กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่การประชุมเดือน มิ.ย. 2020 3 ปัจจัยที่ กนง. จะติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น แนวโน้มและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ  การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยจะมีผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า โดยที่มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม Downside Risk ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง กนง. จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ […]

แบงก์ชาติมาเลเซีย ประกาศขึ้นดอกเบี้ย ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี

แบงก์ชาติมาเลเซีย ประกาศขึ้นดอกเบี้ย ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี

รายงานข่าวจากบลูมเบิร์กระบุว่า ธนาคารกลางขอ​งมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2014 จาก 3.00% เป็น 3.25% เพิ่มขึ้น 0.25%  หลังรัฐบาลคาดการณ์ GDP ปี 2018 ขยายตัว 5.5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนธ.ค.ระดับ 3.5% (กรอบเงินเฟ้อของธนาคารกลางอยู่ที่ 2.5-3.5%)

นักวิจัยแบงก์ชาติจีนส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ หวังแก้ปัญหาฟองสบู่-หนี้สิน

นักวิจัยแบงก์ชาติจีนส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ หวังแก้ปัญหาฟองสบู่-หนี้สิน

หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี ของทางการจีน รายงานว่า นักวิจัยของธนาคารกลางจีน (PBOC) มีความเห็นตรงกันว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นแนวทางที่เหมาะสมในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมภาวะฟองสบู่และปัญหาหนี้สิน โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากราคาภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับศักยภาพการทำกำไรของภาคธุรกิจ รายงานดังกล่าวยังระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยผนวกกับมาตรการจัดการกับการผลิตส่วนเกินนั้น จะช่วยควบคุมไม่ให้หนี้สินขยายตัว และทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นในท้ายที่สุด อนึ่งเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) และอัตราดอกเบี้ย reverse repo ขึ้น 0.05% หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค.