รายงานเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.

รายงานเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงตอเนื่องจากไตรมาสกอนตามอุปสงคตางประเทศโดยการสงออกสินคาหดตัวตอเนื่อง สอดคลองกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการทองเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากจํานวนนักทองเที่ยวจีนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อุปสงคในประเทศโดยรวมชะลอตัวลงในเกือบทุกหมวด ยกเวนในหมวดสินคาไมคงทน ดานเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวทั้งหมวดกอสรางและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 100.49 จุด ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ระดับ -5.5% YoY (vs. -3.4% YoY เดือนก่อน) โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้กระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้า ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต (ปรับฤดูกาล) อยู่ที่ 65.8% แผ่วลงจาก 67.1% เดือนก่อน ทั้งนี้ MPI ในไตรมาสสองหดตัว -2.6% YoY (vs. -1.2% YoY ไตรมาสก่อน)

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ฉุด MPI ในเดือน มิ.ย. ได้แก่ ยานยนต์ (-8.3% YoY) ผลิตภัณฑ์ยาง (-23.4%) และการกลั่นปิโตรเลียม (-7.1%) ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลง ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น

สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่ น้ำมันปาล์ม (44.8% YoY) จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ที่ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มของ กฟผ. รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพิ่มขึ้น เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน (12.6%) จากสภาพอากาศร้อนจัดที่ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และเภสัชภัณฑ์ (18.1%) จากการเร่งผลิตและส่งมอบตามการประมูลงานในโรงพยาบาลและการขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น

ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 2.4% YoY ชะลอลงจากระดับขยายตัว 3.7% YoY ในเดือน พ.ค. โดยเป็นการชะลอลงในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะการหดตัวของการบริโภคสินค้าคงทน ซึ่งสอดรับกับการชะลอลงของรายได้รวมและการจ้างงาน

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่อง ลดลง -4.6% โดยเป็นการปรับลดลงในวงกว้างของเครื่องชี้เกือบทุกหมวดทั้งในหมวดก่อสร้างและหมวดอุปกรณ์ & เครื่องจักร

การส่งออกหดตัว -2.1 % YoY (เดือนก่อน -7.2% YoY) ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติแทบไม่ขยายตัว 0.9% YoY (3.1 ล้านคน) จากเดือนก่อนที่ -1.0% YoY (2.7 ล้านคน) โดยภาคต่างประเทศยังคงอ่อนแอ สะท้อนผ่านการส่งออกสินค้าที่หดตัวต่อเนื่อง และการขยายตัวในระดับต่ำของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจากจีน มาเลเซีย และรัสเซีย

ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 3,923 ล้านดอลลาร์ฯ เทียบเดือนก่อนที่ขาดดุล – 376 ล้านดอลลาร์ฯ ดุลการค้าไทยเกินดุล 4,401 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนเกินดุล 1,403 ล้านดอลลาร์ฯ) โดยการส่งออกตามระบบดุลการชำระเงินหดตัว -2.1 %YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว -7.2% YoY ขณะที่การนำเข้าลดลง -9.6% YoY เป็นการหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ติดลบ -0.2%YoY เมื่อการนำเข้าหดตัวแรง จึงเป็นผลให้ดุลการค้าดูดีขึ้น

ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนยังคงขาดดุลเนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติในไทย