ปรับพอร์ตอย่างไรในยุคดอกเบี้ยต่ำ

ปรับพอร์ตอย่างไรในยุคดอกเบี้ยต่ำ

โดย…ทนง ขันทอง

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีเขียนบทความที่น่าสนใจชื่อ “Retirees might want to rethink their reliance on Treasurys for income” (13/9/2020) โดยมีเนื้อหาว่า คนอเมริกันที่วางแผนการเกษียณไม่สามารถที่จะฝากความหวังกับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอย่างเดียวได้อีกต่อไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ

ยิลด์ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติศาสตร์ ทำให้มันไม่สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะมีความเสี่ยงต่ำเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ ที่น่ากังวลใจคือเรื่องของเงินเฟ้อ เพราะว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลจะตามไม่ทันเงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ในกรณีที่เงินเฟ้อสูงขึ้น ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่แท้จริงจะติดลบ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่หวังมีเงินเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณไม่สามารถรักษาอำนาจซื้อได้ เงินเฟ้อจึงเป็นปัจจัยความเสี่ยงของที่สำคัญของการลงทุนในพันธบัตร

ในปี 2020 นี้ เงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ที่0.62% อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือเฟดได้ส่งสัญญานแล้วว่าจะคงดอกเบี้ยในระดับ 0%-0.25% ไปอีกหลายปี หรืออย่างน้อย5-6ปี เพื่อที่จะดูแลการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน

แม้ว่าต่อไปข้างหน้าเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมาย 2% ที่ตั้งเอาไว้ เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ เพราะว่าจะให้ความสำคัญกับตัวเลขการจ้างงานก่อน ด้วยเหตุนี้เงินเฟ้อจะพุ่งทะลุระดับ 2% ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ในขณะที่นโยบายดอกเบี้ยจะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ณ ปัจจุบันนี้ ยิลด์ หรือผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีของรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ต่ำกว่าระดับ 1% พันธบัตรที่มีอายุสั้นก็อยู่ต่ำกว่าระดับ 1% เหมือนกัน ในวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา ยิลด์ของพันบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ต่ำกว่าระดับ 0.2% การพึ่งพาผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้ในยามเกษียณจะไม่ได้ผลเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

นอกจากเรื่องเงินเฟ้อแล้ว การลงทุนในสภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำหมายความว่า นักลงทุนอาจจะต้องมองไปไกลกว่าพันธบัตรรัฐบาลในการแสวงหาผลตอบแทน โดยอาจจะต้องมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในการลงทุนที่ควรมีหลายๆ ทางเลือก

ประการแรก นอกจากพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ยังมีพันธบัตรเอกชนอีกด้วย ความจริงแล้ว พันธบัตรเป็นตราสารหนี้อย่างหนึ่งที่ผู้ออกต้องการกู้ยืมเงินจากเรา พร้อมกับจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นคืนเพื่อพันธบัตรครบอายุ ถ้าหากว่านักลงทุนสามารถกันเงินส่วนหนึ่งที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแล้วมาลงในพันธบัตรเอกชนน่าจะเป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง

พันธบัตรเอกชนที่มีเครดิตเรตติ้งที่ดีจะให้ผลตอบแทนประมาณ 2%-2.5% ในขณะที่พันธบัตรที่ไม่มีเรตติ้งให้ผลตอบแทน 4%-4.5% ในช่วงเดือนมีนาคมปี 2020นี้ ระหว่างที่เริ่มมีการชัตดาวน์เศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 พันธบัตรที่ไม่มีเรตติ้งมีราคาร่วง 15% แต่มาถึงตอนนี้โดยทั่วไปราคาได้ดีดตัวกลับมาแล้ว

แต่ไม่ใช่ว่านักลงทุนจะทิ้งพันธบัตรรัฐบาลไปหมดเลยเสียทีเดียว สำหรับผู้ที่ต้องการได้ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นเงินจำนวนหนึ่งในระยะเวลา 8 ปี อาจจะกันเงินครึ่งหนึ่งของการลงทุนในส่วนนี้ไปลงทุนในพันธบัตรดอกชนที่จะให้ผลตอบแทนเท่ากันกับพันธบัตรรัฐบาลแต่ใช้เวลาลงทุนสั้นกว่าหรือเพียง 4-5ปี

ประการต่อไป นักลงทุนอาจจะโยกเงินมาลงทุนให้หุ้น หรือการลงทุนประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้น S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแล้ว 10%ต่อปี โดยเมื่อได้รับเงินปันผลแล้วก็ให้ลงทุนต่อไม่นำออกมาใช้จ่าย เมื่อหักเงินเฟ้อออกไป ผลตอบแทนสุทธิจากตลาดหุ้น S&P 500 อยู่ที่ 7.5%

หุ้นที่จ่ายเงินปันผลช่วยให้นักลงทุนมีรายได้ที่สม่ำเสมอ โดยไม่ต้องขายทรัพย์สินออกไป แต่ในช่วงเวลาที่ไวรัสระบาดนี้ หลายๆ บริษัทอาจจะงดการจ่ายเงินปันผล

นักลงทุนแต่ละคนมีกรอบความคิด หรือระยะเวลาการรอคอยของผลตอบแทนไม่เหมือนกัน แต่มันจะเป็นการดี ถ้าหากว่านักลงทุนมีการเปลี่ยนคำนิยมของเป้าหมายของรายได้จากการลงทุน แทนที่จะตั้งเป้าหมายว่าพอร์ตการลงทุนจะให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย 4% นั

กลงทุนอาจจะเปลี่ยนเป้าหมายแทนเป็นผลตอบแทน 4%ที่ไม่ได้มากจากรายรับดอกเบี้ยอย่างเดียว แต่มาจากผลตอบแทนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน เงินปันผล และดอกเบี้ย ซึ่งหมายความว่าพอร์ตที่ลงทุนต้องมีการกระจายความเสี่ยง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความผันผวนในมูลค่าของพอร์ต เพราะว่านักลงทุนย่อมไม่ต้องการให้ทรัพย์สินทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกันในช่วงเวลาที่เหมือน