อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.3 หรือ -0.70% YoY

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.3 หรือ -0.70% YoY

BF Economic Research

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.3 หรือ -0.70%YoY (vs. prev.-0.50%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.11%MoM (vs. prev.0.29%MoM) YTD: -0.99% (vs. prev.-1.03%)

  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.25%YoY (vs. prev.0.30%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน 0.04%MoM (vs. prev.0.00%MoM)

  • ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 1.42%YoY (vs. prev.1.62%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.08%MoM (vs. prev.0.76%MoM)

  • ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ -1.94%YoY (vs. prev.-1.73%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.13%MoM (vs. prev.0.01%MoM)

ในรายองค์ประกอบ

  • กลุ่มสินค้าที่มีส่วนทำให้ระดับราคาหดตัวกว่าเดือนที่แล้วเมื่อเทียบรายปี คือกลุ่มขนส่งและสื่อสาร และกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ดีหากพิจารณาแนวโน้มเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปี ที่เงินเฟ้อไทยในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. หดตัวค่อนข้างสูง ก็เห็นว่าเงินเฟ้อไทยค่อยๆไต่ระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกด้านราคาอาหาร โดยในเดือนก.ย.ระดับราคาอาหารปรับตัวขึ้น 1.42% YoY หนุนโดยสินค้ากลุ่ม เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 3.38 %YoY (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาหมึกกล้วย), ผักสด 11.21% YoY (ผักชี มะเขือเทศ กะหล่้าปลี), เครื่องประกอบอาหาร 2.25%YoY (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม), และ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.71% YoY (น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูป)• กระทรวงพาณิชย์มองว่าในไตรมาส 4/2020 จะเห็นอัตราเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้น จากทั้งฝั่งอุปทานและอุปสงค์ เนื่องด้วย ด้านอุปทาน: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตเริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์: สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และยางพารา ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้ ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และรถยนต์เชิงพาณิชย์ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้น
  • กระทรวงพาณิชย์มองว่าเกษตรกรน่าจะได้รายได้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าเกษตรบางรายการมีราคาดี เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า เนื้อหมู สินค้าประมง เช่น กุ้ง เป็นต้น สินค้าเกษตรในเดือนนี้ จึงเป็นตัว Drive เศรษฐกิจในประเทศ
  • สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 4/2020 น่าจะอยู่ที่ -0.34% YoY เป็นการติดลบน้อยกว่าทุกไตรมาสของปีนี้ ยกเว้นไตรมาส 1/63 ที่อัตราเงินเฟ้อเป็นบวกเล็กน้อย กระทรวงพาณิชย์ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2020 ไว้เท่าเดิมที่ -1.5 ถึง -0.7% หรือค่าเฉลี่ยที่  -1.1%