สตาร์ทอัพสิงคโปร์ก้าวข้ามแรงกดดันจากครอบครัว หลังตลาดแรงงานแย่ผู้ปกครองเปิดรับมากขึ้น

สตาร์ทอัพสิงคโปร์ก้าวข้ามแรงกดดันจากครอบครัว หลังตลาดแรงงานแย่ผู้ปกครองเปิดรับมากขึ้น

รายงานจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 ช่วยให้ผู้ประกอบการชาวสิงคโปร์บางรายก้าวข้ามความท้าทาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องครอบครัวคัดค้านสายอาชีพที่ใฝ่ฝันน้อยลง

Christopher Quek หุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทร่วมทุน Trive เป็นผู้ให้คำปรึกษาผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ กล่าวว่า พ่อแม่ชาวสิงคโปร์มักต้องการให้ลูกของเขาได้ทำงานที่มั่นคงแทนมากกว่างานที่มีความเสี่ยงสูง แต่ด้วยแนวโน้มตลาดงานที่ดูมืดมน ผู้ปกครองบางคนเริ่มเต็มใจที่จะอนุญาตให้ลูกเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองได้มากขึ้น

รายงานยังระบุว่า สิงคโปร์เป็นที่ตั้งของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี 3,800 รายและซึ่งรวมแกร๊บ บริษัท รถเช่าและ ลาซาด้า บริษัทอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ เป็นต้น

สิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย ช่วยให้เข้าถึงเงินทุนทั่วโลกรวมทั้งตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างง่ายดาย ทำให้สิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและมีข้อกฎหมายที่สอดรับกัน แต่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่บางราย กล่าวว่า พวกเขาต่อสู้กับแรงกดดันจากครอบครัว

ยกตัวอย่างจาก แพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ชื่อว่า Carousell หนึ่งในตลาดออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อครั้ง Siu Rui Quek ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอกกับพ่อแม่ของเขาเป็นครั้งแรกว่า เขาต้องใช้เวลาทำงานของเขาทั้งหมดในการเริ่มต้นธุรกิจ เขารู้สึกได้ถึงความผิดหวังของพ่อแม่เขา

ขณะที่ รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศมาตรการสนับสนุนสำหรับสตาร์ทอัพเมื่อเดือนส.ค. ว่า มีการจัดสรรเงินจำนวนมากถึง 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเพิ่มการสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มธุรกิจเป็นครั้งแรก

สำหรับสตาร์ทอัพที่มีชาวสิงคโปร์หรือผู้อยู่อาศัยถาวรอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 2 คนต้องเป็นผู้ก่อตั้งครั้งแรก จะสามารถรับเงินช่วยเหลือจำนวนมากขึ้นเป็นจำนวน 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อให้ตรงกับเงินทุน  10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ของเงินตนเอง ซึ่งจะทำให้สตาร์ทอัพที่เพิ่งก่อตั้งใหม่มีสายป่านที่ยาวขึ้น