กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Down but not out.

มุมมองต่อตราสารทุนจำแนกรายประเทศ

(GLOBAL EQUITY VIEW BY NANETTE ABUHOFF JACOBSON, GLOBAL INVESTMENT STRATEGIST, WELLINGTON MANAGEMENT)

“กองทุนหลักเชื่อว่าด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งแม้ระดับของอัตราการเติบโตจะลดลง นโยบายการเงินและการคลังตึงตัวขึ้นเล็กน้อย ระดับมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นแต่ยังไม่สุดโต่ง จึงเห็นว่าควรปรับลด/แต่ไม่หนีออกจากสินทรัพย์เสี่ยง โดยเน้นหุ้น (DEFENSIVE US EQUITY) มากกว่าตราสารหนี้”

สหรัฐฯ

กองทุนหลัก คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีระดับของอัตราการเติบโตแซงหน้าประเทศอื่นในกลุ่มพัฒนาแล้ว แม้ว่าอัตราดังกล่าวจะชะลอตัวลงจากผลของแรงส่งด้านปัจจัยการคลังที่จะค่อยๆ จางหายไป อย่างไรก็ตาม ภาคการบริโภคในประเทศยังเป็นตัวชูโรงให้เศรษฐกิจ โดยอาศัยตลาดแรงงานอันแข็งแกร่งและค่าจ้างที่สูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังทรงตัวได้ดีแม้ตลาดหุ้นจะเผชิญแรงขายอย่างหนักในไตรมาสล่าสุดก็ตาม

กองทุนหลักยังคงให้น้ำหนักหุ้นสหรัฐฯ มากกว่าตลาดพัฒนาแล้วอื่นๆ แม้ว่าระดับมูลค่า VALUATION ตลาดจะซื้อขายในระดับที่สูงก็ตามแต่ยังไม่ต้องรีบกังวลสำหรับกรอบระยะเวลาลงทุนในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า

ยุโรป

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยุโรปสร้างความผิดหวัง ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจมีทิศทางลดลงในไตรมาสถัดไป ดัชนีชี้นำด้านวัฏจักรธุรกิจก็มีทิศทางชะลอลง การเมือง Brexit และปัญหางบประมาณอิตาลี เริ่มกระทบต่อธุรกิจและภาวะตลาด จนกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ อีกทั้งบริษัทจดทะเบียนในยุโรปมีสัดส่วนรายได้มาจากต่างประเทศ (60%) จึงยังคงความสงสัยให้กับนักลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีระดับอัตราการเติบโตที่ช้าลง

กองทุนหลักยังมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจยุโรป ด้วยภาวะตลาดการจ้างงานที่ดีจะช่วยประคองยุโรปไม่ให้ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างมีนัยในปี 2019 นี้ หากพิจารณาระดับมูลค่าหุ้นที่ลดลงมาแล้วพบว่าน่าสนใจ มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ กองทุนจึงให้น้ำหนักลงทุนระดับ Neutral

ญี่ปุ่น

ระดับกำไรสุทธิและระดับเงินสดของบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เนื่องจากหุ้นญี่ปุ่นผันผวนสูงไปตามปัจจัยภายนอก เช่น วัฏจักรเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงค่าเงินเยนแข็ง ทำให้กองทุนหลักคงน้ำหนักลงทุน neutral บนพื้นฐานของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น

ตลาดเกิดใหม่

ด้วยตลาดเกิดใหม่มีระดับมูลค่าหุ้นที่ถูกกว่าสหรัฐฯ และมีโครงสร้างประชากรวัยแรงงานสูง มุมมองในระยะยาวจึงสดใสกว่า แต่อย่างที่ได้เรียนไว้ว่าสำหรับกรอบระยะเวลาลงทุน 6-12 เดือนข้างหน้า กองทุนหลักให้น้ำหนักกับพื้นฐานเศรษฐกิจและความสำคัญของนโยบายมากกว่าระดับมูลค่าหุ้น หรือ Valuation

ที่มา: Multi-Asset Views First quarter 2019, Wellington Management. Down but not out. By Daniel Cook, CFA, Multi-Asset Analyst and Nanette Abuhoff Jacobson, Global investment and Multi-Asset Strategist

หมายเหตุ:

  • กองทุนหลัก หมายถึง กองทุน Wellington Global Opportunities Fund
  • มุมมองต่อสินทรัพย์เป็นระยะเวลาอีก 6-12 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มตั้งแต่สิ้นเดือน ธ.ค. 2018

สรุปผลการดำเนินงานกองทุนหลักในไตรมาสล่าสุด 4Q2018

ผลตอบแทนกองทุนหลักในไตรมาส 4Q2018 ลดลง -15.8% เป็นการลดลงที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานเมื่อวัดจากดัชนี MSCI AC World Net ที่ลดลง -12.8% และนับเป็นการลดลงรายไตรมาสที่มากที่สุดของหุ้นโลกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 ความผันผวนที่เกิดขึ้นมีเหตุจากผลกระทบทางการค้าสหรัฐฯ-จีน และความกังวลของนักลงทุนว่าที่ประเมินต่อวงจรหรือวัฏจักรทางเศรษฐกิจโลกว่าอยู่ในระยะใด

พอร์ตการลงทุนของ Wellington Global Opportunities ได้รับผลกระทบจากหุ้นในกลุ่มอุปโภคบริโภคจีน (China consumer growth) เช่น บริษัทในพอร์ตลงทุน ชื่อว่า Tencent และ New Oriental Education (บริษัทติวเตอร์สอนหนังสือแบบ Off-line ให้คนจีน) ในทางตรงกันข้าม หุ้นในกลุ่ม Cloud computing สร้างผลตอบแทนดีให้กับพอร์ตลงทุน บริษัทในกลุ่มนี้เริ่มสร้างกำไรได้เติบโตต่อเนื่อง

Performance Attribution: 3 months period (Oct-Dec 2018) Portfolio: -15.8%; Benchmark: -12.8%

Top-2 negative Contributors: 3 months period (Oct- Dec 2018) 

เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบความผันผวนของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และราคาน้ำมัน

  1. Flextronics Intl Ltd (น้ำหนักลงทุนเฉลี่ยในพอร์ต 0.78% น้ำหนักดัชนี 0.01%) เป็นบริษัทในกลุ่ม Information Technology ราคาหุ้นลดลง -42.01% ในไตรมาส 4Q2018 ทำธุรกิจ Supply chain service solution กองทุนชอบบริษัทนี้เพราะเชื่อว่าตลาดประเมินขีดความสามารถของบริษัทต่ำเกินไปว่าบริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนให้ดีได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งที่บริษัทมีจุดเด่นคือสายการผลิตแบบออโตเมชั่น ที่ผ่านมาบริษัทเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตรองเท้าไนกี้ ซึ่งไนกี้จะใช้ Flextronics ในสายการผลิตรองเท้าแบบออโตเมชั่นแบบ Customized แต่ราคาหุ้นร่วงลงไตรมาสล่าสุด เพราะเกิดพาดหัวข่าวว่า ไนกี้จะยุติความสัมพันธ์ทางการค้ากับ Flex นอกจากนี้ยังความเสี่ยง ณ ปัจจุบัน คือ ความไม่แน่นอนของสายการผลิตในประเทศอินเดีย รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Flextronics เข้าสู่ช่วงเกษียณ จึงเกิดความท้าทายต่อผู้บริหารชุดปัจจุบันว่าจะจัดการบริการประเด็นกับไนกี้ได้ดีแค่ไหน
  2. British-American Tobacco (น้ำหนักลงทุนเฉลี่ยในพอร์ต 1.69%, น้ำหนักดัชนี 0.21%) เป็นบริษัทในกลุ่ม Consumer staple ราคาหุ้นลดลง -29.66% ในไตรมาส 4Q2018 ตลาดตั้งข้อสงสัยต่อประเด็นที่ว่าบริษัทจะสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้ยั่งยืนได้มากน้อยเพียงใด ทั้งที่บริษัทมีอำนาจการต่อรองทางด้านราคาสูง แต่ราคาหุ้นร่วงลงแรงจากกระแสการต่อต้านสินค้าประเภทบุหรี่เมนทอล ในสหรัฐฯ ทำให้เกิดความกังวลว่าทางการสหรัฐฯ อาจจะออกกฏระเบียบควบคุม  กองทุนหลัก เชื่อว่า ผลกระทบจากกฏระเบียบหากออกมาก็จะกระทบต่อคู่แข่งเช่นกัน และ ณ ปัจจุบัน ตลาดประเมินผลตอบแทนเทียบเงินลงทุนบริษัทต่ำเกินไป กองทุนจึงถือครองการลงทุนในบริษัทดังกล่าว

Top-2 positive Contributors: 3 months period (Oct-Dec 2018)

  1. Apple (น้ำหนักลงทุนเฉลี่ยในพอร์ต 0.00% น้ำหนักดัชนี 2.18%) เป็นบริษัทในกลุ่ม Information Technology ราคาหุ้นลดลง -29.88% ในไตรมาส 4Q2018 กองทุนหลักเคยถือครองหุ้นบริษัท Apple ช่วงไตรมาสแรกของปี แต่ได้ขายทำกำไรในช่วงต้นไตรมาสสอง เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นสูงเกินไป หลังจากขายทำกำไรแล้วยังไม่ได้กลับเข้ามาลงทุนอีก แต่ได้ใช้ประโยชน์จากเงินสดไปซื้อหุ้นที่อยู่ในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งราคาลดลงแรงจากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน การที่กองทุนหลักไม่ถือครองหุ้นบริษัท Apple เลยนั้น ช่วยเรื่องผลตอบแทนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Relative performance) ในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่วงที่บริษัท Apple ออกมาแถลงประมาณการณ์ยอดขายลดลง ราคาหุ้นบริษัท Apple จึงร่วงลงในไตรมาสดังกล่าว กองทุนหลักยังคงหลีกเลี่ยงหุ้นบริษัท Apple ต่อไป
  2. China Tower Corp Ltd. (น้ำหนักลงเฉลี่ยในพอร์ต 1.04% น้ำหนักดัชนี 0.01%) เป็นบริษัทในกลุ่ม Communication Service ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +29.61% ในไตรมาส 4Q2018 บริษัทให้บริการเสาสัญญาณโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายโทรคมนาคม 5G ทั่วประเทศจีน กองทุนหลักชื่นชอบเพราะเชื่อว่าบริษัทมีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบเงินลงทุนแม้ว่าผลกำไรขั้นต้น (Margin) ที่ผ่านมาจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม ราคาหุ้นบริษัท China Tower พุ่งขึ้นแรงหลังทางการจีนมีแผนขยายช่องทางสื่อสารระบบ 5G ช่วงเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทมีจุดเด่นตรงที่สามารถนำเทคโนโลยี 5G สร้างรายได้เชิงพาณิชย์ได้ในทันที หากทางการจีนเริ่มใช้การสื่อสารระบบ 5G เมื่อใด บริษัท China Tower จะได้รับประโยชน์ทันที

กลยุทธ์ลงทุนของ Wellington Global Opportunities

แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นทั่วโลก ด้วยการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกของบริษัท ประกอบกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาจาก

  • ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return to Capital)
  • งบการเงินและโครงสร้างของอุตสาหกรรมเพื่อหาบริษัทที่ให้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ดี
  • โอกาสการลงทุนอันเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด อย่างเช่น นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของกำไรในระยะสั้นจนเกินไป

กราฟ: แสดงกระบวนการลงทุนของ Wellington Global Opportunities Fund ซึ่งคัดเลือกบริษัทลงทุนโดยพิจารณาบริษัทที่ตลาดคาดหวังผลตอบแทนต่อเงินลงทุนไว้ต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น สาเหตุก็เนื่องมาจาก

  1. ตลาดให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลประกอบการและกำไรสุทธิของกิจการในระยะสั้น
  2. ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ: เนื่องจากนักลงทุนสนใจให้ความสำคัญกับกลุ่มอุตสาหกรรมใดกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือประเทศในประเทศหนึ่งมากเกินไป
  3. กองทุนเชื่อว่าผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนราคาหุ้นในตลาดของบริษัทจดทะเบียน
  4. ข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวกับแนวทางการบริหารสินทรัพย์และแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนจะเป็นตัวบ่งชี้ผลตอบแทนของบริษัทในอนาคต

กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตอย่างไร

(กราฟ) แสดงข้อมูลด้านการปรับพอร์ตของกองทุนหลักจำแนกรายกลุ่มอุตสาหกรรม ณ สิ้นปี 2018 (แท่งสีฟ้าอ่อน) เทียบกับ ณ สิ้นปี 2017 (แท่งสีน้ำเงินเข้ม) ซึ่งพบว่ากองทุนหลักให้น้ำหนักกับหุ้นกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากเป็นพิเศษในปีนี้ เหตุเพราะบริษัทในกลุ่มนี้อยู่ในช่วงเฝ้ารอผลลัพธ์ระยะทดลองของตัวยาไบโอเทคที่ผ่านการศึกษาวิจัยยาวนานหลายสิบปี ในทางตรงกันข้าม พอร์ตกองทุนหลักได้ปรับลดน้ำหนักหุ้นในกลุ่มกลุ่มเทคโนโลยี/กลุ่มสถาบันการเงินลงจากปีก่อนหน้านี้จากความกังวลการค้า

(แท่งสีฟ้าอ่อน) แสดงการ Overweight/underweight หุ้นใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กองทุนหลักลงทุนอยู่เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดัชนี MSCI AC World Index Net ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2018

(แท่งสีน้ำเงินเข้ม) แสดงการ Overweight/underweight หุ้นใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กองทุนหลักลงทุนอยู่เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดัชนี MSCI AC World Index Net ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2017

Source: Wellington Management, 28 December 2018

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Wellington Global Opportunities Equity Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class S

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์กมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นตราสารแห่งทุน เช่น หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

วันที่จดทะเบียน: กุมภาพันธ์ 2010

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

NAV: USD 18.56

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Index Net

Morningstar Category: Large cap Growth

Bloomberg code: WLLGOAU LX

Fund size: USD 435.2 Million

Number of holdings: 107

ดัชนีชี้วัด หมายถึง MSCI All Country World Index Net (ซึ่งเป็นเกณฑ์วัดผลการดําเนินงานของกองทุนหลัก) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทน

* ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2017 ตัวชี้วัดใช้แบบผลตอบแทนรวม

B-GLOBAL จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนวันที่ 1 ต.ค. 2015

B-GLOBALRMF จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนวันที่ 12 พ.ย. 2015

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิไดŒเปšนสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต