กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

สรุปภาวะตลาดโกลบอลเฮลธ์แคร์และผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก

ภาวะตลาดโกลบอลเฮลธ์แคร์ในปีนี้ ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือน ก.ค. 2019 เมื่อวัดจากดัชนี MSCI World Healthcare Net เพิ่มขึ้น 8.5% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในช่วงหกเดือนแรกของปีและลดลงเล็กน้อยในเดือน ก.ค.

ขณะที่กองทุนหลัก Wellington Global Healthcare Equity Fund ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 13.7% (มากกว่าดัชนี) กองทุนหลักยังคงให้น้ำหนักมากกับหุ้นในกลุ่ม Biopharma mid to small cap 38.4% มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งมีน้ำหนักหุ้นในกลุ่มนี้เพียง 5.1% และให้น้ำหนักกับหุ้นในกลุ่ม Biopharma Large Cap 16.1% ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 51.3%

การที่กองทุนหลักไม่ถือครองหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มผู้ผลิตยาสัญชาติสหรัฐฯ เช่น บริษัท Johnson & Johnson บริษัท Roche รวมถึงมีสัดส่วนการลงทุนในบริษัท Pfizer น้อยมาก ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานกองทุน โดยราคาหุ้นบริษัท Pfizer ลดลงจากกระแสข่าวควบควมธุรกิจยาซึ่งสิทธิบัตรหมดอายุกับบริษัท Mylan

การคัดเลือกหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ของพอร์ตกองทุนหลัก ซึ่งมีน้ำหนักการลงทุนที่ 26.9% (เทียบเกณฑ์มาตรฐาน 27.3%) ได้ส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ การที่พอร์ตไม่ถือครองหุ้นบริษัท Illumina ซึ่งเป็นบริษัทเป็นผู้นำตลาดด้านการถอดรหัสพันธุกรรม (Genetic Sequencing) ช่วยให้ผลตอบแทนดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานเพราะบริษัทประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาต่ำกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์

การคัดเลือกหุ้นในกลุ่ม Biopharma mid cap ซึ่งกองทุนหลักมีน้ำหนักการลงทุนที่ 23.9% (เทียบเกณฑ์มาตรฐาน 5.1%) ทำให้ผลตอบแทนโดดเด่น อาทิ การลงทุนในบริษัท Galapagos ผู้ทดลองยาไบโอเทค สัญชาติเบลเยี่ยม ราคาหุ้นพุ่งขึ้นหลังจากที่บริษัท Gilead ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของบริษัท Galapagos ประกาศเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นขึ้นเป็น 29.9% ด้วยเงินลงทุน 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่อโอกาสเติบโตของบริษัทในด้านการรักษาโรค

การคัดเลือกหุ้นในกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งกองทุนหลักมีน้ำหนักการลงทุนที่ 18.6% (เทียบเกณฑ์มาตรฐาน 16.0%) ทำให้ลดทอนผลการดำเนินงานของพอร์ต เนื่องจากทีมบริหารของโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจไม่ยุ่งกับกฏระเบียบด้านการเรียกเงินคืน (Rebate rule) ส่งผลต่อราคาหุ้นบริษัท CVS Health ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานยา และบริษัท Cigna ซึ่งเป็นบริษัทซึ่งจัดการผลประโยชน์ด้านตัวยาและการรักษา ส่งผลให้ราคาหุ้นบริษัทเหล่านี้ฟื้นตัว

การคัดเลือกหุ้นในกลุ่ม Biopharma small cap ซึ่งกองทุนหลักมีน้ำหนักการลงทุนที่ 14.5% (เทียบเกณฑ์มาตรฐาน 0.0%) ให้ผลตอบแทนที่น่าผิดหวัง บริษัท Coherus Bioscience ซึ่งเป็นบริษัทไบโอเทคขนาดเล็กราคาลดลงหลังได้ขายแขนงธุรกิจยา Udenyca ในราคาที่ต่ำกว่าที่นักลงทุนคาดไว้

มุมมองต่อตลาดและทิศทางการลงทุน

โดยภาพรวมธุรกิจในกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์ยังไปได้สวย เนื่องจากมีปัจจัยบวกสนับสนุนทั้งรายได้ธุรกิจที่เติบโตและมีการเปิดตัวนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ๆ ในแขนงของการบำบัดและรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง แต่อย่างที่ผู้จัดการกองทุนหลักได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ปี 2020 เป็นปีที่สหรัฐฯมีการเลือกตั้งใหญ่ คาดว่านโยบายที่งัดออกมาใช้เรียกคะแนนเสียงของผู้สมัครจะต้องมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาอย่างแน่แท้ ดังที่เคยปรากฏตามพาดหัวข่าวในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา ซึ่งจะเพิ่มความผันผวนต่อราคาหุ้นในระยะสั้น เชื่อว่าการใช้วาทศาสตร์จากฟากนักการเมืองสหรัฐฯ ในประเด็น Medicare for All จะโหมกระหน่ำในช่วงโค้งแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี

ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่า การออกบังคับใช้กฏหมาย จนนำมาสู่การปรับโครงสร้างของธุรกิจยาไม่เกิดขึ้นแน่ เนื่องจากขั้วอำนาจในสภาคองเกรสแบ่งแยกกันชัดเจน ผู้จัดการกองทุนหลักจึงเชื่อว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะออกกฎหมายได้เพียงส่วนเล็กๆ ที่ไม่ต้องผ่านสภาเท่านั้น ซึ่งผลกระทบต่อธุรกิจเฮลธ์แคร์โดยภาพรวมแทบไม่มี ขณะที่ประเด็นเรื่องราคายา ผู้จัดการกองทุนหลักเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การที่รัฐจะจัดการหรือใช้อำนาจกับธุรกิจยาได้นั้น เป็นหน้าเป็นตาให้กับประธานาธิบดีที่เล่นกันมาตั้งแต่สมัยปี 2014  ดังนั้น อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ จึงตกอยู่ในเป้าสายตาของนักการเมืองอย่างแน่แท้ แต่กองทุนหลักเชื่อว่าธุรกิจเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ จะสามารถจัดการประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นได้ (กองทุนหลักเน้นลงทุนบริษัทยาที่มีนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ)

ที่สำคัญคือ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ได้อนุมัติตัวยาที่ผ่านระยะทดลองในปี 2018 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งตรงกับช่วงที่ธุรกิจยาเหล่านี้มีการลงทุนในธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อนำยาออกสู่ตลาดอันเป็นการสร้างรายได้ให้กับกิจการ ด้วยปัจจัยบวกทางด้านวัตกรรมและแนวโน้มการควบรวมกิจการของบริษัทยาขนาดใหญ่จะสนับสนุนให้ธุรกิจในกลุ่มนี้เติบโตได้ต่อ

พอร์ตกองทุนหลักยังคงมีสัดส่วนลงทุนในกลุ่ม Biopharma และเทคโนโลยีทางการแพทย์มากเป็นพิเศษเพราะเชื่อว่าจะสามารถเข้าถึงตลาดของการรักษาโรคที่ปัจจุบันการรักษายังไม่หยั่งถึง ในระยะยาว ปัจจัยบวกต่อหุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์ยังคงอยู่ในเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ ประชากรสูงวัย และความต้องการเข้าถึงการรักษาโรคตามแนวทางของชาติตะวันตกที่เป็นเมกะเทรนด์

ปัจจัยบวกและลบต่อหุ้นกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์

(+) ผลลัพธ์การทดลองยาเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเฟสสุดท้ายเร่งตัวหลังองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อนุมัติยาออกมาเป็นจำนวนมากเมื่อเที่ยบกับปีก่อนๆ คิดเป็นจำนวนหลายตัวยา อาทิ ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ มะเร็ง ผลลัพธ์ที่ว่านี้จะทำให้บริษัทผู้วิจัยยาไบโอเทคที่วิจัยยามาอย่างยาวนานกว่า 10 สามารถทำตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ จึงสร้างรายได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งตัวยาที่อนุญาตให้ใช้ได้

กราฟ: แสดงแขนงของนวัตกรรมด้านการรักษาโรคที่กำลังจะปะทุ หลังผ่านการศึกษาวิจัยมาอย่างยาวนาน

คำอธิบายตัวย่อทางการแพทย์

BACE หมายถึง โมเดลที่ใช้รักษาอัลไซเมอร์ได้สำเร็จโดยลดการผลิต amyloid beta ภายในสัตว์ลง

TAU หมายถึง แอนตี้บอดี้

Amyloid-beta หมายถึง กรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคราบแอมีลอยด์ พบได้ในโรคสมองเสื่อมบางชนิด เช่น Lewy body dementia

RNAi หมายถึง กระบวนการในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งพบทั้งในพืช สัตว์ และมนุษย์

mRNA หมายถึง การเรียงลำดับของนิวคลีโอไทด์ที่ Complement กับข้อมูลทางพันธุกรรมที่บริเวณจำเพาะของ DNA ในส่วนที่เป็นยีนส์

RPE65 หมายถึง ยีนส์ที่จำเป็นต่อการมองเห็นปกติ

DMD หมายถึง โรคกล้ามเนื่อเจริญผิดเพี้ยน

TTR หมายถึง การตรวจประเมินโปรตีนและลิ่มเลือด

XLH หมายถึง ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ผู้ป่วยมีการขับถ่ายฟอสเฟตออกทางปัสสาวะปริมาณมาก สาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน

Source: Wellington Management, January 2019

(+) ประชากรสูงวัยทั่วโลกเข้าสู่จุดพลิกผันที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงรายได้บริษัท (Tipping points) อาทิ ประชากรญี่ปุ่นจะมีสัดส่วนคนสูงวัยแตะ 35% ของประชากร ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในด้านเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯเทียบจีดีพีแตะระดับสูงที่ 17.5% เพราะชาวอเมริกันได้เข้าถึงประกันสุขภาพแบบที่ประสงค์จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อสิทธิคุ้มครองให้ที่ดีขึ้นกว่าสวัสดิการผู้สูงอายุ +65 ภาครัฐ หรือที่เรียกกันว่าเมดิแคร์

(-) ปี 2020 จะเป็นปีที่สหรัฐฯ มีการเลือกตั้งใหญ่ คาดว่านโยบายที่งัดออกมาใช้เรียกคะแนนเสียงของผู้สมัครจะต้องมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาอย่างแน่แท้ ดังที่เคยปรากฏตามพาดหัวข่าวในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา ซึ่งจะเพิ่มความผันผวนต่อราคาหุ้นในระยะสั้น เชื่อว่าการใช้วาทศาสตร์จากฟากนักการเมืองสหรัฐฯ ในประเด็น Medicare for All จะโหมกระหน่ำในช่วงโค้งแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี

Source: Wellington Management. All rights reserved. Data as of 31 July 2019

กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio

เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ : Wellington Global Health Care Equity Portfolio

ชนิดหน่วยลงทุน : Class S (Accum-USD)

วัตถุประสงค์การลงทุน : แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Investment style : – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน – เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง

วันจดทะเบียน : October 2003

ประเทศที่จดทะเบียน : ไอร์แลนด์

สกุลเงิน : USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark) : MSCI World Healthcare Net

Morningstar Category : Large cap growth

Bloomberg (A) : WGHCEPA ID

Fund Size : USD 2.3 billion as of July 2019

NAV : USD 59.21 as of July 2019

Number of holdings : 141 as of July 2019

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลเดือนก.ค. 2019)

เกณฑ์มาตรฐาน 1 คือ MSCI World Health Care Index Total Return Net ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับด้วยอัตราเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน

หมายเหตุ : กองทุน BCARE จัดตั้งเดือนสิงหาคม 2007, กองทุนหลักจัดตั้งเดือนตุลาคม 2003

ข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าติดตามของหุ้นกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์

US healthcare update“Medicare-for-all” ราคาหุ้นในกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์เผชิญแรงกดดัน จากข้อเสนอ Medicare-for-all ของพรรคเดโมแครตที่ครองเสียงข้างมากใน House of representative (สภาล่าง) สหรัฐฯ  ตลาดมีแนวโน้มว่าจะสนใจ/ไม่ใยดี (Punished) กับราคาหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ (sub-sector: Healthcare service) ในหมวดประกันสุขภาพ เพราะหากข้อเสนอได้ผ่านร่างออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้เมื่อไหร่ ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทเอกชนผู้ให้บริการด้านประกันสุขภาพจะถูกแทนที่โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในฐานะผู้ให้บริการสุขภาพพื้นฐานที่ครอบคลุมชาวอเมริกันทุกคน ปัจจัยนี้จะทำให้อุปสงค์/หรือความต้องการทำประกันกับบริษัทเอกชนลดลงอย่างรุนแรง เพราะผู้รับประกัน (Issuer) จะไม่มีส่วนร่วมในประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานเลย

Wellington Management มองว่าโอกาสที่ “Medicare-for-All” จะผ่านเป็นไปได้น้อย จากเหตุผลดังนี้

1) ด้านต้นทุน : เป็นข้อเสนอที่ไม่มีการระบุถึงงบประมาณของค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ แม้ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Mason and Emory ได้ระบุต้นทุนของโครงการนี้อยู่ระหว่าง 24-30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะเวลา 10 ปี แต่ก็ยังไม่นับรวมต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่ยังไม่มีการประเมินที่ครอบคลุมในส่วนนี้ ปัจจุบัน กลุ่มเฮลธ์แคร์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากสร้างงานให้กับชาวอเมริกันถึง 20 ล้านคน กลุ่มเฮลธ์แคร์ยังเป็นเครื่องยนต์หลักให้กับประเทศในช่วงที่เผชิญกับวัฏจักรเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ถึง 2-3 ครั้งที่ผ่านมา ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างมีนัย จะทำให้กระทบกระเทือน/สร้างความเสี่ยงให้กับกลุ่มประกันสุขภาพและภาพรวมเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น

2) เงื่อนไขที่จะตามมา : การมองผิวเผินว่าการผ่านร่างกฏหมายนั้นตื้นเกินไป การปฏิบัติได้จริงสำคัญกว่า สิ่งที่ยากที่สุดคือการยกเครื่องระบบเฮลธ์แคร์สหรัฐฯ ใหม่หมด ซึ่งในความเป็นจริงแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการผ่านร่างกฏหมายแม้พรรคเดโมแครตจะเสนอร่างขึ้นไปนั้น ร่างดังกล่าวต้องใช้เสียงโหวตอย่างน้อย 60 เสียง กระนั้นก็ตามพรรครีพลับบลีกันยังมีเสียงที่เหนือกว่าพรรคเดโมแครตอยู่ 3 เสียงอยู่ดี

3) ประชาชนไม่สนับสนุน : ผลสำรวจจาก Kaiser Family Foundation ที่ได้สุ่มถามผู้ใหญ่ชาวอเมริกันจำนวน 1,190 คน โดยสอบถามว่า “Would you favor or oppose a national Medicare-for-all play if you heard it would eliminate private health insurance company? 58% ตอบ ไม่เอาด้วยกับ Medicare-for-all

มุมมองทางด้านการลงทุน

1. Sentiment ตลาดจะยังคงเป็นลบในระยะสั้น เพราะจะมีวาทกรรมที่ทั้งสองพรรคการเมืองนำมาใช้ถึงจนถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า 2020 ดังนั้น ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะทวีความผันผวนสูงขึ้นในระยะเวลา 12-24 เดือนข้างหน้า หมายความว่า ในอีก 12-24 เดือนข้างหน้า ผู้ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้จะเผชิญกับความผันผวนที่สูงขึ้นโดยส่วนใหญ่มาจากด้าน Sentiment มากกว่าด้านปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ดังนั้น แม้ว่าระดับมูลค่า Valuation ตอนนี้จะน่าสนใจ นักลงทุนควรตระหนักว่าด้าน Sentiment อาจจะต้องใช้เวลาสักพัก

2. นักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาส/ชื่นชอบหุ้นกลุ่ม Mega-Trend นี้ ควรใช้ห้วงเวลานี้ในการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar cost averaging) เพราะเชื่อว่าในระยะยาวเฮลธ์แคร์ยังไปต่อได้จาก นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประชากรสูงวัยสหรัฐฯ อุปสงค์ของตลาดโลกต่อตัวยาและการรักษาตามแนวทางของชาติตะวันตก