สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.

สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.

BF Economic Research

  • ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 6% YoY (vs. 2.1% ในเดือน มิ.ย.) การขยายตัวส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน (2.6% เทียบกับ 0.4% ในเดือน มิ.ย.) และสินค้าคงทน (0.5% เทียบกับ -3.7% ในเดือน มิ.ย.)
  • แนวโน้มภาพรวมยังชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก โดยปัจจัยสนับสนุนกำลังการซื้อยังอ่อนแอลง สอดคล้องกับรายได้ของเกษตรกรที่ชะลอลง
  • การลงทุนภาคเอกชน Flat (-1% YoY เทียบกับ -6.0% ในเดือน มิ.ย.) ดัชนีถูกกดดันจากความอ่อนแอจากกิจกรรมในส่วนเครื่องชี้ภาคการก่อสร้าง เช่น พื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างและยอดขายวัสดุก่อสร้างที่หดตัว (-8.0% และ -1.3% ตามลำดับ) รวมถึงยอดขายเครื่องจักรในประเทศที่หดตัวลง (-5.8%)
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัว 7% YoY เป็น 3.3 ล้านคน เป็นผลหลักมาจากนักท่องเที่ยวจากจีน (6% โดยได้รับอานิสงส์ฐานต่ำในปีก่อนจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ต) และอินเดีย (26.5% จากการขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียม VOA)  อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวรวมลดลง -1.6% MoM หลังปรับฤดูกาล
  • ในส่วนการส่งออก (หักทองคำ) หดตัวลง -7% YoY เกิดจากการลดลงเป็นหลักของส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับน้ำมัน (ตามการเคลื่อนไหวราคาน้ำมันของตลาดโลก) และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยความอ่อนแอที่ต่อเนื่องของการส่งออกได้ส่งผลให้กิจกรรมการผลิตชะลอตัวลง (MPI หดตัว -3.2%)
  • ตัวเลขเดือนก.ค. ออกมาดีขึ้นเนื่องจากผลของฐานที่ต่ำ ครึ่งปีหลังโมเมนตัมอาจจะไม่ดีนัก ตัวเลขที่น่ากังวลคือ
    • ภาคเกษตร (ได้รับความเสียหายจากภัยแล้งและน้ำท่วมภาคอีสานในขณะนี้)
    • การท่องเที่ยว (นักท่องเที่ยวจีนเข้ามาประเทศไทยต่ำกว่าล้านคน มา 5 เดือนติดกันแล้ว ปกติ นักท่องเที่ยวจากจีนต้องเกิน 1 ล้านคนต่อเดือน)  และ
    • การลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐจะให้ผลจำกัดในอนาคต(เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณชั่วคราวเป็นเวลา 4 เดือนตั้งแต่เดือน ต.ค.- ม.ค. 2563 เพราะงบประมาณปี 2563 ไม่สามารถอนุมัติได้ทันเดือน ต.ค. หมายความว่าในช่วงเดือน ต.ค.ไปถึงเดือนม.ค. ปีหน้า ทางการสามารถใช้จ่ายเฉพาะงบที่ผูกพันไปแล้ว ซึ่งตาม พรบ งบประมาณนั้น รัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้ทั้งหมดไม่เกิน 5 ล้านล้านบาท (ไม่เกินครึ่งหนึ่งของงบประมาณปีปัจจุบันคือปีงบประมาณ 2562) โดยจะเกลี่ยให้งบลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ในความเป็นจริง ในช่วงสี่เดือนแรก ทางการจะใช้งบลงทุนประมาณ 9 หมื่นล้านบาท นั่นหมายความว่าในช่วงสิ้นปีนี้เงินลงทุนของรัฐบาลจะหายไปกว่าครึ่ง

  • สำหรับมาตรการกระตุ้น 16 แสนล้านบาทของรัฐบาลนั้น เป็นงบของรัฐบาล 5 หมื่นล้านบาท และเป็นเงินภายใต้การให้สินเชื่อของธนาคารเฉพาะกิจอีกสองแสนกว่าล้านบาท ซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ว่า ถ้า SFI ปล่อยกู้ไม่เต็มเป้า ก็อาจจะใช้เม็ดเงินไม่ถึง 3.16 แสนล้านบาทตามที่รัฐบาลได้ระบุไว้ รัฐบาลได้ระบุว่าเม็ดเงินทั้ง 3.16 แสนล้านบาทนี้จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้อยู่ที่ 3.0% นั่นหมายความว่าถ้า SFI ปล่อยกู้ได้ไม่เต็มวง GDP ก็อาจจะไปไม่ถึง 3.0%ก็ได้สรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล