กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในหุ้นของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในหุ้นของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF)

 

BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES

“รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์”

ตลาดหุ้นโลกในเดือนกรกฎาคมเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ หลังจากการปรับตัวขึ้นในเดือนก่อนหน้าบนความคาดหวังต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและมุมมองเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า โดยในเดือนกรกฎาคม ปัจจัยที่เข้ามาในตลาดค่อนข้างปะปนกัน โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงและยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม แต่ก็ยังไม่ได้แสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ติดลบ ทำให้เกิดความไม่แน่นนอนต่อการลดดอกเบี้ยในปลายเดือน ขณะที่ผู้ว่าการของ Fed สาขาต่างๆ ก็ยังออกมาให้ความเห็นในเชิงที่ Dovish และท้ายที่สุด Fed ก็ลดดอกเบี้ยลง 0.25bps ตามตลาดคาด

ทว่าตลาดผิดหวังต่อถ้อยแถลงของ Fed ที่ส่งสัญญาณว่า เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฎจักร (mid-cycle adjustment) แต่ต้องติดตามถึงพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจและความเสี่ยงภายนอกต่อไป ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าโอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. จะลดลง ส่วนเรื่องสงครามการค้า สหรัฐกลับเดินหน้าประกาศว่าจะเก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มในวันที่ 1 ก.ย. ทำให้เป็นปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตัวเลข
ภาคการผลิตทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยได้มีการปรับประมาณการ GDP โลกลงเล็กน้อย จากทั้ง World Bank (2.9% เป็น 2.6%) และ IMF (3.3% เป็น 3.2%)

ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในกรอบแคบ ปิดลดลงประมาณ 1.1% เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ต้นปี เพิ่มขึ้นเป็น 6.28 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสาร แต่ลดการถือครองในกลุ่มธนาคารและกลุ่มปโตรเคมี ส่วนหนึ่งจากการปรับเพิ่มน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Emerging Market ในเดือนมิถุนายน และมองว่าประเทศไทยเป็น Safe Haven ในเชิงของค่าเงิน รวมถึงมีการปรับเพิ่มมุมมองความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไทย ของ Fitch Ratings และ Moody’s Investors Services จากมีเสถียรภาพเป็นเชิงบวก ในเดือนกรกฎาคมก่อนที่ Fund Flow จะชะลอตัวลงในช่วงปลายเดือน จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติระยะสั้นจากธปท. สำหรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาสสองที่เริ่มออกมาไม่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ปิโตรเคมี ส่วนประเด็นการเมือง หลังจากได้ครม.แล้ว คาดหวังว่าจะมีนโยบายเร่งด่วนออกมา เนื่องจากจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะเกษตรกร

มุมมองตลาดหุ้นไทย

แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงท้าทาย โดยเราเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้ยังคงมีอยู่ ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ เราเชื่อว่า ภาวะตลาดที่ผันผวนมากขึ้น ยังมีโอกาสในการลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) การลดดอกเบี้ย ถือเป็นปัจจัยบวกต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดน่าจะตอบรับเชิงบวก

(+) ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอตรวจลงตราเพื่อเข้าประเทศ (Visa On Arrival หรือ VOA) 2,000 บาทต่อราย ไปถึงสิ้นเดือน เม.ย. 2563 เพื่อต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยว

(+) ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาดี โดยการส่งออก เพิ่มขึ้น 4.28% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 2561 ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ส่วนการนำเข้า เพิ่มขึ้น 1.67% ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

(+) คลังเตรียมเสนอ ครม. เคาะงบประมาณ 3.16 แสนล้านบาท ซึ่งหาก ครม. เห็นชอบ คาดว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 3% โดยมาตรการแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ช่วยเหลือเกษตรกร  2. กระตุ้นการบริโภคและการลงทุน ผ่านมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว  3. มาตรการด้านค่าครองชีพ ผ่านผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

(+) บอร์ด EEC เห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ (ร่าง) แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ EEC ใน 4 กลุ่ม 11 ประเภท

(+) ประเด็นการปรับลดดังกล่าวทำให้ Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทยกว้างขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 4.61% ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นปัจจัยบวก หนุนให้กลุ่ม Dividend Play & Defensive Stock เป็นที่สนใจมากขึ้น

(+/-) มีโอกาสที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ  หรือ Foreign Fund Flow (FFF) จะไหลเข้ามาได้อีก หากพิจารณาการถือครองหุ้นไทยจากต่างชาติ ณ สิ้นเดือน ก.ค. 62 ยังต่ำเพียง 28% (Foreign + NVDR) หากเทียบค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2547 ที่ 33.04%(-) ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-ยุโรป การเจรจาเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาททางการค้าจีน-สหรัฐฯ ล่าช้า มีความตึงเครียดและตอบโต้ทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ระบบการค้าเสรีของโลกกำลังถูกสั่นคลอนด้วยการขยายตัวของลัทธิกีดกันทางการค้าจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวเพิ่มมากขึ้น ตลาดเกิดความกังวลและการเกิดย้ายการลงทุนเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย

(-) กังวลเกี่ยวกับการประท้วงที่ฮ่องกงว่าจะลุกลามไปถึงเศรษฐกิจของจีนหรือไม่

(-) สถานการณ์นักท่องเที่ยวจีนที่ลดจำนวนลงตั้งแต่ปลายปี 2561

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน

บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 9.23% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 11.63% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื่อหมู/เนื้อไก่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) และ พาณิชย์ (ความคาดหวังรัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหาปากท้อง โดยใช้นโยบายแรงในการกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน ส่วนกลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และ พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น

บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 16.84% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 11.63% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ) และ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง (แรงกดดันด้านต้นทุนพลังงานลดลง เริ่มผ่อนคลายส่งผลบวกต่อการผลิต ปูน กระเบื้อง ประกอบกับภาพรวมอุตสาหกรรมยังได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก โดยเฉพาะ Mega Project ต่างๆ) ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น

บัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 11.55 % และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 11.63% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เงินทุนและหลักทรัพย์ ความต้องการสินเชื่อขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อยานพาหนะ ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกนั้น ปรับเพิ่มอย่างช้าๆ ในครึ่งปีแรก ควบคู่ไปกับความคืบหน้าของเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือ สถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอาจจะมีปัจจัยลบเฉพาะตัวบ้าง)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เงินทุนและหลักทรัพย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค การแพทย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

บัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 10.71% และเกณฑ์มาตรฐาน (SETHD TRI) อยู่ที่ 8.63% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เงินทุนและหลักทรัพย์ ความต้องการสินเชื่อขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อยานพาหนะ ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกนั้น ปรับเพิ่มอย่างช้าๆ ในครึ่งปีแรก ควบคู่ไปกับความคืบหน้าของเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือ สถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอาจจะมีปัจจัยลบเฉพาะตัวบ้าง)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เงินทุนและหลักทรัพย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค ธนาคาร เป็นต้น

บัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี25 62 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 7.93% และเกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน) อยู่ที่ 11.72% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื่อหมู/เนื้อไก่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) พาณิชย์ (ความคาดหวังรัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหาปากท้อง โดยใช้นโยบายแรงในการกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน ส่วนกลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

บัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ 11.80% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 11.63% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ พาณิชย์ (ความคาดหวังรัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหาปากท้อง โดยใช้นโยบายแรงในการกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน ส่วนกลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ วัสดุก่อสร้าง บางบริษัทที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น

สำหรับ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย

ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ก.ค. 2562