ปีทองของอุตสาหกรรมถุงมือยาง

ปีทองของอุตสาหกรรมถุงมือยาง

โดย…เจฟ  สุธีโสภณ กองทุนบัวหลวง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผลประกอบการของธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นปีทองของอุตสาหกรรมผู้ผลิตถุงมือยาง เพราะนับเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ใช้สำหรับการรับมือต่อสู้กับโรคระบาดชนิดนี้ ทั้งนี้ การระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้ถุงมือยางอยู่ในวัฎจักรขาขึ้น และส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply อย่างรุนแรง สนับสนุนให้ยอดขายและกำไรของธุรกิจปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวไปจนถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้ระยะเวลา (Lead Time) หลังจากสั่งซื้อถึง 16-22 เดือนจนกว่าจะได้รับของ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้ 70% ของกำลังการผลิตถุงมือยางทั่วโลกหรือกว่า 220,000 ล้านชิ้นต่อปี มาจากผู้ผลิตถุงมือยางอันดับใหญ่สุด 5 อันดับแรกของโลก ซึ่งทั้ง 5 รายนี้ล้วนอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ประกอบด้วย Top Glove, Hartalega, Supramax และ Kossan จากประเทศมาเลเซียและ Sri Trang จากประเทศไทย […]

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

โดย…พัสกร ตรีวัชรีกร กองทุนบัวหลวง การเข้ามาของการจัดส่งอาหารออนไลน์ผ่าน Application บนมือถือในตลาดผู้บริโภคอาเซียนนั้น มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวงการอาหารในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะเร่งตัวมากขึ้นในช่วงระยะหลังๆ แต่เหตุการณ์ล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ได้ทำให้ผู้บริโภคแทบทุกคน จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับการใช้บริการจัดส่งอาหารออนไลน์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ร้านอาหารเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวในทันที โดยร้านที่ยังไม่เคยขายผ่านออนไลน์ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนการเร่งเวลาไปข้างหน้า ราว 1-2 ปี มาถึงในวันที่ Platform ต่างๆ มีร้านอาหารให้เลือกมากมาย ทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย มีตัวเลือกมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร การแข่งขันจากผู้ให้บริการ Food Apps ก็ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ที่ผ่านมาจะเห็นผู้เล่นรายใหม่พยายามเข้ามาในตลาด แต่ผู้เล่นที่ยังเป็นผู้นำอยู่ในหลายตลาดอยู่คงหนีไม่พ้น GojeK และ Grab เนื่องจากมีจุดแข็งจากฐานผู้ใช้ในการบริการรถรับส่ง (Ride-sharing) โดย GoJek Startup จากอินโดนีเซีย มีผู้ถือหุ้น ได้แก่ Tencent และ Google ในขณะที่ Grab […]

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

    การเข้ามาของการจัดส่งอาหารออนไลน์ผ่าน Application บนมือถือในตลาดผู้บริโภคอาเซียนนั้น มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวงการอาหารในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะเร่งตัวมากขึ้นในช่วงระยะหลังๆ แต่เหตุการณ์ล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ได้ทำให้ผู้บริโภคแทบทุกคน จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับการใช้บริการจัดส่งอาหารออน์ไลน์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ร้านอาหารเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวในทันที โดยร้านที่ยังไม่เคยขายผ่านออนไลน์ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนการเร่งเวลาไปข้างหน้า ราว 1-2 ปี มาในวันที่ Platform ต่างๆ มีร้านอาหารให้เลือกมากมาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย มีตัวเลือกมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร การแข่งขันจากทางด้านผู้ให้บริการ Food Apps ก็ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ที่ผ่านมาจะเห็นผู้เล่นรายใหม่พยายามเข้ามาในตลาด แต่ผู้เล่นที่ยังเป็นผู้นำอยู่ในหลายตลาดอยู่คงหนีไม่พ้น Gojek และ Grab เนื่องจากมีจุดแข็งจากฐานผู้ใช้ในการบริการรถรับส่ง (Ride-sharing) โดย GoJek Startup จากอินโดนีเซียนั้น มีผู้ถือหุ้น ได้แก่ Tencent และ Google ในขณะที่ Grab จากสิงคโปร์นั้น […]

‘Gojek’ ยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย

‘Gojek’ ยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย

โดย… เจฟ สุธีโสภณ, อภิชญา จันทร์แจ่ม กองทุนบัวหลวง ปัจจุบัน ปฎิเสธไม่ได้ว่า ใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ start up ไม่ว่าพนักงานบริษัทหรือนักศึกษาจบใหม่หลายคน แต่ในบรรดาบริษัท Start up จำนวนมาก การที่จะมีบริษัทหนึ่งก้าวหน้าขึ้นไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้นั้น มีเพียงหยิบมือเท่านั้น ซึ่งเปรียบได้กับ ยูนิคอร์น สัตว์หายากในตำนาน ที่เป็นคำเรียกบริษัทที่มีมูลค่าสูงเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพ ปัจจุบัน ยูนิคอร์นมีมากกว่า 430 บริษัททั่วโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและจีน ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียน มียูนิคอร์นอยู่เพียง 8 แห่ง แต่ที่น่าแปลกใจ คือ 5 ใน 8 บริษัทนั้นอยู่ในอินโดนีเซีย จะเห็นว่า การมีประชากรสูงถึง 260 ล้านคน อีกทั้งอายุเฉลี่ยน้อย บวกกับการเข้าถึงสมาร์ทโฟนที่สูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Venture Capital เข้ามาลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่อินโดนีเซีย […]

เรียนรู้จากความคิดผู้ชนะของอาเซียน

เรียนรู้จากความคิดผู้ชนะของอาเซียน

โดย…มทินา   วัชรวราทร Fund Management รางวัล ASEAN Business Award ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน มีมากกว่า 100 บริษัทที่ได้รับคัดเลือก อย่างไรก็ตาม รางวัล ASEAN Business Award ประจำปี 2019 ที่ประกาศผู้ชนะไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน โดยมีประธานอาเซียนเอกชน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN – BAC Thailand) เป็นเจ้าภาพ รางวัลดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงรายชื่อของบริษัทที่มีผลการดำเนินการโดดเด่น ประสบความสำเร็จ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค เป็นรางวัลที่ไม่ได้มอบให้แต่บริษัทใหญ่ แต่ยังมอบให้กับบริษัท SME ในอาเซียนอีกด้วย จึงนับว่า รางวัลนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้ทำความรู้จักกับบริษัทเล็กๆ ที่โดดเด่นในอาเซียน ที่อาจจะเป็น unicorn หรือสามารถเติบโตเป็น Regional และ Global […]

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน สิงคโปร์

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน สิงคโปร์

BF Economic Research ปีที่แล้ว สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มากที่สุดในอาเซียน เพราะมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในอาเซียน ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ปีที่แล้วค่อนข้างซบเซา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โต 0.7% เมื่อปลายปี 2019 กองทุนบัวหลวงมองว่าเริ่มเห็นสัญญาณของภาคก่อสร้างและภาคบริการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ดังนั้นปี 2020 น่าจะมีการฟื้นตัว เศรษฐกิจเติบโตได้สูงกว่าปี 2019 ทั้งนี้ เมื่อมีเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 มา ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ปรับประมาณการจีดีพีลง เดิมมองไว้ 0.5 ถึง 2.5% ก็ปรับเป็น -0.5 ถึง 1% จะเห็นว่า มีการปรับให้ความเสี่ยงด้านขาลงเป็นติดลบของปี 2020 ทำให้กองทุนบัวหลวง มองว่า ปี 2020 จีดีพีสิงคโปร์น่าจะโตได้ 1% จากปีที่แล้วที่ 0.7% คือไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นมามากอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ตอนแรก จากผลของโควิด-19 เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากติดอันดับ 3 ของโลก ทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก […]

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน ฟิลิปปินส์

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน ฟิลิปปินส์

BF Asean Corner ปี 2019 ถือว่าฟิลิปปินส์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเทียบปี 2018 แต่เนื่องจากมีประเด็นความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณปี 2019 เลยทำให้เรื่องงบประมาณเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2019 ไว้ เมื่อมองที่นโยบายการคลังของฟิลิปปินส์ ปีนี้ถือเป็นธีมหลัก เพราะการใช้จ่ายภาครัฐจะกลับมาเติบโตดี โดยงบประมาณปี 2020 มีการอนุมัติไปปลายปีที่แล้ว เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2019 ที่ยังเหลืออยู่ จากการอนุมัติงบล่าช้า ทำให้ปีนี้มีงบประมาณเสริมเข้ามาค่อนข้างมาก เป็นตัวที่รัฐบาลนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี จึงมองว่า ปี 2020 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์น่าจะเติบโตดีขึ้นเทียบปี 2019 ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ มีโครงการชื่อว่า “Build, Build, Build” ซึ่งเราพูดกัน 2-3 ปีแล้ว เพราะโครงการนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2017 แต่โครงการล่าช้าค่อนข้างมาก โดยตอนแรกมีถึง 75 โครงการ แต่ที่ทำแล้วเสร็จมีเพียง 2 โครงการ จะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ที่ทำได้เสร็จมีน้อยมาก ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนและแก้กระบวนการต่างๆ […]

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน มาเลเซีย

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน มาเลเซีย

BF Asean Corner ไตรมาส 3 GDP มาเลเซีย ออกมาที่ 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2018 แต่ชะลอตัวลงเมื่อไปเทียบกับครึ่งปีแรกปีนี้ ที่เติบโต 4.7% โดยตัวที่ชะลอลงมา หลักๆ มาจากการบริโภคในประเทศ และการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ที่มีความขัดแย้งกัน ซึ่งก็เริ่มเห็นชัดว่าส่งผลมาที่มาเลเซียแล้ว อีกประเด็นคือเรื่องการก่อสร้าง โดยตั้งแต่มาเลเซียได้รัฐบาลชุดใหม่มา ก็มีการชะลอการลงทุน และลดมูลค่าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ เพื่อลดหนี้สาธารณะลง เพราะมองว่ารัฐบาลชุดเก่าก่อหนี้ไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ภาคการก่อสร้างโดยรวมของมาเลเซียชะลอลงต่อเนื่อง สำหรับปีหน้า เมื่อมอง Sentiment ต่างๆ อาจจะดูดีขึ้น แต่ตัวเลข เราให้ใกล้เคียงกับปี 2019 โดยในปีนี้มองว่าทั้งปีน่าจะเติบโต 4.5% ส่วนปีหน้า มองว่าจะเติบโต 4.4% คือเติบโตในอัตราใกล้เคียงกัน โดยมองว่า โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของมาเลเซียจะเริ่มกลับมา เพราะว่าครึ่งปีหลัง รัฐบาลเพิ่งประกาศว่าจะกลับมาลงทุนหลายโปรเจ็ก สร้างทางรถไฟ ถนน ซึ่งก็น่าจะช่วยให้การลงทุนปีหน้าดีขึ้นของฝั่งภาครัฐ และอาจส่งผลไปถึงเอกชนทำให้มีความคึกคักมากขึ้นในการลงทุน […]

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน อินโดนีเซีย

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน อินโดนีเซีย

BF Asean Corner ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เทียบกับปี 2018 เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี เพราะทั้งค่าเงินและดุลบัญชีเดินสะพัดมีเสถียรภาพ อินโดนีเซีย แม้จะเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้อยที่สุดในอาเซียน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าอยู่ ผ่านการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงตาม ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มาก จึงได้รับผลกระทบไปด้วยโดยปริยาย ดังนั้นจึงมองว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปีนี้น่าจะเติบโตได้ประมาณ 5% ลดลงจากปีที่แล้วที่เติบโตได้ 5.2% เมื่อมองไปถึงปี 2020 เศรษฐกิจอินโดนีเซียน่าจะเติบโตดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 5.1% มาจากการที่ปีหน้าอินโดนีเซียน่าจะอยู่ในวงจรการลงทุนที่เติบโตดีขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาอินโดนีเซียพยายามลดการนำเข้าลง เพื่อลดการขาดดุลการค้า แต่ปีหน้า เมื่อ โจโค วิโดโด หรือโจโควี เพิ่งจะรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ไปเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ก็มองว่า น่าจะมีการออกนโยบาย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น มีการออกโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของวงจรการลงทุนรอบนี้น่าจะมีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 ทั้งนี้ […]

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน            

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน            

by…ชัยธัช เบน  บุญญาปะมัย การเปลี่ยนผ่านพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่ม Middle Class จากข้อมูลของ IMF ระบุว่า ในปี 2018 เมื่อรวมขนาดเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้อาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจถึง 2.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น ในขณะที่ จำนวนแรงงานในอาเซียนก็มีมากถึง 350.5 ล้านคน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด 650 ล้านคน เป็นประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ทำให้หลายประเทศในอาเซียนมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกำลังยกระดับขึ้นเป็นประเทศกลุ่มรายได้ปานกลาง ขณะที่อีกหลายประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ พลวัตตลาดผู้บริโภคอาเซียนกำลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในลักษณะเช่นเดียวกับที่เราเห็นในประเทศจีน โดยการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง (Middle Class) ไม่ได้ขับเคลื่อนจากการการบริโภคสินค้าจำพวกอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอีกต่อไป แต่กลายเป็นการใช้จ่ายกับสินค้า Lifestyle เช่น เครื่องสำอาง การรับประทานอาหารนอกบ้าน รถยนต์ และสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคา […]