ต่างชาติ ฟันธง ‘บาทไทย’ จ่อแข็งค่าแตะ 34 บาทต่อดอลล์ หวังเศรษฐกิจฟื้น – ท่องเที่ยวรีบาวด์

ต่างชาติ ฟันธง ‘บาทไทย’ จ่อแข็งค่าแตะ 34 บาทต่อดอลล์ หวังเศรษฐกิจฟื้น – ท่องเที่ยวรีบาวด์

นักวิเคราะห์ต่างชาติ ฟันธง “เงินบาทไทย” จ่อแข็งค่าขึ้น 5% แตะ 34 บาทต่อดอลลาร์ หวังเศรษฐกิจฟื้น และคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติพุ่ง สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานถ้อยแถลงของนักวิเคราะห์จาก Ebury และ Societe Generale SA วันนี้ (25 ก.ย.66) ว่า “เงินบาทไทย” มีแนวโน้มฟื้นตัวแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน โดยนักกลยุทธ์ตลาดเงินที่ Ebury และ Societe Generale SA คาดว่า เงินบาทไทยจะปรับตัวมาอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์ ภายในสิ้นปี ซึ่งแข็งกว่าระดับปัจจุบันมากกว่า 5% โดยค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพจะช่วยลดภาระหนี้ของภาครัฐ (Sovereign Debt) ​และลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทย ตามรายการของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี “ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะตัวของไทยที่กระทบต่อเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก เริ่มต้นจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมไปถึงมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน” […]

บทวิเคราะห์ทิศทางค่าเงินบาท

บทวิเคราะห์ทิศทางค่าเงินบาท

BF Economic Research ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าไปอยู่ที่ต่ำกว่า 30 บาท เมื่อสิ้นปี และ ณ ตอนนี้เริ่มกลับมายืนเหนือ 30 บาท ได้ แต่ก็ยังค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับภูมิภาค ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เงินบาทแข็งค่านั้นมาจาก 1) การค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ 2) การลงทุนระหว่างประเทศ และ 3) อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 1. การค้าและการบริการระหว่างประเทศ  ในช่วงปี 2019 ทั้งปี จะเห็นว่าไทยส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยกลับนำเข้าในอัตราที่ลดลงมากกว่า เป็นผลให้การส่งออกที่ไม่ดี กลับทำให้ไทย “เกินดุล” ด้านการค้า โดยข้อมูล 11 เดือน ไทยเกินดุลสะสมเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์ฯ มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า ซึ่งเมื่อผนวกกับรายได้จากการท่องเที่ยว (ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การส่งออกการบริการ) ก็หนุนรายได้เข้าประเทศราวๆ เดือนละ 5 พันกว่าล้านดอลลาร์ฯ ก็เป็นผลให้ […]

จับตาบาทแข็งค่าไม่หยุด เอกชนโอดกระทบส่งออก

จับตาบาทแข็งค่าไม่หยุด เอกชนโอดกระทบส่งออก

ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า นางสาวกัณญภัค ตันติพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่าได้เข้าหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า จากกรณีที่เงินบาทแข็งค่าหลุด 32.00 บาท/ดอลลาร์ อาจส่งผล กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร ซึ่ง 2 กลุ่มนี้มีสัดส่วนประมาณ 17% ของมูลค่าการส่งออกของไทยปี 2560 อยู่ที่ 231,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้วัตถุดิบการผลิตภายในปนะเทศ   ด้านนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วย ผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค    ขณะที่ความผันผวนอยู่ในระดับปานกลาง โดยบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินควร ไม่สอดคล้องกับพื้นฐาน เศรษฐกิจ ธปท. ก็ได้เข้าดูแลเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการ สะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศในปี 2560 ที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งการดูแลที่ผ่านมา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ไทยได้เปรียบการค้ากับต่างประเทศ หรือเพื่อฝีนทิศทางของตลาด แต่เพื่อให้เวลากับเอกชนในการปรับตัว   การแข็งค่าของค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2561 หลัก ๆ มาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเป็นสำคัญ ซึ่งหากดูในแง่เงินทุนไหลเข้าในรูปการลงทุนในหลักทรัพย์ถือว่าเป็นส่วนน้อยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า   สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยวันที่ 12 ม.ค. 2561 เปิดตลาดที่ 31.95 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าสุดในรอบ 40 เดือน นับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. 57 ซึ่งแข็งค่าต่อเนื่อง