อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนจบ)

อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนจบ)

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center แบบที่ 2 เป็นเรื่องความชำนาญเฉพาะด้าน ที่สามารถนำมาหารายได้ให้กับตัวเองในวัยเกษียณได้ โดยเพิ่มเติมเรื่องมุมมองธุรกิจประกอบ จะทำให้กิจกรรมหารายได้หลังเกษียณเราสนุก และเป็นจริงมากขึ้น เช่น … สังคมปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลงไม่ค่อยทำอาหารเอง ใช้วิธีซื้อ แต่คนรุ่นก่อน กลุ่ม Gen X ทำกับข้าวเก่ง  กินข้าวบ้านมากกว่าไปกินข้างนอก  คนรุ่นใหม่เค้าก็อยากกินข้าวบ้านอร่อยๆ แต่ทำไม่เป็น  ก็เป็นช่องทางให้วัยเกษียณปัจจุบันสามารถทำอาหารขายในหมู่บ้านได้ ถ้าในบริเวณที่พักของเรา มีคนทำงานบริษัทที่ไม่ค่อยอยู่บ้านช่วงกลางวัน ก็ทำขายเสาร์อาทิตย์ในวันที่เขาอยู่บ้าน หรือทำเป็นข้าวกล่อง ผูกปิ่นโต ส่งทุกเย็น มีรายการอาหารกำหนดไว้เลย วันละ 3-4 อย่าง ให้เลือก แล้วก็ส่งในหมู่บ้าน  คิดราคาไม่แพง ถ้าเรามีฝีมือ ทำอร่อย สะอาด ก็จะหาลูกค้าได้ไม่ยาก คนไทยชอบของอร่อย ลองดูอาหารที่คนยุคนี้เค้านิยมซะหน่อย เน้นสุขภาพ กินหวานน้อยลง กินมันน้อยลง อาหารที่ถูกจริต จะทำให้ขายง่ายขึ้น […]

คุณค่าของคนวัยเกษียณ

คุณค่าของคนวัยเกษียณ

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ที่มีผู้ใหญ่อายุเกิน 60 เกินกว่า 20% ของประเทศ  สังคมไทยจึงเริ่มปรับตัวเพื่อผู้สูงอายุ  มีสินค้าเพื่อผู้สูงอายุ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ พื้นบ้านที่สอดรับกับสรีระผู้สูงวัย รถยนต์ที่มีรถยกรถเข็น มีบริการดูแลผู้สูงวัยระหว่างวันที่ลูกๆ ไปทำงานไม่อยู่บ้าน มีที่อยู่สำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ  นั่นคือมุมมองว่าผู้สูงอายุต้องการคนดูแล ต้องการสินค้าและผลิตภัณฑ์เฉพาะ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผู้เกษียณอายุเกิน 60 ปี จำนวนมากยังคงทำงาน มีบทบาทในสังคม โดยไม่ได้กลายเป็นภาระหรือต้องการคนดูแลตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้เกษียณในช่วงเริ่มต้น สำหรับคนวัยเกษียณ มุมมองที่มีต่อตนเอง ยังคงแตกต่างจากมุมมองจากคนวัยอื่น คำว่าเกษียณ หรือตัวเลข 60 มันไม่ได้ชี้เป็นชี้ตายชีวิต หลังจากนอนหลับในคืนวันที่ 31 ธันวาคมในปีที่กษียณ ตื่นขึ้นมา 1 มกราคม ร่างกายยังคงเหมือนเดิม กำลังวังชา สมอง ยังเหมือนเดิม ดังนั้น การจะบอกว่าคนที่เกษียณแล้วต้องอยู่กับบ้าน อย่าทำงานหนัก […]

แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ สำหรับผู้ที่เกษียณแล้วพบว่า ยังมีปัญหาด้านเงินเก็บเงินออมอยู่ ก็จำเป็นต้องรีบจัดการเสียแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยไว้ให้รกรุงรังจิตใจในวัยนี้ ปัญหาสถานเบา คือ เงินพอใช้แต่พอดีๆ ไม่ค่อยเหลือเผื่อ ขอให้ลองพิจารณาหาวิธีลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีขึ้น ในความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ เช่นขยับจากฝากธนาคารไปกองทุนตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้ คนที่เกษียณแล้วมักมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ดังนั้นการบริหารภาษีส่วนนี้ก็จะช่วยให้มีเงินกลับคืนเยอะขึ้น เช่นขอคืน เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวม ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น ปัญหาสถานหนัก คือ เงินออมไม่พอเหลือใช้จ่ายสำหรับช่วยชีวิตที่เหลืออยู่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จำเป็นต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายครอบครัว ลดโดยไปอยู่ร่วมกันกับญาติ ลูกหลาน สำรวจทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นและแปลงเป็นเงิน เช่น ของสะสมของสาวๆ เช่นกระเป๋า เสื้อผ้า หารายได้เสริม ผู้เกษียณจำนวนมากยังใช้ความสามารถสร้างรายได้ ได้อยู่เช่น ทำขนม อาหาร เป็นที่ปรึกษาบริษัท ฯลฯ และต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องพึงระมัดระวัง เพราะมีไม่น้อยที่วางแผนเก็บออมเงินอย่างดี แต่ชีวิตต้องมาพังเพราะเรื่องไม่คาดคิด […]

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

ปัญหาแรกของคนที่ตั้งใจวางแผนการเงินเพื่อเตรียมเกษียณก็คือไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร ต่อมาคือขาดแรงจูงใจที่จะเริ่มต้นขวนขวายลงมือทำ เพราะแม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่เช่นนั้นตอนแก่ชราจะลำบาก แต่ด้วยปัญหาเป็นเรื่องอนาคตอีกยาวไกลหลายสิบปี ทำให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ลงมืออย่างจริงจังในการปฏิบัติ การเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก็คือการลองคิดคำนวณให้ได้ว่าในวันที่ตัวเองเกษียณนั้น ควรเก็บเงินให้ได้กี่บาท สำหรับใช้ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ โดยตัดความหวังที่จะมีลูกหลานเลี้ยงดูออกไปก่อน เพื่อความไม่ประมาทเพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้แม้ลูกหลานเราจะกตัญญูแค่ไหนก็ตาม บางครั้งลูกหลานอาจจากไปก่อนเราก็เป็นได้ การคำนวณหายอดเงินที่ควรมี ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง 1) ระยะเวลาการใช้ชีวิตช่วงหลังจากเกษียณ ถ้าคิดแบบง่ายๆ ก็ใช้อายุเฉลี่ยของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวในการคาดการณ์ แต่ควรตัดกรณีอุบัติเหตุเสียชีวิต หรือการเสียชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับอายุขัยออกไป และจะให้ดีควรบวกเพิ่มไปสัก 5 ปี จากความก้าวหน้าและวิทยาการทางการแพทย์ที่ทำให้คนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตมีอายุยืนยาวขึ้น 2) จำนวนเงินที่ควรมีไว้ใช้จ่ายรายเดือนหลังเกษียณ ซึ่งจะคิดแบบยากก็ยาก จะคิดแบบง่ายก็ง่าย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของอนาคต ไม่มีถูกผิด แต่ควรมีหลักในการประมาณด้วยเช่นกัน หลักการประมาณที่ใช้กันบ่อยๆ ก็เช่น อ้างอิงจากรายได้หรือค่าใช้จ่ายรายเดือน และคิดเป็นร้อยละจากรายได้และค่าใช้จ่ายเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณเหล่านั้น ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน มีความยากง่ายแตกต่างกัน 3) ค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้องเตรียมการไว้หลังเกษียณ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายตามเป้าหมายส่วนตัว เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ภาระหนี้สินที่ยังเหลืออยู่ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้การอุปการะที่ยังจำเป็นต้องดูแลต่อไปแม้ว่าเราจะเกษียณแล้ว เป็นต้น การหายอดเงินรวมที่ต้องมีไว้สำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณให้ได้คือหัวใจสำคัญสำหรับการตั้งต้นวางแผนการเกษียณ เพราะจะทำให้การวางแผนเกษียณนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน และนำไปสู่การแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม […]

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

แม้ว่าปัจจุบันดูเหมือนคนไทยเริ่มหันมาสนใจเรื่องราวของการเตรียมตัวในวัยเกษียณกันมากขึ้น มีข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มากมายให้อ่านให้ศึกษา แต่ก็ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทย ประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มที่เริ่มสนใจเรื่องนี้มักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน ที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง เริ่มเข้าสู่ผู้ใหญ่วัยกลางคน เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และมีภาระดูแลผู้สูงวัยโดยตรง ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงเริ่มสนใจเรื่องปัญหาวัยเกษียณ เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้สัมผัสกับปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของผู้สูงวัยโดยตรง และเริ่มกังวลกับอนาคตของตนเองว่าจะเป็นอย่างไร ในวันที่ตนเองเป็นผู้สูงวัยจะทำอย่างไร 1) ในวันที่ตนเองมีหน้าที่ดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แม้จะวุ่นวายมีหน้าที่การงาน แต่ก็ยังมีพี่น้อง สลับสับเปลี่ยน ช่วยเหลือกัน แต่ตนเองมีลูกเพียง 1-2 คน หรือบางคนก็ไม่มีลูกหลาน รวมถึงไม่ได้แต่งงาน แล้วเมื่อแก่ตัวไปใครจะมาดูแล ทางออกก็หนี้ไม่พ้นการว่าจ้างผู้ดูแล ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่าย 2) วิทยาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นในการดูแลรักษาผู้สูงวัย แม้จะทำให้ผู้สูงวัยมีอายุยืนยาว แต่ก็มาพร้อมค่าใช้จ่าย ไม่เก็บเงินไว้เองจะเอาเงินที่ไหนมารักษาตัวเอง 3) ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่าง ๆรวมถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นปัจจุบันที่แสวงหาสุขนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประการสำคัญคนกลุ่มนี้เริ่มมีฐานะมั่นคงขึ้นตามอัตภาพการดำรงชีวิต มีหน้าที่การงานมั่นคง มีเงินเหลือเพียงพอที่จะเก็บออมและเริ่ม “กลัว” ชีวิตในอนาคตของตนเองทั้งที่จริงๆ เรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณนี้เป็นสิ่งจำเป็นของคนทุกคนไม่เฉพาะกลุ่มที่พร้อมสำหรับการเก็บออมเท่านั้น และปัญหาใหญ่ทั้ง 3 […]