กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q2/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q2/2023

ภาพรวมตลาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้าถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ ล่าสุด แพคเวสต์ แบงคอร์ป บริษัทแม่ของธนาคารแปซิฟิก เวสเทิร์น แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารประจำภูมิภาคของสหรัฐ ออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกำลังสำรวจทางเลือกด้านกลยุทธ์ โดยได้ติดต่อผู้ที่อาจเป็นหุ้นส่วนหรือนักลงทุนเพื่อเจรจา ข่าวนี้ยิ่งสร้างความกังวลต่อระบบธนาคารของสหรัฐอเมริกามากขึ้นไปอีก ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 4 พ.ค. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 3.75% […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q1/2023

ภาพรวมตลาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 31 ม.ค. – 1 ก.พ. 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 25 bps ตามคาด เพื่อทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ให้ได้ พร้อมดำเนินการลดงบดุลต่อเนื่องตามแผนเดิม ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 4.50% – 4.75% โดยยังคงประเมินการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเหมาะสมสำหรับการทำให้นโยบายการเงินตึงตัวพอที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้า 2% และจะประเมินการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งต่อไปจากผลของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมาที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และตลาดการเงิน FED ประเมินว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% อย่างไรก็ดี การชะลอลงของเงินเฟ้อในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ดี แต่ FED ยังต้องการหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวลง ซึ่งการจะทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าเป้าหมายได้ จำเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับต่ำกว่าปกติ และตลาดแรงงานที่ผ่อนคลายลง นอกจากนี้ ประธาน FED ยังไม่คิดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากปีนี้ยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ แม้ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าเงินเฟ้อที่ชะลอลงในสองสามเดือนที่ผ่านมาเป็นข่าวดี แต่เงินเฟ้อภาคบริการไม่รวมค่าเช่าบ้านยังต้องเฝ้าระวัง และตลาดอาจคาดเงินเฟ้อชะลอลงเร็วกว่าที่ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q4/2022

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) Q4/2022

ภาพรวมตลาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 1 – 2 พ.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 3.75 – 4.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยเฟดส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่าลงในการประชุมเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 0.50% ขณะที่เอสแอนด์พี โกลบอลรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือน ต.ค. จากระดับ 52.0 ในเดือน ก.ย. สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 49.9 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps เป็นครั้งที่สอง และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่สาม โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) จาก 0.75% ไปอยู่ที่ 1.50% […]

BBLAM Weekly Investment Insights 14-18 พฤศจิกายน 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 14-18 พฤศจิกายน 2022

2022 – Opportunities are never lost INVESTMENT STRATEGY “BBLAM” ชวนจัดทัพลงทุน RMF/SSF ส่งท้ายปลายปี เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนยามเศรษฐกิจผันผวน โดยปรับพอร์ต “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” ควบคู่กับ แบ่งเงินลงทุน “เพื่อรอจังหวะตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้นใน กลุ่มเทคฯ และ กลุ่มรักษ์โลก และสะสมเพิ่ม หุ้นเวียดนาม” ปรับพอร์ต “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” BBLAM ชวนปรับพอร์ตลงทุนกองทุน RMF/SSF ส่งท้ายปลายปี 2565 “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” รับประโยชน์ 2 ต่อ ลดหย่อนภาษีประจำปี และรับผลตอบแทนดีๆ ถึงแม้ว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังอยู่ในช่วงผันผวนอยู่มาก แนะนำ กองทุน MM-RMF ลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ช่วยพักเงินรอโอกาสสดใส กองทุน B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานผลตอบแทนดี เพิ่มโอกาสเอาชนะ “เงินเฟ้อ” รวมทั้ง กองทุน BCARERMF และ BCARESSF สร้างผลตอบแทนระยะยาว ทุกสถานการณ์ มีความต้องการใช้จากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกปัจจุบันอยู่ในภาวะผันผวน ประเทศอุตสาหกรรมหลักหลายประเทศมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ “ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ” ในปีหน้า ขณะที่ การต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการประชุมในวันที่ 3 – 4 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา และมีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งประกาศแผนปรับลดขนาดงบดุล (QT) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดยเริ่มลดในอัตรา 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน และหลังจากนั้นจะปรับเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน นอกจากนี้ นาย Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวเพิ่มเติมว่าคณะกรรมการมีความเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมครั้งละ 50 bps อาจยังมีความจำเป็นในการประชุม 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะที่ระบุถึงกรณีการปรับขึ้น 75 bps ว่าไม่ใช่สิ่งที่คณะกรรมการกำลังพิจารณาในขณะนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินตามเดิมในการประชุมวันที่ 14 เม.ย. […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการประชุมในวันที่ 25 – 26 ม.ค. 2022 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (9-0) คงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี Fed ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นชัดเจน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง รวมถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ขณะที่เงินเฟ้อขยายตัวเหนือเป้าหมาย 2% ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน สรุปในประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1.การลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE taper) ระบุจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. ซึ่งค่อนข้างเป็นไปตามที่ส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้ แต่มีความชัดเจนขึ้นว่าจะสิ้นสุดในช่วง “ต้นเดือน มี.ค.” 2.การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ระบุชัดว่าจะปรับขึ้นเมื่อไหร่ โดยระบุเพียงว่าการปรับขึ้นในระยะใกล้นี้อาจมีความเหมาะสมหากภาพเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดไว้ (… “soon” be appropriate to raise the target range for the federal funds rate …) โดยตลาด […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการประชุมในวันที่ 2 – 3 พ.ย. ที่ผ่านมามีมติเป็นเอกฉันท์ (11 – 0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่กรอบ 0 – 0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด Fed ยังระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) โดยนาย Powell ระบุว่า Fed ยังไม่คิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังต้องการให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวต่อ แต่ก็ระบุเสริมว่า Fed สามารถที่จะอดทนรอได้ แต่หากมีความจำเป็น ก็พร้อมที่จะดำเนินการทันการ ทั้งนี้ ประธาน Fed พยายามกล่าวอย่างชัดเจนว่าการทำ Asset […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมในวันที่ 27 – 28 ก.ค. โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0 – 0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มศักยภาพและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ ยังคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน พร้อมทั้งระบุว่าจะเข้าซื้อไปจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มศักยภาพและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับที่นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed กล่าวในแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันที่ 15 ก.ค. ว่า Fed จะยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ที่ระดับ 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน และจะยังไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวจากการเปิดเศรษฐกิจและจะปรับตัวลดลงเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งตลาดแรงงานยังคงปรับตัวต่ำกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ดังนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงยังคงห่างไกลจากเป้าหมายของ Fed […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ภาพรวมตลาด การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 27 – 28 เม.ย. ที่ผ่านมา มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.00-0.25% และเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้มีการจ้างงานเต็มประสิทธิภาพและอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ Fed จะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในระดับอย่างน้อย 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเช่นเดิม แบ่งเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำต่อไป ทั้งนี้ ถึงแม้นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงว่า ยังไม่มีแผนการลดปริมาณการซื้อพันธบัตร แต่ตลาดเริ่มมีมุมมองภายหลังจากการประชุมว่าการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (non-farm payroll) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นเกินกว่าเป้าหมายภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ Fed สามารถเริ่มส่งสัญญาณการลดปริมาณการซื้อพันธบัตรได้ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินเดิมตามคาด […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในปีที่ผ่านมานับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยที่ต้องเผชิญกับความผันผวนตลอดทั้งปี 2563 เนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลก อีกทั้งยังมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และยังไม่มีแนวทางการรักษาอย่างแน่ชัด รวมทั้งยังไม่มีวัคซีนที่เพียงพอ จนก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต่างลดดอกเบี้ยลงมาในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงรุกด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% ต่อปี เหลือ 0.00% ต่อปี และประกาศทำอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน หรือ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับตัวลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน โดยอัตราผลตอบแทนปรับลดลงทุกช่วงอายุนับจากต้นปี หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.25% มาเป็น 0.75% ต่อปี และลงมาต่ำสุดเหลือ 0.5% ต่อปี  เพราะสถานการณ์การของ Covid-19 ยังไม่ดีขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ม.ค. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +10 bp เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 4-5 ปี และ […]