พอร์ตกองทุนรวมแบบไหน…ที่ใช่สำหรับเรา

พอร์ตกองทุนรวมแบบไหน…ที่ใช่สำหรับเรา

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ การลงทุน จะว่าไปแล้วก็เหมือนชีวิตของคนแต่ละคน ใช่ว่าคนเกิดวันเดียว เดือนเดียวกัน ต้องมีชีวิตเหมือนกันหมด เพราะเอาเข้าจริง แต่ละคนก็มีพื้นฐานแตกต่างกันไป ดังนั้น สิ่งที่ใช่ สิ่งที่เหมาะ สำหรับคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่สำหรับอีกคนก็ได้  จากข้อมูลในงานสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” ในงาน Mutual Fund Day ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง หนึ่งในวิทยากรบนเวทีนี้ ให้ข้อคิดไว้ว่า พอร์ตการลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุน ควรผสมผสานให้มีความหลากหลาย หลักการผสม มีทั้งรูปแบบที่นักลงทุนผสมเอง ผ่านการเลือกลงทุนกองทุนรวมที่มีหลากหลายรูปแบบในตลาด หรืออาจจะหาที่ปรึกษา ให้คนที่มีใบอนุญาตช่วยวางแผนลงทุนให้ อีกรูปแบบคือ การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ผสมพอร์ตไว้อยู่แล้ว เช่น กองทุนบัวหลวง ก็มี B-SENIOR-X หรือ บีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ […]

ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนที่ 1)

ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนที่ 1)

By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center หากเราจะแบ่งช่วงอายุในวัยเกษียณแบบคร่าวๆ โดยใช้ระยะเวลาและความสามารถในการใช้ชีวิตเป็นเครื่องกำหนดเบื้องต้นก็แบ่งได้เช่น ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี  ช่วงวัยเกษียณจริง อายุ 70-79 ปี และช่วงสุดท้ายวัยเกษียณ อายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ช่วงอายุต่างๆ เป็นเพียงตัวเลขกำหนดคร่าวๆ ขึ้นเป็นตัวอย่างเพื่อประเมินกิจกรรมการใช้ชีวิต โดยการประเมินแต่ละช่วงอายุจะขึ้นกับสุขภาพ อายุขัยของบรรพบุรุษในครอบครัว และผลพวงจากการการดำรงชีพที่สั่งสมมาของแต่ละคนเป็นสำคัญ ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี ในช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนช่วงก่อนเกษียณ เป็นวัยที่ยังคงมีพลัง เชื่อในความสามารถของตนเองในการทำสิ่งต่างๆ เหมือนก่อนเกษียณ ในวัยนี้ ผู้ประกอบกิจการส่วนตัวหรือผู้มีอาชีพอิสระ อาจจะมีความแตกต่างในการใช้ชีวิตก่อนและหลังเกษียณน้อย เพราะยังทำงานไปเรื่อยๆ ได้ แม้จะลดระยะเวลาการทำงานลง แต่ ข้าราชการ พนักงาน กับ ลูกจ้าง จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก จากที่ต้องทำงานเต็มเวลา อาจจะกลายเป็นคนว่างงาน […]

การลงทุนที่เหมาะสมสำหรับวัยเกษียณ

การลงทุนที่เหมาะสมสำหรับวัยเกษียณ

By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center การออมการลงทุนในวัยนี้ จำเป็นต้องจัดสรรเงินด้วยความระมัดระวัง แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ต้องไม่ลงทุนเกินความเสี่ยงที่รับได้ และสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ พอร์ตการออมการลงทุนของคนวัยเกษียณ มีหลักการสำคัญที่ใช้ได้ทั่วไป คือ ควรเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับต่ำหรือปานกลางถึงต่ำ เพื่อบรรเทาปัญหาหากพอร์ตการลงทุนเกิดความเสียหาย การลงทุนสำหรับวัยหลังเกษียณ ควรมีเป้าหมายให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ เพื่อรักษามูลค่าของเงินในกระเป๋าไม่ให้เสื่อมค่าลง รวมถึงให้จัดสรรไปลงทุนในรูปแบบที่ได้รับผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอจากการลงทุนเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ลดการดึงเงินต้นออกมาใช้ให้มากที่สุด เช่น เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ต่างๆ เช่นหุ้นกู้  พันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ที่จ่ายเงินคืนระหว่างการลงทุน กองทุนหุ้นที่จ่ายปันผล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ เป็นต้น พอร์ตเงินออมส่วนใหญ่ควรเน้นที่การซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซื้อหุ้นกู้ พันธบัตร หรือฝากธนาคาร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ ส่วนการลงทุนในหุ้น กองทุนหุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า สามารถทำได้โดยแบ่งส่วนในพอร์ตให้ชัดเจนออกมาจากพอร์ตการออมความเสี่ยงต่ำ ว่านี่คือส่วนที่ต้องการผลตอบแทนสูงขึ้น ตัวอย่างสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำสำหรับวัยเกษียณ เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล […]

แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ สำหรับผู้ที่เกษียณแล้วพบว่า ยังมีปัญหาด้านเงินเก็บเงินออมอยู่ ก็จำเป็นต้องรีบจัดการเสียแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยไว้ให้รกรุงรังจิตใจในวัยนี้ ปัญหาสถานเบา คือ เงินพอใช้แต่พอดีๆ ไม่ค่อยเหลือเผื่อ ขอให้ลองพิจารณาหาวิธีลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีขึ้น ในความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ เช่นขยับจากฝากธนาคารไปกองทุนตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้ คนที่เกษียณแล้วมักมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ดังนั้นการบริหารภาษีส่วนนี้ก็จะช่วยให้มีเงินกลับคืนเยอะขึ้น เช่นขอคืน เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวม ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น ปัญหาสถานหนัก คือ เงินออมไม่พอเหลือใช้จ่ายสำหรับช่วยชีวิตที่เหลืออยู่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จำเป็นต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายครอบครัว ลดโดยไปอยู่ร่วมกันกับญาติ ลูกหลาน สำรวจทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นและแปลงเป็นเงิน เช่น ของสะสมของสาวๆ เช่นกระเป๋า เสื้อผ้า หารายได้เสริม ผู้เกษียณจำนวนมากยังใช้ความสามารถสร้างรายได้ ได้อยู่เช่น ทำขนม อาหาร เป็นที่ปรึกษาบริษัท ฯลฯ และต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องพึงระมัดระวัง เพราะมีไม่น้อยที่วางแผนเก็บออมเงินอย่างดี แต่ชีวิตต้องมาพังเพราะเรื่องไม่คาดคิด […]

ออมเท่าไหร่ จึงพอใช้หลังเกษียณ

ออมเท่าไหร่ จึงพอใช้หลังเกษียณ

แนวคิดการคำนวณหาเงินออมสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณจากรายได้ปัจจุบัน การหายอดเงินขั้นต่ำที่ควรมีไว้ใช้จ่ายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ วิธีพื้นฐานคือ ประมาณการค่าใช้จ่ายอนาคตรายปี แล้วคูณด้วยจำนวนปีที่คิดว่าจะดำรงชีพอยู่หลังเกษียณ แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายเป้าหมายได้ การคิดคำนวณจากรายได้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน มีข้อดีข้อเสียแต่ก็ถือว่าพอใช้ได้ การคำนวณจากรายได้อยู่บนแนวคิดที่ว่า ในปัจจุบันเราใช้จ่ายเป็นเงินสักกี่ % ของรายได้ในแต่ละเดือน แล้วเทียบเคียงว่าพอเกษียณแล้ว เราจะใช้จ่ายเป็น % ของรายได้เท่าใด โดยยอดใช้จ่ายนั้นจะรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ หรือค่าใช้จ่ายโอกาสพิเศษไว้แล้ว เพราะการใช้วิธีนี้ดูว่าเดือนๆ หนึ่งจ่ายไปทั้งหมดเท่าไร คิดเป็นกี่ % ของรายได้ต่อเดือน / ต่อปี วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นรายการต่างๆ ได้ การคิดยอดเงินรวมที่ควรมีไว้จากค่าใช้จ่ายที่หาจาก % ของยอดรายได้จึงเป็นวิธีที่สะดวกกว่า เช่น กำหนดเป้าหมายเงินใช้จ่ายหลังเกษียณประมาณ 70% ของรายได้แต่ละเดือน / แต่ละปี ในช่วงท้ายก่อนเกษียณ โดยอาจจะประเมินดูว่าก่อนและหลังเกษียณจะมีค่าใช้จ่ายบางส่วนลดลงหรือไม่ ถ้ามี %ที่ใช้คำนวณสำหรับหลังเกษียณอาจจะลดลงจากก่อนเกษียณได้ แต่ระดับรายได้ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน การคิดคำนวณ % จึงควรอยู่บนพื้นฐานของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่ละคนด้วย เช่น ผู้มีรายได้น้อย ค่าใช้จ่ายจำเป็นอาจเป็นสัดส่วนที่สูง […]

การหาค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

การหาค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหลังเกษียณคือตัวเลขสำคัญที่ควรหาออกมาให้ได้สำหรับการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า ในที่สุดแล้วการมีชีวิตอยู่หลังเกษียณของเราจะเป็นอย่างไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร รวมถึงเป็นตัวเลขเป้าหมายใหญ่ว่าเราจะต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยเท่าไรในวันที่จะเกษียณอายุเพื่อใช้ในการดำรงชีพ   เริ่มต้นง่ายๆ สมมุตินาย ก มีเป้าหมายเกษียณที่อายุ 60 ปี และมีอายุขัยเฉลี่ยของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เสียชีวิตในวัยชรา คือ 80ปี ดังนั้นเป้าหมายระยะเวลาการดำรงชีวิตหลังเกษียณของนาย ก เมื่อพิจารณาแบบเผื่อพัฒนาการทางการแพทย์ที่ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้นอีก 5 ปี  ก็คือนาย ก จะวางแผนโดยจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอีก 25 ปี ดังนั้น ยอดเงินเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณของนาย ก ที่ควรต้องมีไว้ ณ วันเกษียณก็คือ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 เดือน x 25 ปี ไม่นับค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องเตรียม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้อยู่ใต้อุปการะ หรือภาระหนี้สินที่ยังคงเหลืออยู่ เป็นต้น   ขั้นตอนต่อไปคือ แล้วจะหาค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้อย่างไร   ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณเป็นการคำนวณสำหรับอนาคต จึงไม่มีหนทางที่จะได้ตัวเลขที่แน่นอน […]

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

ปัญหาแรกของคนที่ตั้งใจวางแผนการเงินเพื่อเตรียมเกษียณก็คือไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร ต่อมาคือขาดแรงจูงใจที่จะเริ่มต้นขวนขวายลงมือทำ เพราะแม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่เช่นนั้นตอนแก่ชราจะลำบาก แต่ด้วยปัญหาเป็นเรื่องอนาคตอีกยาวไกลหลายสิบปี ทำให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ลงมืออย่างจริงจังในการปฏิบัติ การเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก็คือการลองคิดคำนวณให้ได้ว่าในวันที่ตัวเองเกษียณนั้น ควรเก็บเงินให้ได้กี่บาท สำหรับใช้ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ โดยตัดความหวังที่จะมีลูกหลานเลี้ยงดูออกไปก่อน เพื่อความไม่ประมาทเพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้แม้ลูกหลานเราจะกตัญญูแค่ไหนก็ตาม บางครั้งลูกหลานอาจจากไปก่อนเราก็เป็นได้ การคำนวณหายอดเงินที่ควรมี ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง 1) ระยะเวลาการใช้ชีวิตช่วงหลังจากเกษียณ ถ้าคิดแบบง่ายๆ ก็ใช้อายุเฉลี่ยของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวในการคาดการณ์ แต่ควรตัดกรณีอุบัติเหตุเสียชีวิต หรือการเสียชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับอายุขัยออกไป และจะให้ดีควรบวกเพิ่มไปสัก 5 ปี จากความก้าวหน้าและวิทยาการทางการแพทย์ที่ทำให้คนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตมีอายุยืนยาวขึ้น 2) จำนวนเงินที่ควรมีไว้ใช้จ่ายรายเดือนหลังเกษียณ ซึ่งจะคิดแบบยากก็ยาก จะคิดแบบง่ายก็ง่าย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของอนาคต ไม่มีถูกผิด แต่ควรมีหลักในการประมาณด้วยเช่นกัน หลักการประมาณที่ใช้กันบ่อยๆ ก็เช่น อ้างอิงจากรายได้หรือค่าใช้จ่ายรายเดือน และคิดเป็นร้อยละจากรายได้และค่าใช้จ่ายเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณเหล่านั้น ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน มีความยากง่ายแตกต่างกัน 3) ค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้องเตรียมการไว้หลังเกษียณ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายตามเป้าหมายส่วนตัว เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ภาระหนี้สินที่ยังเหลืออยู่ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้การอุปการะที่ยังจำเป็นต้องดูแลต่อไปแม้ว่าเราจะเกษียณแล้ว เป็นต้น การหายอดเงินรวมที่ต้องมีไว้สำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณให้ได้คือหัวใจสำคัญสำหรับการตั้งต้นวางแผนการเกษียณ เพราะจะทำให้การวางแผนเกษียณนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน และนำไปสู่การแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม […]

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

แม้ว่าปัจจุบันดูเหมือนคนไทยเริ่มหันมาสนใจเรื่องราวของการเตรียมตัวในวัยเกษียณกันมากขึ้น มีข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มากมายให้อ่านให้ศึกษา แต่ก็ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทย ประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มที่เริ่มสนใจเรื่องนี้มักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน ที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง เริ่มเข้าสู่ผู้ใหญ่วัยกลางคน เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และมีภาระดูแลผู้สูงวัยโดยตรง ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงเริ่มสนใจเรื่องปัญหาวัยเกษียณ เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้สัมผัสกับปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของผู้สูงวัยโดยตรง และเริ่มกังวลกับอนาคตของตนเองว่าจะเป็นอย่างไร ในวันที่ตนเองเป็นผู้สูงวัยจะทำอย่างไร 1) ในวันที่ตนเองมีหน้าที่ดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แม้จะวุ่นวายมีหน้าที่การงาน แต่ก็ยังมีพี่น้อง สลับสับเปลี่ยน ช่วยเหลือกัน แต่ตนเองมีลูกเพียง 1-2 คน หรือบางคนก็ไม่มีลูกหลาน รวมถึงไม่ได้แต่งงาน แล้วเมื่อแก่ตัวไปใครจะมาดูแล ทางออกก็หนี้ไม่พ้นการว่าจ้างผู้ดูแล ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่าย 2) วิทยาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นในการดูแลรักษาผู้สูงวัย แม้จะทำให้ผู้สูงวัยมีอายุยืนยาว แต่ก็มาพร้อมค่าใช้จ่าย ไม่เก็บเงินไว้เองจะเอาเงินที่ไหนมารักษาตัวเอง 3) ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่าง ๆรวมถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นปัจจุบันที่แสวงหาสุขนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประการสำคัญคนกลุ่มนี้เริ่มมีฐานะมั่นคงขึ้นตามอัตภาพการดำรงชีวิต มีหน้าที่การงานมั่นคง มีเงินเหลือเพียงพอที่จะเก็บออมและเริ่ม “กลัว” ชีวิตในอนาคตของตนเองทั้งที่จริงๆ เรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณนี้เป็นสิ่งจำเป็นของคนทุกคนไม่เฉพาะกลุ่มที่พร้อมสำหรับการเก็บออมเท่านั้น และปัญหาใหญ่ทั้ง 3 […]