส่งผลดีต่อภาคธนาคาร ในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

3) การควบคุมนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดของแบงค์ชาติ มีส่วนให้ความเสี่ยงหนี้เสีย หรือ NPL มีปริมาณลดลง ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นด้วย) ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลง

ทศพล

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนทศพล สามารถทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับเกณ์มาตรฐาน (SET TRI) ที่ 5.26% แต่ผลการดำเนินงานของกองทุนในช่วงเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงจากส่วนของตราสารทุนด้วยสภาวะตลาดที่ค่อนข้างผันผวน

โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมที่ติดลบมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (ราคาน้ำมันลดต่ำลง) และการแพทย์ (นโยบายจำกัดราคายากับโรงพยาบาล) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนใช้โอกาสที่ราคาหุ้นปรับลดลงในการเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดีที่ราคาลดต่ำลงกว่าราคาที่ควรจะเป็น

รวมถึงได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนสำหรับหุ้นภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยยังคงเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทคุณภาพที่มีรูปแบบธุรกิจที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง มีฐานะการเงิน แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดสูง และมีแนวโน้มการจ่ายปันผลดีอย่างสม่ำเสมอ โดยได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และ วัสดุก่อสร้าง ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ และ พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น

**ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆด้วย

**ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต