กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ภาพรวมตลาด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. 2564 ปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 5 ปี เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง 4 – 19 bps. โดยปัจจัยหลักยังคงเคลื่อนไหวตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ที่มีการปรับตัวลดลงเป็นเดือนแรกในปีนี้ หลังจากที่ความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อ (5 years forward breakeven inflation) มีแนวโน้มทรงตัวที่ระดับ 2.00 – 2.15% สะท้อนว่านักลงทุนเริ่มผ่อนคลายความกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ และเห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่ระดับปัจจุบันสามารถยอมรับได้ จึงกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอีกครั้ง อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเฉพาะในระยะยาวปรับตัวลดลงในระดับจำกัดและมีปริมาณการซื้อขายที่เบาบางระหว่างเดือน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลด้านธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวมไม่เกิน 140,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้พันธบัตรระยะยาวมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีผลต่อราคาพันธบัตร โดยการทำธุรกรรม Bond Switching เสร็จสิ้นในวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมีการตอบรับจากนักลงทุนในระดับที่ดี ทำให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าพันธบัตรระยะยาวอีกครั้ง […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในปีที่ผ่านมานับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยที่ต้องเผชิญกับความผันผวนตลอดทั้งปี 2563 เนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลก อีกทั้งยังมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และยังไม่มีแนวทางการรักษาอย่างแน่ชัด รวมทั้งยังไม่มีวัคซีนที่เพียงพอ จนก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต่างลดดอกเบี้ยลงมาในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงรุกด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% ต่อปี เหลือ 0.00% ต่อปี และประกาศทำอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน หรือ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับตัวลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน โดยอัตราผลตอบแทนปรับลดลงทุกช่วงอายุนับจากต้นปี หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.25% มาเป็น 0.75% ต่อปี และลงมาต่ำสุดเหลือ 0.5% ต่อปี  เพราะสถานการณ์การของ Covid-19 ยังไม่ดีขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ม.ค. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +10 bp เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 4-5 ปี และ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกค่อนข้างผันผวนและปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัวอย่างรุนแรง รัฐบาลและธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศเร่งออกมาตรการสนับสนุนต่างๆ และดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทำให้เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด (bottoming out) และนักลงทุนเริ่มกลับมาถือสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2563 นักลงทุนยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและความผันผวนในตลาดการเงิน ได้แก่ ความเสี่ยงจากการกลับมาระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทำให้ภาครัฐอาจต้องเลื่อนการเปิดเมืองหรืออาจต้องกลับไปใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยความกังวลนี้จะทยอยคลี่คลายเมื่อมีการแจกจ่ายวัคซีนเป็นการทั่วไป ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงขนาดของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐยังคงมีความไม่แน่นอน จากข้อจำกัดในด้านต่างๆ อาทิ ความสามารถในการก่อหนี้ และงบประมาณคงเหลือ เป็นต้น การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนซึ่งมีแนวโน้มจะไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศเกิดใหม่และแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการปรับเพิ่มขึ้นของราคาทองคำ ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายตามคาด โดยยังคงดอกเบี้ยใน range 0 – 0.25% ขณะที่มองว่าความเห็นต่อนโยบาย และมุมมองต่อเศรษฐกิจจาก FOMC ไม่มีอะไรใหม่ แม้จะยังคงอยู่ใน stance ผ่อนปรนมาก […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล(Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้” ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในช่วงปลายเดือน คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00 – 0.25% พร้อมส่งสัญญาณว่าจะผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจำกัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว และชี้ว่าจะยังคงเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (MBS) อย่างน้อยในระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ยังขยายเวลาการทำธุรกรรม Swap Line และ Repo Facility ออกไปจนถึง 31 มี.ค. 2564 เพื่อรักษาสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐ และขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องไปอีก 3 เดือนไปสิ้นสุด ณ สิ้นปี 2563 นายพาวเวล ประธาน FED ประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะหดตัวรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ 2 และจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อลดลงจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอลงเมื่อการระบาดรุนแรงขึ้นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปความรุนแรงของผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ไตรมาสแรกเริ่มต้นด้วยความคาดหวังว่าปี 2563 น่าจะเป็นปีที่ดีสำหรับนักลงทุน เพราะปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีแนวโน้มการเจรจาที่ดีขึ้น นโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศผ่อนคลายมีการปรับลดดอกเบี้ยหลายครั้งในปี 2562 แต่แล้วสิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไปเมื่อวิกฤติโรคระบาด COVID-19 ทวีความรุนแรง จนลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่มีหนทางรับมือทางเดียวคือ หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ด้วยความที่ COVID-19 เป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้จัก ความไม่รู้ ก่อให้เกิดความเสี่ยง (ความไม่แน่นอน) มากมาย ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวลง แม้จะเดาได้ยาก ว่าสถานการณ์ของโรคระบาดจะเลวร้ายกว่านี้หรือไม่ แต่เราเชื่อว่าจุดเลวร้ายที่สุดของความตื่นกลัว (panic) ในตลาดเงินตลาดทุนน่าจะได้ผ่านไปแล้ว สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นต่อไปคือความพยายามหาสมดุลใหม่ เช่น การทยอยเปิดเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างในไทย จีน และเกาหลี เพราะไม่ว่าอย่างไร คงไม่สามารถหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปได้ตลอด แต่เราก็ไม่อาจยอมให้เกิดการระบาดรุนแรงกลับมาอีกครั้ง ทางออกจึงน่าจะเป็นจุดสมดุลระหว่างด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในปี 2563 นี้ มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย […]

กองทุนบัวหลวงเปิดพอร์ตลงทุนกองทุนตราสารหนี้ ของดีมีคุณภาพ ที่ผู้ลงทุนวางใจได้

กองทุนบัวหลวงเปิดพอร์ตลงทุนกองทุนตราสารหนี้ ของดีมีคุณภาพ ที่ผู้ลงทุนวางใจได้

กองทุนบัวหลวงนำข้อมูลพอร์ตลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ทั้งหมด 4 กองทุนที่มีอยู่มาเปิดเผยให้ผู้ลงทุนได้รับทราบชัดเจน ประกอบด้วย กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ภาครัฐ (B-TREASURY) กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี (B-TNTV) กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED) รวมถึง กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF) เพื่อให้ผู้ลงทุนสบายใจได้ว่า เงินที่นำมาลงทุนผ่านหน่วยลงทุนกองทุนรวมเหล่านี้ นำไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับสูง และมีคุณภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ลงทุนอีกระดับหนึ่ง  คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ กองทุนบัวหลวง ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพอร์ตลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้เหล่านี้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ในช่วงเวลาที่ตลาดอ่อนไหวกับโควิด-19 คุณวศิน อธิบายว่า โดยภาพรวมแล้ว ทางเลือกการลงทุนในบ้านเราก็อาจจะไม่ได้มีมากนัก ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน บางคนต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่หากว่า จะให้ไปลงทุนในหุ้น ก็อาจจะยังไม่กล้ายอมรับความเสี่ยงมากเกินไป ดังนั้น กองทุนตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกในการลงทุนอยู่ เพราะหากว่า การฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียวนั้น มีความปลอดภัยก็จริงอยู่ แต่ว่า ดอกเบี้ยที่ได้รับอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก อย่างไรก็ดี กองทุนตราสารหนี้ของกองทุนบัวหลวงที่มีอยู่ ก็ล้วนแต่มีพอร์ตการลงทุนที่เข้มแข็งมาก ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจึงสามารถลงทุนได้ กรรมการผู้จัดการ กล่าวต่อว่า หากพิจารณาเฉพาะพอร์ตลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ ที่เป็นกองทุนเปิดทั่วไป ซึ่งมีทั้งหมด […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในช่วงต้นเดือน ม.ค. 2563 ตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ภายหลังสหรัฐฯ โจมตีทางอากาศในอิรัก และสังหารนายพลกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังนักรบคุดส์ ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษในต่างประเทศของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563 และต่อมาในวันที่ 8 ม.ค. 2563 อิหร่านได้ยิงขีปนาวุธใส่ฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรัก นักลงทุนจึงเกิดความกังวลว่าสถานการณ์จะบานปลาย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวได้คลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนคลายกังวลลง กอปรกับการบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ Phase 1 ในวันที่ 15 ม.ค. 2020 โดยสหรัฐฯ จะลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 1.2 แสนล้านดอลลาร์ฯ เป็น 7.5% จากเดิม 15% ขณะที่จีนตกลงซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 2 ปีข้างหน้า ส่วนจีนมีประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ วงเงิน 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่มีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้น โดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่า ทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในเบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) อันจะส่งผลให้สหรัฐฯ มีการยกเลิกแผนการจัดเก็บภาษีนำเข้า 30% บนสินค้านำเข้าจากจีน มูลค่ารวม 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่จีนจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม 40,000-50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงจะทบทวนนโยบายการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการบริหารจัดการด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ด้านสหรัฐฯ ผลการประชุมเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2562 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 8-2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps เป็น 1.50%-1.75% ตามที่ตลาดคาด นับเป็นการปรับดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 3 รวม 75bps ท่ามกลางความเสี่ยงจากพัฒนาการเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอ ในแถลงการณ์การประชุมรอบนี้ FED ได้นำประโยคที่ว่า “จะปรับเปลี่ยนนโยบายให้มีความเหมาะสมเพื่อหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อ” ออกจากแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณว่า […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ยังมีทีท่าไม่แน่นอน แม้ทรัมป์เลื่อนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนไปเป็นวันที่ 15 ธ.ค. จากเดิม วันที่ 1 ก.ย. เพื่อเป็นการต่อรองทางการค้ากับจีน แต่เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปี ลดลงต่ำกว่าระดับ 2% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 โดยอยู่ที่ระดับ 1.96% (ข้อมูล 14 ส.ค. 2562) รวมถึงเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหราชอาณาจักรอายุ 30 ปี ที่ระดับต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรก เนื่องจากนักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป รวมทั้งประเด็นทางการค้าที่ยังมีความไม่ชัดเจน ส่วนจีนได้มีการตอบโต้โดยการจำกัด ปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ส่งผลให้สงครามการค้าลุกลามบานปลายขึ้นไปอีก ในเวลาเดียวกันกับที่ทางการจีนอนุญาตให้เงินหยวนสามารถหลุดต่ำกว่าระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ด้านสหรัฐฯ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ (8 – 2) ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น […]

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center Grab Food, Grab bike, Kerry, Food Panda หลากหลายธุรกิจที่เติบโตและพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ทำผ่านแอปพลิเคชัน ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยนี้ รูปแบบของการทำงานเองก็เช่นกัน หน้าที่การทำงานในรูปแบบเดิมๆ บางอย่างก็หายไป มีการใช้เครื่องมือทันสมัยมากขึ้น ลดการใช้คนลง และอาจจะมีอีกหลายอย่าง ที่เครื่องมือสามารถทดแทนคนได้ ดังนั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมกับโลกที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็อาจจะส่งผลทำให้หลายคนประสบกับภาวะได้เงินชดเชยแทนการทำงานก็เป็นได้ หากใครที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรืออาจจะต้องพบกับเหตุการณ์แบบนี้ในระยะเวลาอันใกล้ ก็ต้องหันมามองดูรอบๆ ตัวว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้เพียงพอไหม สามารถหางานที่ใหม่ได้ทันทีหรือเปล่า หรือหากอยากทำเองอิสระเรามีความสามารถที่จะทำเองได้หรือเปล่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายเรียบร้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 […]