BBLAM Monthly Economic Review–ยูโรโซนเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น พร้อมจับตารูปี อ่อนค่า หลังเงินทุนต่างชาติไหลออก

BBLAM Monthly Economic Review–ยูโรโซนเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น พร้อมจับตารูปี อ่อนค่า หลังเงินทุนต่างชาติไหลออก

      สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research BBLAM อัปเดตเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนมิ.ย.-ก.ค. 2022 เริ่มกันที่ยูโรโซน ล่าสุดภาพเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเมื่อดูที่ดัชนี PMI ของยูโรโซนในเดือนมิ.ย. จะเห็นว่าเริ่มหักหัวลง และปัจจุบัน เริ่มมองว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจยูโรโซนจะชะลอตัว ถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะในช่วงปลายปีนี้หลังเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว โดยเหตุผลหลักมาจากการที่ยุโรปอาจเผชิญกับภาวะขาดแคลนก๊าซธรรมชาติรุนแรง หากไม่สามารถสะสมสต็อกให้เพียงพอกับความต้องการในช่วงฤดูหนาวได้ทัน เนื่องจากเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในช่วงกลาง คือ รัสเซียได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อ Nordstream 1 มายังยุโรปลดลง จนเหลือแค่ 40% ของ Capacity ทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า เกิดจากปัญหาเชิงเทคนิค ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็คงจะทำให้ยุโรปต้องพบกับสถาณการณ์ที่ยากลำบากในฤดูหนาวนี้ ขณะที่ ด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมิ.ย. ก็ปรับตัวลดลงไปที่ -23.6 ใกล้ๆ กับในช่วงที่เกิดการระบาดของ […]

BBLAM Monthly Economic Review – เงินเฟ้อและนโยบายการเงิน ยังเป็นประเด็นใหญ่ของยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย

BBLAM Monthly Economic Review – เงินเฟ้อและนโยบายการเงิน ยังเป็นประเด็นใหญ่ของยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย

สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research BBLAM อัปเดตเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยในเดือนมิถุนายน 2022 ยังคงเป็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายการเงินที่ต่อเนื่องมาจากเดือนพฤษภาคม เริ่มที่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยนับตั้งแต่ปี 2011 และอัตราเงินเฟ้อก็ไม่เคยพุ่งขึ้นแตะเป้าหมายที่ 2% เลย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ล่าสุดเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ก็ปรับขึ้นไปแตะระดับ 8.1% สูงกว่าเป้าหมายถึง 4 เท่า ดังนั้นในการประชุม ECB ล่าสุดเดือนมิถุยายน จึงมีการส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ว่า ECB จะยุติการเข้าซื้อพันธบัตรตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 เป็นต้นไป สำหรับการประชุม ECB วันที่ 21 กรกฎาคม 2022 ทาง ECB จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก […]

BBLAM Monthly Economic Review – เช็คชีพจรเศรษฐกิจโลก

BBLAM Monthly Economic Review – เช็คชีพจรเศรษฐกิจโลก

สรุปความสัมภาษณ์ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist  BBLAM นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2022 เราได้รับคำถามจากหลายคนมากว่าจะเกิด Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ รวมทั้งจะเกิด Crisis หรือวิกฤติเศรษฐกิจรึเปล่า และเศรษฐกิจโลกในเวลานี้อยู่ในภาวะแบบไหน โดยส่วนตัวมองว่า เศรษฐกิจโลกยังไม่ผ่านวิกฤติโควิดรอบก่อนเลย เรายังอยู่ในช่วงปลายวิกฤติของปี 2019 และกำลังฟื้นตัว ดังนั้นหากจะเทียบเคียงภาวะเศรษฐกิจโลกกับโรคภัย ก็คือ เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วง Long Covid อาการของ Long Covid ก็คือ เหนื่อย หอบ เป็นผื่น ผมร่วง ความจำไม่ค่อยดี อาจปวดข้อปวดกระดูกบ้างเล็กน้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อาการที่รุนแรง แต่เป็นอาการที่น่ารำคาญ ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับเศรษฐกิจโลกแล้ว ก็อาจจะเผชิญกับอาการ Long Covid อยู่ คือกำลังเผชิญอาการน่ารำคาญคล้ายๆ กัน คือ เงินเฟ้อสูง การหยุดชะงักในภาคอุปทานทั่วโลกก็ยังมีอยู่ แถมทั่วโลกยังมาทะเลาะกันอีก จึงเกิดภาวะที่เศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวได้ไม่เท่ากับปี 2021 […]

BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022

BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022

BF Economin Research Core Macro Theme : When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook นับตั้งแต่ปี 2008 เศรษฐกิจโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาหลายครั้งที่ส่งผลให้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังเกิดการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลในภาคการเงินหลายครั้ง และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนทิศทางไปมาอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์ในการคาดการณ์แนวทางนโยบายของธนาคารกลางได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อทั่วโลกเผชิญวิกฤติ COVID-19 ในปี 2019 การประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอย่างแม่นยำจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการเปิด/ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ด้านตลาดแรงงาน และภาวะขาดแคลนปัจจัยการผลิตในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักก็ยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วแม้จะกลับมาเปิดเมืองแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี, การเติบโตของตลาด Cryptocurrency, การหันมาใช้พลังงานสะอาด และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนมีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้นแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขประมาณการ (GDP Projection) จึงสามารถแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง เราจึงต้องตระหนักถึงจุดนี้และใช้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2022 อย่างรอบคอบ (ดังรูปด้านล่าง) […]

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2564

สรุปความ BF Economic Research ตั้งแต่ต้นปีการให้ผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นก็ยังดีอยู่ ส่วนการลงทุนใน 1 เดือนที่ผ่านมา แนวโน้มความเสี่ยงด้านบวก (upside) ของการให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเริ่มปรับลดลงมา เป็นผลจากปัจจัยฤดูกาล ซึ่งในไตรมาสที่ 3 มักเป็นช่วงที่ผลตอบแทนของการลงทุนค่อนข้างชะลอตัว ขณะที่ เมื่อดูดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สะท้อนว่า ดัชนี PMI ของสหรัฐฯ เริ่มผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ณ เวลานี้อยู่ในช่วงของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะปัจจัยเรื่องฐานต่ำหมดไปแล้วและเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงในสหรัฐฯ ซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจน้อยลงเมื่อเทียบกับฤดูร้อน ถือเป็นปกติ ส่วนประเทศอื่นๆ การผ่านจุดสูงสุดอาจจะช้ากว่า เช่น ยุโรป ที่เพิ่งจะอยู่เข้ามาในจุดสูงสุด ส่วนในระยะข้างหน้าอาจจะตามไปในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ สำหรับ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้น ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งยังเป็นปัจจัยสำคัญ โดยประเทศที่มีสัดส่วนประชากรได้รับวัคซีนมากกว่ามีแต้มต่อที่ดีกว่า เพราะสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ปกติ ส่วนประเทศที่อัตราการกระจายวัคซีนช้ากว่า อาจจะเป็นความเสี่ยงด้านลบ (downside)ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งไปส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศนั้นๆ ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เอง […]

BF Economic Review ครึ่งปีหลังปี 2021

BF Economic Review ครึ่งปีหลังปี 2021

BF Economic Research Core Macro Theme อัตราเร่งฉีดวัคซีนของแต่ละประเทศมีผลต่อเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบาย สำหรับในไตรมาสนี้ เราจะเห็นว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายในประเด็นเรื่อง COVID-19 เริ่มจากด้านสหรัฐฯ ด้วยความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนทำให้หลายรัฐกำลังจะกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนนี้ (เริ่มเดือน มิ.ย. เป็นต้นไป) ในทางตรงกันข้าม หลายประเทศทางฝั่งเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่กลับยังเผชิญกับการแพร่ระบาดอยู่ อาทิ ไทย และอินเดีย ซึ่งความต่างกันเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนในระยะข้างหน้า ในขณะที่ เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่กำลังพยายามควบคุมการระบาดอยู่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเริ่มที่จะเจรจาแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว รวมถึงแผนการปรับขึ้นภาษีเพื่อนำมาใช้สนับสนุนโครงการลงทุนดังกล่าวด้วย การแพร่ระบาดของ COVID-19: ความท้าทายที่ประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังเผชิญ ขณะที่เราทราบข่าวดีมากมายในบางประเทศเกี่ยวกับความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนอาทิเช่นสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และอิสราเอล ได้สะท้อนให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ โดยสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลและอัตราการตายต่างอยู่ในระดับต่ำ กระนั้น กลุ่มตลาดเกิดใหม่กลับไม่ได้ฉายภาพเดียวกัน โดยประเทศส่วนใหญ่มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากร (อย่างน้อย 1 ครั้ง) ไม่ถึง 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งการจัดหาวัคซีนและการขนส่งนับเป็นอุปสรรคหลัก ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีการระบาดระลอกใหม่ทั้งในละตินอเมริกา […]

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2564

BF Economic Research สรุปความ ในช่วงปี 1920-1929 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ณ ตอนนั้นเกิดโรคระบาดไข้หวัดสเปน ภาพในเวลานั้นมีผู้ติดเชื้อมากกว่าเวลานี้ เพราะวิวัฒนาการการแพทย์ยังไม่เท่าปัจจุบัน แต่เมื่อสามารถควบคุมโรคได้ เศรษฐกิจในช่วงนั้นฟื้นตัวขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดหลาย 10 เท่า จากช่วงที่เกิดภาวะโรคระบาด เกิดภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการบริโภคที่บูมมาก มีสินค้าเกิดขึ้นใหม่หลายอย่าง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ค่าจ้างแรงงานไต่ระดับสูงขึ้นมาก และผู้คนสามารถเข้าหาสินเชื่อ และเข้าไปซื้อขายหุ้นได้ด้วย สิ่งที่เราเผชิญตอนนี้คือ COVID-19 ส่วนเรื่องเศรษฐกิจก็สอดคล้องไปด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไหนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้มากน้อยขนาดไหน ทั้งนี้ ภาพผู้ติดเชื้อรายวันฝั่งประเทศพัฒนาแล้วเริ่มชะลอตัวลง แต่ในฝั่งเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย ไต้หวัน เริ่มพบความท้าทายในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีกครั้ง จึงเห็นความแตกต่างกันในเชิงความสามารถในการควบคุมโรค เมื่อมาพิจารณาประสิทธิภาพการแจกจ่ายวัคซีนของแต่ละประเทศ พบว่า จีนฉีดได้ 20 ล้านโดสต่อวัน เร็วกว่าสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันของจีนอยู่ในหลักหน่วยแล้ว ส่วนกลุ่มที่การแจกจ่ายวัคซีนอาจจะล่าช้า […]

BF Monthly Economic Review – เม.ย. 2564

BF Monthly Economic Review – เม.ย. 2564

BF Economic Research สรุปความ สรุปภาวะเศรษฐกิจและประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 2564 สถานการณ์โควิด-19 เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญที่ประเทศต่างๆ ประกาศออกมา รวมถึงนัยสำหรับการลงทุน อัพเดทเศรษฐกิจไทย สถานการณ์โควิด-19 ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก ซึ่งมีการแบ่งรายประเทศ พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกผ่านหลัก 6 แสนคนไปแล้ว เมื่อแบ่งเป็นรายประเทศ จะพบการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ชัดเจน โดยกลุ่มประเทศที่เร่งฉีดวัคซีน จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันปรับตัวลดลง ส่วนกลุ่มประเทศที่อัตราการฉีดวัคซีนช้ากว่า เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันไต่ระดับขึ้นมา การควบคุมและการแพร่กระจายของการติดเชื้อโควิดที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดมาตรการจำกัดที่เกี่ยวกับโควิด-19 แตกต่างกันไปด้วย เช่น กลุ่มประเทศจี-7 ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้มีการประชุมร่วมกันแล้วว่าจะเริ่มเปิดน่านฟ้าเพื่อให้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้นภายในกลุ่มจี-7 ในเร็วๆ นี้ โดยในส่วนของสหรัฐฯ บอกว่าจะเริ่มกลับมาเปิดประเทศภายในวันที่ […]

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2564

BF Economic Research สรุปความ นักลงทุนอาจมองข้ามเครื่องชี้เศรษฐกิจไปได้เล็กน้อยในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจวิ่งไปตามการฉีดวัคซีนทั่วโลก เครื่องชี้ปรับตัวดีขึ้น เริ่มเห็นการเปิดเมือง ซึ่งมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่นเริ่มเปิดโอลิมปิก มีการวิ่งคบเพลิงภายในประเทศ ขณะที่สหรัฐน มีการปรับเป้าหมายการฉีดวัคซีนจาก 100 ล้านราย เป็น 200 ล้านราย ถือเป็นข่าวดีต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนอาจรู้สึกมีความกังวลใจ เพราะในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ Unfortunate events ภาษาไทยเรียกว่า เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรือขวางคลองสุเอซ มีสถานการณ์ขาดแคลนชิป ตู้คอนเทนเนอร์ก็ยังขาดแคลนอยู่ ยังไม่รวมถึงภาวะความคุกรุ่นทางการเมือง ที่ประเทศจีนไปลงนามในสัญญาความร่วมมือกับอิหร่าน เป็นสัญญาถึง 25 ปี ภาวะเช่นนี้ เป็นภาวะที่ค่อนข้างทำให้เกิดการกระทบต่อตลาด ซึ่งนักลงทุนอาจตั้งคำถามว่าเรื่องนี้จะกระทบนานหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อจังหวะต่อตลาดในระยะยาวหรือไม่ เราได้ไปติดตามเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดก่อนหน้าเหตุการณ์ที่พบเจอในเร็วๆ นี้ คือก่อนโควิด-19 ในปี 2018 […]

BF Monthly Economic Review – ก.พ. 2564

BF Monthly Economic Review – ก.พ. 2564

BF Economic Research ถ้าเราติดตามสถานการณ์ด้านการเงินและเศรษฐกิจในช่วงนี้ มีอยู่ 1 คำที่นักลงทุนจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเดือน ก.พ.- มี.ค. คือคำว่า Yield curve หรือ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งมีส่วนส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน ทั้งนี้ Yield curve เป็นเส้นกราฟที่แสดงผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไปจนถึงระยะยาว 30 ปี โดยในเส้นกราฟจะแสดงผลตอบแทนรายเดือนไปจนถึงระยะ 30 ปี ซึ่งเส้นของ Yield curve หากเป็นไปตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจหรือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะเวลาที่ยาวขึ้น Yield curve จะต้องชันมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้คือ เส้น Yield curve ชันมากเกินไป (ตามกราฟ) จากกราฟสีชมพูเข้ม เป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะ 10 ปี วันที่ 2 มี.ค. 2021 อยู่ที่ 1.42% […]