ตั้งต้นชีวิตคู่ เริ่มลงทุนก่อนก้าวต่อไป

ตั้งต้นชีวิตคู่ เริ่มลงทุนก่อนก้าวต่อไป

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผ่านช่วงวันวาเลนไทน์มาได้ไม่เท่าไหร่ ก็มีหลายคู่ตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ซึ่งการใช้ชีวิตคู่ร่วมกับคนที่เรารักนั้น นอกจากจะใช้ความเข้าใจกันแล้ว ยังต้องมีการตั้งเป้าหมายในชีวิตคู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น อย่างงานแต่งงาน เป้าหมายระยะกลาง เรื่องการมีลูก และเป้าหมายระยะยาวคือเรื่องการศึกษาลูก รวมถึงแผนการเกษียณของเราทั้งคู่ แล้วเราจะจัดการกับเป้าหมายที่มีด้วยกันได้อย่างไร ง่ายๆ เลยสำหรับแผนระยะสั้น อยากแต่งงาน เรื่องการลงทุนคงเสี่ยงสูงมากไม่ได้ และยิ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของทั้งคู่ด้วยแล้ว การลงทุนต้องเกิดจากความเข้าใจของทั้งคู่ หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วย ก็อาจทำให้เรื่องการลงทุนเป็นอุปสรรคสำคัญในชีวิตได้ ดังนั้น ก่อนการลงทุน แนะนำให้ทำแบบประเมินความเสี่ยงกันก่อน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับความเสี่ยงได้สูง แต่อีกฝ่ายรับความเสี่ยงได้ต่ำ แบบนี้ การลงทุนหากรวมเงินลงทุนไว้ในกองกลางเดียวกัน ก็สามารถเลือกนโยบายการลงทุนแบบความเสี่ยงปานกลาง โดยเฉพาะหากเป้าหมายนั้นมีความสำคัญมาก ก็เลือกลงทุนแบบความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ เพื่อให้ฝ่ายที่รับความเสี่ยงได้ต่ำสบายใจ ส่วนเป้าหมายระยะกลาง อยากมีลูก ควรเพิ่มความเสี่ยงสูงขึ้นอีกสักหน่อยก็อาจจะเลือกการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกสักนิด ส่วนเป้าหมายระยะยาว ก็เพิ่มสินทรัพย์เสี่ยงสูงขึ้นอีกนิด แต่ถ้าฝ่ายที่รับความเสี่ยงต่ำรู้สึกไม่สบายใจ ก็อาจเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง ส่วนที่อยากลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงมากๆ ตามสไตล์ของตัวเอง อาจจะเลือกลงทุนในเป้าหมายที่แยกออกมาจากเป้าหมายรวม การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำนั้น แน่นอนว่าโอกาสได้รับผลตอบแทนก็จะต่ำไปด้วย เช่น การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ อย่างกองทุน BFIXED ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการประชุมในวันที่ 25 – 26 ม.ค. 2022 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (9-0) คงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี Fed ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นชัดเจน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง รวมถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ขณะที่เงินเฟ้อขยายตัวเหนือเป้าหมาย 2% ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน สรุปในประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1.การลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE taper) ระบุจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. ซึ่งค่อนข้างเป็นไปตามที่ส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้ แต่มีความชัดเจนขึ้นว่าจะสิ้นสุดในช่วง “ต้นเดือน มี.ค.” 2.การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ระบุชัดว่าจะปรับขึ้นเมื่อไหร่ โดยระบุเพียงว่าการปรับขึ้นในระยะใกล้นี้อาจมีความเหมาะสมหากภาพเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดไว้ (… “soon” be appropriate to raise the target range for the federal funds rate …) โดยตลาด […]

อั่งเปาปีนี้ ลงทุนอะไรดี

อั่งเปาปีนี้ ลงทุนอะไรดี

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP®      ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ อั่งเปาตั่วตั่วไก๊ ได้ยินประโยคนี้ทีไร แปลว่าเทศกาลตรุษจีนมาถึงแล้ว สำหรับใครที่ยังได้รับอั่งเปาอยู่ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก เพราะนั่นหมายถึง เรายังเป็นเด็กอยู่ ส่วนใครที่ต้องใส่ซองอั่งเปาไม่ได้หมายความว่าเราอายุมากแล้วนะคะ แต่หมายความว่าเราเป็นผู้ใหญ่ มีรายได้ อยากตอบแทนคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญู ส่วนจะใส่ซองเล็กๆ ให้ลูกๆ หลานๆ ก็อย่าลืมสอนให้เขาแบ่งเงินไปลงทุน เพื่อเพิ่มพูนเงินอั่งเปาที่ได้รับให้มากขึ้น ซึ่งวิธีการเพิ่มเงินในอั่งเปา ไม่ใช่เรื่องยาก มีเทคนิคแนะนำดังนี้ค่ะ 1.รวบรวมซองแดงทั้งหมดที่ได้รับ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ชอบมากๆ ต้องขอบคุณอากู๋ อากิ๋ม อาแปะ อากง อาม่า ป่าป๊า หม่าม้า ที่แจกซองให้เราเยอะแยะมากมาย ยิ่งใครที่มีเชื้อสายจีน และมีญาติที่รักเยอะๆ ด้วยแล้วล่ะก็ รวบรวมแล้วได้เงินเป็นกอบเป็นกำกันเลยทีเดียว 2.แบ่งเงินเก็บ และแบ่งเงินใช้ หลังจากรวบรวมซองแดงที่ได้รับมาแล้ว ก็ถึงคราวนับเงินสิคะ จะรออะไรกัน แบ่งส่วนนึงเก็บไว้เพื่อลงทุน ซึ่งควรจะเป็นส่วนที่แบ่งออกมามากสักหน่อย มากกว่าครึ่งนึงได้ยิ่งดีนะคะ เพราะเงินส่วนนี้จะทำให้เรามีเงินไว้ใช้ในอนาคต ส่วนเงินอีกส่วนที่แบ่งเอาไว้ใช้ต้องรู้ก่อนว่าจะใช้ทำอะไร […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการประชุมในวันที่ 2 – 3 พ.ย. ที่ผ่านมามีมติเป็นเอกฉันท์ (11 – 0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่กรอบ 0 – 0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด Fed ยังระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) โดยนาย Powell ระบุว่า Fed ยังไม่คิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังต้องการให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวต่อ แต่ก็ระบุเสริมว่า Fed สามารถที่จะอดทนรอได้ แต่หากมีความจำเป็น ก็พร้อมที่จะดำเนินการทันการ ทั้งนี้ ประธาน Fed พยายามกล่าวอย่างชัดเจนว่าการทำ Asset […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ภาพรวมตลาด ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน +2 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -29 bps. โดยเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงการลดลงของราคาน้ำมันดิบซึ่งทำให้ความกังวลด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลง สำหรับปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณวัคซีนและอัตราเร่งในการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ Delta และมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ด้านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการก่อหนี้เพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้ จำนวน 1.50 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้จะเป็นการก่อหนี้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Loan bond) จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าการออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 1.81 แสนล้านบาท […]

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55) และกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55) และกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)

HIGHLIGHT การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในระบบ และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ที่ผ่านมาตลาดผันผวนจากการรับรู้ปัจจัยลบเรื่องการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดแล้วบางส่วน เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนเข้ากลุ่ม Defensive เช่น เฮลธ์แคร์มากขึ้น ขณะที่เงินไหลออกจากกลุ่มเทคโนโลยีเบาบางลง ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนเข้าลงทุนใน B-SIP /B-BHARATA/B-NIPPON นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุนยังมีการถือเงินสดหรือกองทุนสภาพคล่องไว้บางส่วน เพื่อเข้าลงทุนเพิ่มหากตลาดหุ้นปรับฐานในช่วงที่ FED ออกมาสื่อสารเรื่องวงเงินการซื้อสินทรัพย์ และการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้นี้  การทำ Asset Allocation มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงเช่นปีนี้ กองทุน BMAPS ทั้ง 3 กองทุน ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธันวาคม 2564 และค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน ภาพรวมตลาด การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในระบบ  และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ที่ผ่านมาตลาดผันผวนจากการรับรู้ปัจจัยลบเรื่องการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดแล้วบางส่วน เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนเข้ากลุ่ม Defensive เช่น เฮลธ์แคร์มากขึ้น ขณะที่เงินไหลออกจากกลุ่มเทคโนโลยีเบาบางลง ตลาดสหรัฐฯ มีปัจจัยบวกจากความรวดเร็วในการฉีดวัคซีน และเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดจีนปรับลดลงตั้งแต่ตรุษจีนที่ผ่านมา ด้วยนโยบายของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง และมาตรการเข้มงวดกับบริษัทเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันความกังวลในเรื่องดังกล่าวผ่อนคลายลงมากแล้ว และมีปัจจัยบวกจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากโควิดได้เร็วกว่าประเทศอื่น ตลาดญี่ปุ่น […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ภาพรวมตลาด การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 27 – 28 เม.ย. ที่ผ่านมา มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.00-0.25% และเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้มีการจ้างงานเต็มประสิทธิภาพและอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ Fed จะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในระดับอย่างน้อย 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเช่นเดิม แบ่งเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำต่อไป ทั้งนี้ ถึงแม้นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงว่า ยังไม่มีแผนการลดปริมาณการซื้อพันธบัตร แต่ตลาดเริ่มมีมุมมองภายหลังจากการประชุมว่าการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (non-farm payroll) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นเกินกว่าเป้าหมายภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ Fed สามารถเริ่มส่งสัญญาณการลดปริมาณการซื้อพันธบัตรได้ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินเดิมตามคาด […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในปีที่ผ่านมานับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยที่ต้องเผชิญกับความผันผวนตลอดทั้งปี 2563 เนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลก อีกทั้งยังมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และยังไม่มีแนวทางการรักษาอย่างแน่ชัด รวมทั้งยังไม่มีวัคซีนที่เพียงพอ จนก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต่างลดดอกเบี้ยลงมาในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงรุกด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% ต่อปี เหลือ 0.00% ต่อปี และประกาศทำอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน หรือ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับตัวลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน โดยอัตราผลตอบแทนปรับลดลงทุกช่วงอายุนับจากต้นปี หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.25% มาเป็น 0.75% ต่อปี และลงมาต่ำสุดเหลือ 0.5% ต่อปี  เพราะสถานการณ์การของ Covid-19 ยังไม่ดีขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ม.ค. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +10 bp เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 4-5 ปี และ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกค่อนข้างผันผวนและปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัวอย่างรุนแรง รัฐบาลและธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศเร่งออกมาตรการสนับสนุนต่างๆ และดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทำให้เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด (bottoming out) และนักลงทุนเริ่มกลับมาถือสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2563 นักลงทุนยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและความผันผวนในตลาดการเงิน ได้แก่ ความเสี่ยงจากการกลับมาระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทำให้ภาครัฐอาจต้องเลื่อนการเปิดเมืองหรืออาจต้องกลับไปใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยความกังวลนี้จะทยอยคลี่คลายเมื่อมีการแจกจ่ายวัคซีนเป็นการทั่วไป ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงขนาดของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐยังคงมีความไม่แน่นอน จากข้อจำกัดในด้านต่างๆ อาทิ ความสามารถในการก่อหนี้ และงบประมาณคงเหลือ เป็นต้น การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนซึ่งมีแนวโน้มจะไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศเกิดใหม่และแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการปรับเพิ่มขึ้นของราคาทองคำ ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายตามคาด โดยยังคงดอกเบี้ยใน range 0 – 0.25% ขณะที่มองว่าความเห็นต่อนโยบาย และมุมมองต่อเศรษฐกิจจาก FOMC ไม่มีอะไรใหม่ แม้จะยังคงอยู่ใน stance ผ่อนปรนมาก […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล(Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้” ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในช่วงปลายเดือน คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00 – 0.25% พร้อมส่งสัญญาณว่าจะผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจำกัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว และชี้ว่าจะยังคงเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (MBS) อย่างน้อยในระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ยังขยายเวลาการทำธุรกรรม Swap Line และ Repo Facility ออกไปจนถึง 31 มี.ค. 2564 เพื่อรักษาสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐ และขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องไปอีก 3 เดือนไปสิ้นสุด ณ สิ้นปี 2563 นายพาวเวล ประธาน FED ประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะหดตัวรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ 2 และจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อลดลงจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอลงเมื่อการระบาดรุนแรงขึ้นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปความรุนแรงของผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) […]